ทำเนียบรัฐบาล--25 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบนโยบายอัตราดอกเบี้ยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
นับตั้งต้นปี 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทะยอยลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนลง และขณะนี้ได้ใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน (Repurchase rate : R/PX 14 วัน เป็น Policy rate เพื่อส่งสัญญาณทิศทางของนโยบายการเงิน และในภาวะเศรษฐกิจที่การฟื้นตัวยังเปราะบางและไม่ครอบคลุมในวงกว้าง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ให้อยู่ในระดับต่ำคือร้อยละ 1.50 ต่อปี ซึ่งมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของระบบธนาคารโน้มลดลงตามลำดับนับจากครึ่งปีหลังของปี 2541 เป็นต้นมา และปัจจุบันอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.75 ต่อปี และร้อยละ 3.0 ต่อปีตามลำดับ
2.ผลกระทบของนโยบายดอกเบี้ยต่ำ
2.1 ผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย
การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และมิได้เป็นตัวเร่งปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้าย หรือกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนที่มีนัยสำคัญอย่างใด
โดยภาพรวมหแล้ว ฐานะหนี้ต่างประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้น จากที่สูงสุดในเดือนธันวาคม 2540 ที่ 109 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือเพียง 86 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม 2543 นอกจากนี้ สัดส่วนหนี้ระยะสั้นลดลงจากร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 19 ในช่วงเดียวกัน
เมื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของไทยกับต่างประเทศนั้น ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยเงินบาทระยะสั้นจำต่ำกว่าของสกุลสหรัฐหและสกุลยูโร แต่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่แตกต่างกันเท่าใด
การพิจารณาชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนนั้น จะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเป็นสำคัญ เนื่องจากกรณีกู้ยืมแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ ภาคเอกชนจะต้องออกตราสารหนี้ระยะยาวเงินบาทภายในประเทศเพื่อเป็นแหล่งทดแทน หรือหากเป็นกรณีการกู้ยืมแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ก็จะต้องกู้ยืมเงินบาทภายในประเทศแทน ซึ่งในกรณีแรกอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีของไทยอยู่ในระดับพอ ๆ กับต่างประเทศและกรณีหลังอัตราดอกเบี้ย MLR ของไทยยังสูงกว่าอัตรา LIBOR ของต่างประเทศอยู่มาก
ตั้งแต่มีการลอยตัวค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม 2540 ภาคเอกชนได้ชำระคืนหนี้สุทธิในอัตราเฉลี่ยเดือนละ 1,000 - 1,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มาโดยตลอดอย่างสม่ำเสมอมิได้มีการเร่งตัวขึ้นในปี 2542 และ 8 เดือนแรกของปีแต่ประการใด จึงเห็นได้ว่าการชำระหนี้ต่างประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้เป็นสำคัญ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งของไทยต่ำกว่าในต่างประเทศมากนั้น ในด้านประชาชนทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยมีกฎระเบียบห้ามมิให้นำเงินออกไปหาประโยชน์ส่วนต่างดอกเบี้ยในต่างประเทศ ส่วนในด้านธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะสามารถกู้เงินระยะสั้นภายในประเทศ เพื่อนำไปลงทุนต่างประเทศได้นั้น ก็มีระเบียบคุมยอดเกินดุลสุทธิ ในฐานะต่างประเทศเป็นสัดส่วนกับเงินกองทุนของแต่ละธนาคาร ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าตลอด 3 ปี ที่ผ่านมามีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกไปจากการนี้น้อยมาก
สำหรับการโอนเงินนอกระบบในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและค่อนข้างเสรีขึ้นมักมีการกระทำไม่มากนัก เนื่องจากไม่ค่อยมีความจำเป็นและมีความเสี่ยงสูง
ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายที่สำคัญอื่นๆ นั้น เป็นกรณีต่างชาติขายหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ ชำระคืน swap แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งสองปัจจัยไม่ขึ้นกับส่วนต่างอัตรดอกเบี้ย
2.2 ผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภค
โดยทั่วไปแล้ว ในภาวะที่เศรษฐกิจเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตและการฟื้นตัวยังไม่แข็งแกร่งพอ นโยบายการเงินต้องเป็นไปในทิศทางที่จะเอื้อต่อการฟื้นตัวได้มากขึ้น การทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย
ในด้านการบริโภค ดอกเบี้ยในระดับต่ำมีผลกระทบต่อการบริโภค 2 ทาง ทางด้านหนึ่งเกิดจากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ครัวเรือนจะเห็นว่าผลตอบแทนจากการออมเงินไม่จูงใจพอ และเพิ่มการบริโภคมากขึ้น (substiution effect) หรือเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์มากขึ้น และดอกเบี้ยต่ำยังทำให้ผู้ที่ต้องมีภาระเงินกู้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำลง เป็นการเพิ่มรายได้ส่วนที่เหลือจากการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งน่าจะมีผลทำให้เพิ่มการบริโภค
แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำทำให้ผู้มีเงินออมหรือผู้มีรายได้จากดอกเบี้ย (interest income) มีรายได้ลดลง ทำให้การบริโภคลดลง (income offect)
เมื่อผลกระทบทั้งสองเกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม ซึ่งส่งผลหักล้างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากโน้มลดลง อัตราเพิ่มการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนก็มีแนวโน้มดีขึ้นโดยตลอด
ในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลง อัตราเพิ่มยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ก็มีแนวโน้มดีขึ้นโดยตลอดเช่นกัน และการขยายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย สินเชื่ออุปโภคบริโภค และสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งเดิมหดตัวในอัตราสูง ได้ชะลอการหดตัวลง ทั้งนี้ สินเชื่อประเภทเหล่านี้เป็นสินเชื่อที่ลูกหนี้มีกำหนดผ่อนชำระสม่ำเสมอทุกเดือน หากไม่มีการปล่อยสินเชื่อใหม่ ยอดสินเชื่อจะหดลงโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การหดตัวที่ชะลอลง แสดงให้เห็นว่ามีการปล่อนสินเชื่อใหม่มากขึ้นเป็นลำดับ
2.3 ผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชน
ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลง อัตราเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดเช่นกัน
อนึ่ง การตัดสินใจลงทุนของธุรกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น การใช้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรม ความมั่นใจของธุรกิจ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เป็นต้น
2.4 ผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหนี้
ณ สิ้นกรกฎาคม 2543 มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งสิ้น 2,430 พันล้านบาท โดยเป็นส่วนที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว 1,657 พันล้านบาท และการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลงช่วยทำให้บรรยากาศในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ดีขึ้น
สภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จของกระบวนการประนอมหนี้ของธุรกิจ เนื่องจาก
1) มูลค่าปัจจัยของกระแสเงินสด (NPV ของ cashflow) ของธุรกิจโดยรวมดีขึ้น จะทำให้ลูกหนี้มีภาระการชำระหนี้ลดลง สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
