ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2543 วันที่ 8 พฤษภาคม2543 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 เพื่อให้การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Habitat Agenda) เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นชอบ
1) ให้คณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งชาติ
2) ให้จัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ ที่หน่วยราชการและหน่วยงานเอกชนได้ดำเนินการไปแล้ว และได้ประมวลและเรียบเรียงผลการดำเนินงานไว้
3) ให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งภายใต้คณะอนุกรรมการประสานการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่ เพื่อทำหน้าที่ในการประสานการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการตั้งถิ่นฐานมนุษย์
4) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ (สกมช.) ทำหน้าที่ประสานงานกับคณะทำงานตามข้อ 3)
1.2 เห็นชอบแนวทางการนำนโยบายการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1) แนวทางการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา
- จัดทำแนวทางการพัฒนาตามนโยบายและแผนการพัฒนาเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบนโยบายและแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่แล้ว
- ประสานการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา โดยจัดประชุมชี้แจงส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สร้างเครือข่ายการพัฒนาในระดับท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้เกิดประชาคม กระบวนการเรียนรู้ เสริมสร้างศักยภาพชุมชน จัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนกลางการประสานงาน และจัดเวทีประสานภาคีการพัฒนาระหว่างท้องถิ่น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองน่าอยู่ของท้องถิ่น
- ขั้นตอนการนำแผนปฏิบัติการขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง
- ขั้นตอนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ โดยภาคีการพัฒนาในกรณีไม่ต้องขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง
- ให้หน่วยปฏิบัติการจัดทำการติดตามและประเมินผลการพัฒนาตามแนวทางที่ สกมช. จัดทำไว้
2) แนวคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ความน่าอยู่ ความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นประชารัฐ
แต่ละด้านมีองค์ประกอบ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณเห็นชอบการดำเนินงานตามนัยมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติทั้ง 3 ประเด็น และการตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ไม่ถือเป็นการแบ่งส่วนราชการภายในตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 สำหรับค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ได้มีการเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ไว้แล้ว
2. ให้ความเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534
2.2 ให้มีคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ (กมช.) โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการและแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ กำหนดหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการ และสนับสนุนการดำเนินการ กลั่นกรองแผนงานโครงการกำกับ เร่งรัด และติดตามการดำเนินงาน แก้ไขปัญหา อุปสรรค จัดทำข้อมูล ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
2.3 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสำนักงานพัฒนาเมืองแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณามติคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2543 วันที่ 8 พฤษภาคม2543 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 เพื่อให้การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ (Habitat Agenda) เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นชอบ
1) ให้คณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งชาติ
2) ให้จัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานพัฒนาเมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ ที่หน่วยราชการและหน่วยงานเอกชนได้ดำเนินการไปแล้ว และได้ประมวลและเรียบเรียงผลการดำเนินงานไว้
3) ให้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นชุดหนึ่งภายใต้คณะอนุกรรมการประสานการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่ เพื่อทำหน้าที่ในการประสานการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการตั้งถิ่นฐานมนุษย์
4) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ (สกมช.) ทำหน้าที่ประสานงานกับคณะทำงานตามข้อ 3)
1.2 เห็นชอบแนวทางการนำนโยบายการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1) แนวทางการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา
- จัดทำแนวทางการพัฒนาตามนโยบายและแผนการพัฒนาเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบนโยบายและแผนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่แล้ว
- ประสานการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา โดยจัดประชุมชี้แจงส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สร้างเครือข่ายการพัฒนาในระดับท้องถิ่น โดยส่งเสริมให้เกิดประชาคม กระบวนการเรียนรู้ เสริมสร้างศักยภาพชุมชน จัดทำแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนกลางการประสานงาน และจัดเวทีประสานภาคีการพัฒนาระหว่างท้องถิ่น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการพัฒนาเมืองน่าอยู่ของท้องถิ่น
- ขั้นตอนการนำแผนปฏิบัติการขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง
- ขั้นตอนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ โดยภาคีการพัฒนาในกรณีไม่ต้องขอรับการสนับสนุนจากส่วนกลาง
- ให้หน่วยปฏิบัติการจัดทำการติดตามและประเมินผลการพัฒนาตามแนวทางที่ สกมช. จัดทำไว้
2) แนวคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ความน่าอยู่ ความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นประชารัฐ
แต่ละด้านมีองค์ประกอบ เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวทางการพัฒนา
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณเห็นชอบการดำเนินงานตามนัยมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติทั้ง 3 ประเด็น และการตั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ไม่ถือเป็นการแบ่งส่วนราชการภายในตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 สำหรับค่าใช้จ่ายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ ได้มีการเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ไว้แล้ว
2. ให้ความเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาเมืองแห่งชาติ พ.ศ. …. และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534
2.2 ให้มีคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ (กมช.) โดยมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการและแนวทางการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่และชุมชนน่าอยู่ กำหนดหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการ และสนับสนุนการดำเนินการ กลั่นกรองแผนงานโครงการกำกับ เร่งรัด และติดตามการดำเนินงาน แก้ไขปัญหา อุปสรรค จัดทำข้อมูล ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่
2.3 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเมืองแห่งชาติ (สกมช.) เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของสำนักงานพัฒนาเมืองแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-