แท็ก
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
การสื่อสารแห่งประเทศไทย
ศุภชัย พานิชภักดิ์
นายกรัฐมนตรี
รัฐวิสาหกิจ
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ประธานคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเสนอ ให้นำกิจการทั้งหมดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) มาจัดตั้งเป็น 4 บริษัท คือ บริษัทรวมทุน (Holding Company) บริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด และ บริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด ทั้งนี้ โดยให้บริษัทรวมทุนเป็นบริษัทแม่ของ 3 บริษัทดังกล่าวตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ เพื่อให้การแปรสภาพของ ทศท. และ กสท. สามารถดำเนินการได้ตามแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของกิจการดังกล่าวให้สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้ เมื่อมีการเปิดการแข่งขันเสรี และไม่มีผลกระทบต่อพนักงานของ กสท. ด้านไปรษณีย์ ซึ่งปัจจุบันมีผลการดำเนินงานที่ประสบผลการขาดทุน
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2542 แล้ว ทำให้ ทศท. และ กสท. สามารถดำเนินการแปรสภาพตามแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม โดยการแปลงทุนของ ทศท. และ กสท. เป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท และจดทะเบียนบริษัทได้โดยไม่ต้องตราพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 กระทรวงคมนาคมจึงเสนอหลักการและแนวทางในการแปรสภาพ ทศท. และ กสท. ให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจพิจารณา ดังนี้
1. กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังร่วมกันจัดตั้งบริษัทรวมทุน (Holding Company) และให้บริษัทรวมทุนเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด
2. โอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ทั้งหมดของ ทศท. ไปยังบริษัท ทศท. จำกัด และโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ทั้งหมดของ กสท. ไปยังบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด ตามสัดส่วนที่จะกำหนด
3. โอนผู้บฏิบัติงานทั้งหมดไปบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่
4. กำหนดทุนเรือนหุ้นหรือทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นของแต่ละหุ้น ตลอดจนรายการต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด
5. ให้ผู้ปฏิบัติงานของ ทศท. และ กสท. ที่โอนไปสังกัดบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่อง รวมทั้งให้ได้รับเงินจำนวนหนึ่งและหุ้นที่ได้รับการจัดสรรอีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงการปรับปรุงเงินเดือนให้ใกล้เคียงกับบริษัทเอกชนทั่วไปหลังจากการแปรสภาพแล้ว ทั้งนี้ ในระยะก่อนและหลังแปรสภาพจะไม่ให้บุคคลใดที่โอนมาจาก ทศท. และ กสท. ต้องออกจากงาน ยกเว้นมีความผิดตามระเบียบข้อบังคับของ ทศท. กสท. หรือบริษัทใหม่
6. ให้จัดตั้งกองทุนประกันการเลิกจ้างของบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด
7. ให้บริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด บริหารงานในรูปแบบของบริษัทเอกชนทั่วไป มีระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นของตนเอง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพัสดุ งบประมาณ การเงิน การบัญชี และการบริหารงานบุคคล โดยไม่นำหลักเกณฑ์ คำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้กับหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วไป มาใช้ตามที่กำหนดในแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
8. เมื่อดำเนินการจัดตั้งบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เสร็จเรียบร้อยแล้ว การดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป เช่น การจัดหาพันธมิตรร่วมทุน การเชิญชวนผู้ลงทุนเฉพาะราย การจัดสรรหุ้นให้กับผู้ปฏิบัติงานเดิมของ ทศท. และ กสท. และการกระจายหุ้นให้กับสาธารณชน เป็นต้น ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ประธานคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเสนอ ให้นำกิจการทั้งหมดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) มาจัดตั้งเป็น 4 บริษัท คือ บริษัทรวมทุน (Holding Company) บริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด และ บริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด ทั้งนี้ โดยให้บริษัทรวมทุนเป็นบริษัทแม่ของ 3 บริษัทดังกล่าวตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ เพื่อให้การแปรสภาพของ ทศท. และ กสท. สามารถดำเนินการได้ตามแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของกิจการดังกล่าวให้สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนได้ เมื่อมีการเปิดการแข่งขันเสรี และไม่มีผลกระทบต่อพนักงานของ กสท. ด้านไปรษณีย์ ซึ่งปัจจุบันมีผลการดำเนินงานที่ประสบผลการขาดทุน
กระทรวงคมนาคมเสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2542 แล้ว ทำให้ ทศท. และ กสท. สามารถดำเนินการแปรสภาพตามแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม โดยการแปลงทุนของ ทศท. และ กสท. เป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท และจดทะเบียนบริษัทได้โดยไม่ต้องตราพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 และพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 กระทรวงคมนาคมจึงเสนอหลักการและแนวทางในการแปรสภาพ ทศท. และ กสท. ให้คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจพิจารณา ดังนี้
1. กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังร่วมกันจัดตั้งบริษัทรวมทุน (Holding Company) และให้บริษัทรวมทุนเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด
2. โอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ทั้งหมดของ ทศท. ไปยังบริษัท ทศท. จำกัด และโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด และสินทรัพย์ทั้งหมดของ กสท. ไปยังบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด ตามสัดส่วนที่จะกำหนด
3. โอนผู้บฏิบัติงานทั้งหมดไปบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่
4. กำหนดทุนเรือนหุ้นหรือทุนจดทะเบียน จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นของแต่ละหุ้น ตลอดจนรายการต่าง ๆ ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท.ไปรษณีย์ จำกัด
5. ให้ผู้ปฏิบัติงานของ ทศท. และ กสท. ที่โอนไปสังกัดบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม และให้นับอายุงานต่อเนื่อง รวมทั้งให้ได้รับเงินจำนวนหนึ่งและหุ้นที่ได้รับการจัดสรรอีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงการปรับปรุงเงินเดือนให้ใกล้เคียงกับบริษัทเอกชนทั่วไปหลังจากการแปรสภาพแล้ว ทั้งนี้ ในระยะก่อนและหลังแปรสภาพจะไม่ให้บุคคลใดที่โอนมาจาก ทศท. และ กสท. ต้องออกจากงาน ยกเว้นมีความผิดตามระเบียบข้อบังคับของ ทศท. กสท. หรือบริษัทใหม่
6. ให้จัดตั้งกองทุนประกันการเลิกจ้างของบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด
7. ให้บริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด บริหารงานในรูปแบบของบริษัทเอกชนทั่วไป มีระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นของตนเอง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการพัสดุ งบประมาณ การเงิน การบัญชี และการบริหารงานบุคคล โดยไม่นำหลักเกณฑ์ คำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้กับหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจทั่วไป มาใช้ตามที่กำหนดในแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
8. เมื่อดำเนินการจัดตั้งบริษัท ทศท. จำกัด บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด และบริษัท กสท. ไปรษณีย์ จำกัด ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เสร็จเรียบร้อยแล้ว การดำเนินงานในขั้นตอนต่อไป เช่น การจัดหาพันธมิตรร่วมทุน การเชิญชวนผู้ลงทุนเฉพาะราย การจัดสรรหุ้นให้กับผู้ปฏิบัติงานเดิมของ ทศท. และ กสท. และการกระจายหุ้นให้กับสาธารณชน เป็นต้น ให้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ก.ย. 2543--
-สส-