ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรสายการแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติเวชปฏิบัติส่วนตัว และหรือโรงพยาบาลเอกชนนอกเวลาราชการ และการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกรมราชทัณฑ์ทั่วประเทศ ในอัตราและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งนี้ ตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ดังนี้
หลักเกณฑ์การจ่าย
1. เป็นงานบริการรักษาพยาบาล
2. เป็นงานที่ปฏิบัตินอกเวลาราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง โดยไม่มีสิทธิหยุดชดเชยในวันรุ่งขึ้นหรือวันต่อ ๆ ไป
3. ผู้ที่ได้รับการจัดให้ปฏิบัติงานไว้เป็นผลัดไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับค่าตอบแทน เว้นแต่จะปฏิบัติงานต่อเนื่องเกินกว่าเวลาที่กำหนดออกไปอีกติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
4. เป็นผู้ที่ไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากทางราชการในการปฏิบัติงานให้บริการ
5. ในวันหนึ่งให้ได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 1 ครั้ง
อัตราการจ่าย
1. แพทย์ ทันตแพทย์ คนละ 800 บาท
2. เภสัชกร คนละ 330 บาท
3. นักวิทยาศาสตร์ พยาบาลวิชาชีพ คนละ 320 บาท
4. พยาบาลเทคนิต คนละ 220 บาท
5. เจ้าหน้าที่พยาบาล คนละ 180 บาท
6. ลูกจ้างประจำตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย คนละ 140 บาท
7. ข้าราชการอื่นในกรมราชทัณฑ์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานเภสัชกรรม
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์
ระดับ 1 คนละ 180 บาท
ระดับ 2 คนละ 220 บาท
ระดับ 3 คนละ 300 บาท
8. หากการอยู่เวรปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทำให้บุคลากรบางตำแหน่งได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าที่เคยได้รับตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2536 ก็ให้ได้รับในอัตราตามระเบียบดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยเสนอตามรายงานของกรมราชทัณฑ์ว่า การบำบัดรักษาพยาบาลผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำ/ทัณฑสถาน เป็นภารกิจหลักที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มจำนวนผู้ต้องขังเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังอนุมัติ สามารถเบิกจ่ายได้เฉพาะบุคลากรสายการแพทย์ในโรงพยาบาลกลาง กรมราชทัณฑ์เท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและมิให้เป็นการเหลื่อมล้ำสำหรับบุคลากรสายการแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติเวชปฏิบัติส่วนตัวและหรือโรงพยาบาลเอกชนนอกเวลาราชการ และการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกรมราชทัณฑ์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเสนอขออนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรสายการแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติเวชปฏิบัติส่วนตัว และหรือโรงพยาบาลเอกชนนอกเวลาราชการ และการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกรมราชทัณฑ์ทั่วประเทศ ในอัตราและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ทั้งนี้ ตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป ดังนี้
หลักเกณฑ์การจ่าย
1. เป็นงานบริการรักษาพยาบาล
2. เป็นงานที่ปฏิบัตินอกเวลาราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง โดยไม่มีสิทธิหยุดชดเชยในวันรุ่งขึ้นหรือวันต่อ ๆ ไป
3. ผู้ที่ได้รับการจัดให้ปฏิบัติงานไว้เป็นผลัดไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับค่าตอบแทน เว้นแต่จะปฏิบัติงานต่อเนื่องเกินกว่าเวลาที่กำหนดออกไปอีกติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
4. เป็นผู้ที่ไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงหรือเงินตอบแทนอื่นใดจากทางราชการในการปฏิบัติงานให้บริการ
5. ในวันหนึ่งให้ได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 1 ครั้ง
อัตราการจ่าย
1. แพทย์ ทันตแพทย์ คนละ 800 บาท
2. เภสัชกร คนละ 330 บาท
3. นักวิทยาศาสตร์ พยาบาลวิชาชีพ คนละ 320 บาท
4. พยาบาลเทคนิต คนละ 220 บาท
5. เจ้าหน้าที่พยาบาล คนละ 180 บาท
6. ลูกจ้างประจำตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย คนละ 140 บาท
7. ข้าราชการอื่นในกรมราชทัณฑ์ ตำแหน่งเจ้าพนักงานเภสัชกรรม
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์
ระดับ 1 คนละ 180 บาท
ระดับ 2 คนละ 220 บาท
ระดับ 3 คนละ 300 บาท
8. หากการอยู่เวรปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ทำให้บุคลากรบางตำแหน่งได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าที่เคยได้รับตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2536 ก็ให้ได้รับในอัตราตามระเบียบดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยเสนอตามรายงานของกรมราชทัณฑ์ว่า การบำบัดรักษาพยาบาลผู้ต้องขังป่วยในเรือนจำ/ทัณฑสถาน เป็นภารกิจหลักที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มจำนวนผู้ต้องขังเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังอนุมัติ สามารถเบิกจ่ายได้เฉพาะบุคลากรสายการแพทย์ในโรงพยาบาลกลาง กรมราชทัณฑ์เท่านั้น ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและมิให้เป็นการเหลื่อมล้ำสำหรับบุคลากรสายการแพทย์ที่ไม่ปฏิบัติเวชปฏิบัติส่วนตัวและหรือโรงพยาบาลเอกชนนอกเวลาราชการ และการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของบุคลากรสายการแพทย์ที่สังกัดกรมราชทัณฑ์ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงเสนอขออนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-