2) ช่วยลดภาระของสถาบันการเงินจากการที่ต้องบันทึกบัญชี ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการตีราคา (mark-to-market) บัญชีลูกหนี้และตราสารใน portfolio ของธนาคารที่ได้รับจากการแปลงมูลหนี้เดิมเป็นตราสารการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินได้รับกระแสเงินสดจาการชำระหนี้ในรูปของมูลค่าปัจจุบันมากขึ้น ทำให้เกิดส่วนสูญเสียจากการประนอมหนี้น้อยลง ดังนั้น ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงสร้างแรงจูงใจให้ทั้งสองฝ่ายผลักดันให้การเจรจาประสบความสำเร็จ
2.5 ผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์มิได้สูงเท่าใดนัก และกลับติดลบในช่วงปี 2541 ทั้งปีเสียด้วย เนื่องจาก
1) จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งอยู่ในระดับสูง
2) ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากในระดับสูงตามอายุของเงินฝาก (3, 6 และ 12 เดือนก่อนหน้า)
ส่วนต่างล่าสุดในไตรมาส 2 ปี 2543 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 1.28 ต่อปี นั้น ก็ยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายบริหาร ซึ่งส่วนใหญ่ตกประมาณร้อยละ 2 - 2.75 ของเงินฝาก
อย่างไรก็ดี ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ย MLR กับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันยังเท่ากับร้อยละ 4.75 ต่อปี การที่ส่วนต่างดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงมีสาเหตุจากโครงการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว เนื่องจากยังมีกำลังผลิตส่วนเกิน และผู้ส่งออกที่ขยายกิจการบางรายอาศัยแหล่งเงินจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดหรือจากกำไรสะสม และบางรายอาศัยเงินจากบริษัทแม้ในต่างประเทศ ความต้องการสินเชื่อจึงชะลอตัวลงไปมากนอกจากนี้ ยังมีปัญหาจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งยังสูงอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น การแข่งขันเพื่อลดดอกเบี้ย MLR และเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อขยายฐานเงินฝาก จึงยังไม่เกิดขึ้น
3. ผลกระทบหากขึ้นดอกเบี้ย
3.1 NPL รายใหม่อาจเร่งตัวขึ้น (New NPL)
3.2 ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วกลับมาเป็น NPL (Re-entry NPL) อาจเร่งตัวขึ้น
3.3 ชะลอการลงทุนโครงการใหม่
3.4 ทำให้การเจรจา NPL ชะงัก
3.5 เพิ่มภาระดอกเบี้ยแก่รัฐบาลและเอกชน
4. มาตรการต่อไป
4.1 กระตุ้นการแข่งขันเพื่อลด MLR ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารที่มีฐานะพร้อม และธนาคารที่มีการโอน NPL ไป AMC แล้ว ให้แข่งขันด้านการให้สินเชื่อโดยนำลดอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ MLR ลงให้มากขึ้น
4.2 สร้างเครื่องมือช่วยการพิจารณาสินเชื่อและการเจรจาหนี้ เนื่องจากการให้สินเชื่อปัจจุบันมีปัญหาเรื่องข่าวสารข้อมูล โดยเจ้าหนี้มีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ในเรื่องศักยภาพของการคืนหนี้ของลูกหนี้ ดังนั้น การสร้างเครื่องมือที่แก้ปัญหาข่าวสารข้อมูลนี้ อาทิ Credit burcau จะเป็นการช่วยพัฒนาสินเชื่อต่อไป
4.3 เร่งการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และลด NPL โดยการหาวิธีเร่งรัดกระบวนการทางศาล เพื่อให้เจ้าหนี้สามารถฟ้องคดีและบังคับหลักประกันได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งแนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ NPL โดยมองภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมแทนที่จะเป็นการแก้ไขเป็นรายๆ เป็นต้น
4.4 เพิ่มทางเลือกในการออม ควรเพิ่มทางเลือกในการออมให้แก่ประชาชน ทั้งในรูปตราสารหนี้กองทุนรวมพันธบัตร และพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมีโครงการจะมีเงื่อนไขให้สถาบันการเงินคู่ค้า (primary dealer) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยทำธุรกรรมด้วยนั้น ต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาตลาดพันธบัตรรัฐบาล สำหรับผู้ลงทุนรายย่อยควบคู่ไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบนโยบายอัตราดอกเบี้ยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ข้อเท็จจริง
นับตั้งต้นปี 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทะยอยลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนลง และขณะนี้ได้ใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน (Repurchase rate : R/PX 14 วัน เป็น Policy rate เพื่อส่งสัญญาณทิศทางของนโยบายการเงิน และในภาวะเศรษฐกิจที่การฟื้นตัวยังเปราะบางและไม่ครอบคลุมในวงกว้าง ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงดำเนินการเพื่อรักษาอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วัน ให้อยู่ในระดับต่ำคือร้อยละ 1.50 ต่อปี ซึ่งมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของระบบธนาคารโน้มลดลงตามลำดับนับจากครึ่งปีหลังของปี 2541 เป็นต้นมา และปัจจุบันอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.75 ต่อปี และร้อยละ 3.0 ต่อปีตามลำดับ
2.ผลกระทบของนโยบายดอกเบี้ยต่ำ
2.1 ผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย
การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และมิได้เป็นตัวเร่งปัญหาเงินทุนเคลื่อนย้าย หรือกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนที่มีนัยสำคัญอย่างใด
โดยภาพรวมหแล้ว ฐานะหนี้ต่างประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้น จากที่สูงสุดในเดือนธันวาคม 2540 ที่ 109 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลือเพียง 86 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม 2543 นอกจากนี้ สัดส่วนหนี้ระยะสั้นลดลงจากร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 19 ในช่วงเดียวกัน
เมื่อเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของไทยกับต่างประเทศนั้น ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยเงินบาทระยะสั้นจำต่ำกว่าของสกุลสหรัฐหและสกุลยูโร แต่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่แตกต่างกันเท่าใด
การพิจารณาชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนนั้น จะขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเป็นสำคัญ เนื่องจากกรณีกู้ยืมแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ ภาคเอกชนจะต้องออกตราสารหนี้ระยะยาวเงินบาทภายในประเทศเพื่อเป็นแหล่งทดแทน หรือหากเป็นกรณีการกู้ยืมแบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ก็จะต้องกู้ยืมเงินบาทภายในประเทศแทน ซึ่งในกรณีแรกอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีของไทยอยู่ในระดับพอ ๆ กับต่างประเทศและกรณีหลังอัตราดอกเบี้ย MLR ของไทยยังสูงกว่าอัตรา LIBOR ของต่างประเทศอยู่มาก
ตั้งแต่มีการลอยตัวค่าเงินบาทในเดือนกรกฎาคม 2540 ภาคเอกชนได้ชำระคืนหนี้สุทธิในอัตราเฉลี่ยเดือนละ 1,000 - 1,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มาโดยตลอดอย่างสม่ำเสมอมิได้มีการเร่งตัวขึ้นในปี 2542 และ 8 เดือนแรกของปีแต่ประการใด จึงเห็นได้ว่าการชำระหนี้ต่างประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนของลูกหนี้เป็นสำคัญ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งของไทยต่ำกว่าในต่างประเทศมากนั้น ในด้านประชาชนทั่วไป ธนาคารแห่งประเทศไทยมีกฎระเบียบห้ามมิให้นำเงินออกไปหาประโยชน์ส่วนต่างดอกเบี้ยในต่างประเทศ ส่วนในด้านธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะสามารถกู้เงินระยะสั้นภายในประเทศ เพื่อนำไปลงทุนต่างประเทศได้นั้น ก็มีระเบียบคุมยอดเกินดุลสุทธิ ในฐานะต่างประเทศเป็นสัดส่วนกับเงินกองทุนของแต่ละธนาคาร ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าตลอด 3 ปี ที่ผ่านมามีเงินทุนเคลื่อนย้ายออกไปจากการนี้น้อยมาก
สำหรับการโอนเงินนอกระบบในระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวและค่อนข้างเสรีขึ้นมักมีการกระทำไม่มากนัก เนื่องจากไม่ค่อยมีความจำเป็นและมีความเสี่ยงสูง
ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายที่สำคัญอื่นๆ นั้น เป็นกรณีต่างชาติขายหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ ชำระคืน swap แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้งสองปัจจัยไม่ขึ้นกับส่วนต่างอัตรดอกเบี้ย
2.2 ผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภค
โดยทั่วไปแล้ว ในภาวะที่เศรษฐกิจเพิ่งจะผ่านพ้นวิกฤตและการฟื้นตัวยังไม่แข็งแกร่งพอ นโยบายการเงินต้องเป็นไปในทิศทางที่จะเอื้อต่อการฟื้นตัวได้มากขึ้น การทำให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย
ในด้านการบริโภค ดอกเบี้ยในระดับต่ำมีผลกระทบต่อการบริโภค 2 ทาง ทางด้านหนึ่งเกิดจากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ครัวเรือนจะเห็นว่าผลตอบแทนจากการออมเงินไม่จูงใจพอ และเพิ่มการบริโภคมากขึ้น (substiution effect) หรือเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์มากขึ้น และดอกเบี้ยต่ำยังทำให้ผู้ที่ต้องมีภาระเงินกู้จ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำลง เป็นการเพิ่มรายได้ส่วนที่เหลือจากการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งน่าจะมีผลทำให้เพิ่มการบริโภค
แต่ในอีกด้านหนึ่ง การที่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำทำให้ผู้มีเงินออมหรือผู้มีรายได้จากดอกเบี้ย (interest income) มีรายได้ลดลง ทำให้การบริโภคลดลง (income offect)
เมื่อผลกระทบทั้งสองเกิดขึ้นในทางตรงกันข้าม ซึ่งส่งผลหักล้างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากโน้มลดลง อัตราเพิ่มการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนก็มีแนวโน้มดีขึ้นโดยตลอด
ในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลง อัตราเพิ่มยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ก็มีแนวโน้มดีขึ้นโดยตลอดเช่นกัน และการขยายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายย่อย สินเชื่ออุปโภคบริโภค และสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งเดิมหดตัวในอัตราสูง ได้ชะลอการหดตัวลง ทั้งนี้ สินเชื่อประเภทเหล่านี้เป็นสินเชื่อที่ลูกหนี้มีกำหนดผ่อนชำระสม่ำเสมอทุกเดือน หากไม่มีการปล่อยสินเชื่อใหม่ ยอดสินเชื่อจะหดลงโดยอัตโนมัติ ดังนั้น การหดตัวที่ชะลอลง แสดงให้เห็นว่ามีการปล่อนสินเชื่อใหม่มากขึ้นเป็นลำดับ
2.3 ผลกระทบต่อการลงทุนภาคเอกชน
ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลง อัตราเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดเช่นกัน
อนึ่ง การตัดสินใจลงทุนของธุรกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น การใช้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรม ความมั่นใจของธุรกิจ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เป็นต้น
2.4 ผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหนี้
ณ สิ้นกรกฎาคม 2543 มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งสิ้น 2,430 พันล้านบาท โดยเป็นส่วนที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จแล้ว 1,657 พันล้านบาท และการที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR โน้มลดลงช่วยทำให้บรรยากาศในการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ดีขึ้น
สภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อความสำเร็จของกระบวนการประนอมหนี้ของธุรกิจ เนื่องจาก
1) มูลค่าปัจจัยของกระแสเงินสด (NPV ของ cashflow) ของธุรกิจโดยรวมดีขึ้น จะทำให้ลูกหนี้มีภาระการชำระหนี้ลดลง สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
2) ช่วยลดภาระของสถาบันการเงินจากการที่ต้องบันทึกบัญชี ส่วนสูญเสียที่เกิดจากการตีราคา (mark-to-market) บัญชีลูกหนี้และตราสารใน portfolio ของธนาคารที่ได้รับจากการแปลงมูลหนี้เดิมเป็นตราสารการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินได้รับกระแสเงินสดจาการชำระหนี้ในรูปของมูลค่าปัจจุบันมากขึ้น ทำให้เกิดส่วนสูญเสียจากการประนอมหนี้น้อยลง ดังนั้น ภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำจึงสร้างแรงจูงใจให้ทั้งสองฝ่ายผลักดันให้การเจรจาประสบความสำเร็จ
2.5 ผลกระทบต่อส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์มิได้สูงเท่าใดนัก และกลับติดลบในช่วงปี 2541 ทั้งปีเสียด้วย เนื่องจาก
1) จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งอยู่ในระดับสูง
2) ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากในระดับสูงตามอายุของเงินฝาก (3, 6 และ 12 เดือนก่อนหน้า)
ส่วนต่างล่าสุดในไตรมาส 2 ปี 2543 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 1.28 ต่อปี นั้น ก็ยังไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายบริหาร ซึ่งส่วนใหญ่ตกประมาณร้อยละ 2 - 2.75 ของเงินฝาก
อย่างไรก็ดี ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ย MLR กับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันยังเท่ากับร้อยละ 4.75 ต่อปี การที่ส่วนต่างดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงมีสาเหตุจากโครงการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว เนื่องจากยังมีกำลังผลิตส่วนเกิน และผู้ส่งออกที่ขยายกิจการบางรายอาศัยแหล่งเงินจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดหรือจากกำไรสะสม และบางรายอาศัยเงินจากบริษัทแม้ในต่างประเทศ ความต้องการสินเชื่อจึงชะลอตัวลงไปมากนอกจากนี้ ยังมีปัญหาจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ซึ่งยังสูงอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น การแข่งขันเพื่อลดดอกเบี้ย MLR และเพิ่มดอกเบี้ยเพื่อขยายฐานเงินฝาก จึงยังไม่เกิดขึ้น
3. ผลกระทบหากขึ้นดอกเบี้ย
3.1 NPL รายใหม่อาจเร่งตัวขึ้น (New NPL)
3.2 ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างแล้วกลับมาเป็น NPL (Re-entry NPL) อาจเร่งตัวขึ้น
3.3 ชะลอการลงทุนโครงการใหม่
3.4 ทำให้การเจรจา NPL ชะงัก
3.5 เพิ่มภาระดอกเบี้ยแก่รัฐบาลและเอกชน
4. มาตรการต่อไป
4.1 กระตุ้นการแข่งขันเพื่อลด MLR ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะธนาคารที่มีฐานะพร้อม และธนาคารที่มีการโอน NPL ไป AMC แล้ว ให้แข่งขันด้านการให้สินเชื่อโดยนำลดอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ MLR ลงให้มากขึ้น
4.2 สร้างเครื่องมือช่วยการพิจารณาสินเชื่อและการเจรจาหนี้ เนื่องจากการให้สินเชื่อปัจจุบันมีปัญหาเรื่องข่าวสารข้อมูล โดยเจ้าหนี้มีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ในเรื่องศักยภาพของการคืนหนี้ของลูกหนี้ ดังนั้น การสร้างเครื่องมือที่แก้ปัญหาข่าวสารข้อมูลนี้ อาทิ Credit burcau จะเป็นการช่วยพัฒนาสินเชื่อต่อไป
4.3 เร่งการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และลด NPL โดยการหาวิธีเร่งรัดกระบวนการทางศาล เพื่อให้เจ้าหนี้สามารถฟ้องคดีและบังคับหลักประกันได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งแนวทางการแก้ปัญหาลูกหนี้ NPL โดยมองภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมแทนที่จะเป็นการแก้ไขเป็นรายๆ เป็นต้น
4.4 เพิ่มทางเลือกในการออม ควรเพิ่มทางเลือกในการออมให้แก่ประชาชน ทั้งในรูปตราสารหนี้กองทุนรวมพันธบัตร และพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมีโครงการจะมีเงื่อนไขให้สถาบันการเงินคู่ค้า (primary dealer) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยทำธุรกรรมด้วยนั้น ต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาตลาดพันธบัตรรัฐบาล สำหรับผู้ลงทุนรายย่อยควบคู่ไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ย. 2543--
-สส-