ทำเนียบรัฐบาล--6 ก.พ.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการการกำหนดมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วย มาตรการหลักและมาตรการรอง ตามที่คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. มาตรการหลัก มี 3 ข้อ คือ
1.1 การที่มติคณะรัฐมนตรีออกมาใช้บังคับในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน ทำให้มีความคาบเกี่ยว หรือไม่สอดคล้องกันในทางปฏิบัติ เช่น มติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการขออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ดังนั้นควรจะมีการพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในภาพรวม เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกันในแนวทางปฏิบัติ
1.2 กรณีพื้นที่บริเวณที่ขออนุญาตเป็นเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ที่จำเป็นต้องสงวนรักษาไว้เพื่อมิให้ป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลาย อันเป็นการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อสาธารณประโยชน์ของรัฐ อธิบดีกรมป่าไม้อาจเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9 ตรี แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กันเขตพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ออกจากเขตประทานบัตรได้ ทั้งนี้โดยเจ้าของประทานบัตรไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากรัฐ
1.3 ให้มีการประเมินคุณค่าของพื้นที่ป่าไม้ในทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
2. มาตรการรองมี 2 ข้อ คือ
2.1 หลักเกณฑ์และมาตรการผ่อนผัน หรือยกเว้นการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ) เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับความมั่นคงหรือเศรษฐกิจ ตามข้อสังเกตของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 แบ่งออกเป็น 4 กรณี คือ
กรณีที่ 1 พื้นที่ที่ทางการได้ใช้ประโยชน์แล้ว
กรณีที่ 2 พื้นที่ที่รัฐได้อนุญาตให้ประชาชนหรือเอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในกิจการเพื่อการสำรวจแร่หรือการทำเหมืองแร่
กรณีที่ 3 พื้นที่ที่รัฐมีข้อผูกพันกับประชาชนหรือเอกชนไว้แล้ว ในกิจการเพื่อการสำรวจแร่ หรือการทำเหมืองแร่
กรณีที่ 4 พื้นที่ที่ผู้ขออนุญาตรายใหม่ขอเข้าทำประโยชน์ในกิจการเพื่อการสำรวจแร่ หรือการทำเหมืองแร่
2.2 มาตรการเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม มี 3 ข้อ คือ
1) ให้ผู้ขออนุญาตจัดทำแผนการดำเนินงานของโครงการที่ชัดเจนและแม่นยำเสนอกรมป่าไม้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้น้อยที่สุด
2) ให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดตามผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่จากการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง และผู้รับอนุญาตจะต้องทำรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากการติดตามตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตพบว่า ผู้รับอนุญาตละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วแต่กรณีได้ โดยผู้ถูกเพิกถอนไม่มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
3) ให้ผู้รับอนุญาตจัดให้มีแผนบรรเทาผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย และต้องวางมัดจำหรือทำสัญญาค้ำประกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากผู้รับอนุญาตไม่ดำเนินการตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสั่งการ ให้หน่วยงานดังกล่าวนำเงินมัดจำหรือเงินค้ำประกันไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ในกรณีที่เงินมัดจำหรือเงินค้ำประกันไม่เพียงพอให้ผู้รับอนุญาตรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ด้วย
อนึ่ง การกำหนดมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของคณะทำงาน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติแต่งตั้ง นั้น มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับคณะอนุกรรมการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดังนี้
1. ขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยคณะอนุกรรมการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมแบบสอบถามที่ขอทราบความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และมาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตลุ่มน้ำต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
2. คณะอนุกรรมการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำได้เห็นชอบในหลักการของร่างหลักเกณฑ์และมาตรการผ่อนผันตามมาตรการรอง ข้อ 2.1 ของคณะทำงานฯ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการการกำหนดมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประกอบด้วย มาตรการหลักและมาตรการรอง ตามที่คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. มาตรการหลัก มี 3 ข้อ คือ
1.1 การที่มติคณะรัฐมนตรีออกมาใช้บังคับในช่วงระยะเวลาที่ต่างกัน ทำให้มีความคาบเกี่ยว หรือไม่สอดคล้องกันในทางปฏิบัติ เช่น มติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการขออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ดังนั้นควรจะมีการพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวในภาพรวม เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกันในแนวทางปฏิบัติ
1.2 กรณีพื้นที่บริเวณที่ขออนุญาตเป็นเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ที่จำเป็นต้องสงวนรักษาไว้เพื่อมิให้ป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลาย อันเป็นการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อสาธารณประโยชน์ของรัฐ อธิบดีกรมป่าไม้อาจเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9 ตรี แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กันเขตพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ ออกจากเขตประทานบัตรได้ ทั้งนี้โดยเจ้าของประทานบัตรไม่มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากรัฐ
1.3 ให้มีการประเมินคุณค่าของพื้นที่ป่าไม้ในทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์
2. มาตรการรองมี 2 ข้อ คือ
2.1 หลักเกณฑ์และมาตรการผ่อนผัน หรือยกเว้นการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ) เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับความมั่นคงหรือเศรษฐกิจ ตามข้อสังเกตของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 แบ่งออกเป็น 4 กรณี คือ
กรณีที่ 1 พื้นที่ที่ทางการได้ใช้ประโยชน์แล้ว
กรณีที่ 2 พื้นที่ที่รัฐได้อนุญาตให้ประชาชนหรือเอกชนเข้าใช้ประโยชน์ในกิจการเพื่อการสำรวจแร่หรือการทำเหมืองแร่
กรณีที่ 3 พื้นที่ที่รัฐมีข้อผูกพันกับประชาชนหรือเอกชนไว้แล้ว ในกิจการเพื่อการสำรวจแร่ หรือการทำเหมืองแร่
กรณีที่ 4 พื้นที่ที่ผู้ขออนุญาตรายใหม่ขอเข้าทำประโยชน์ในกิจการเพื่อการสำรวจแร่ หรือการทำเหมืองแร่
2.2 มาตรการเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม มี 3 ข้อ คือ
1) ให้ผู้ขออนุญาตจัดทำแผนการดำเนินงานของโครงการที่ชัดเจนและแม่นยำเสนอกรมป่าไม้พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้น้อยที่สุด
2) ให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการติดตามผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่จากการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง และผู้รับอนุญาตจะต้องทำรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากการติดตามตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตพบว่า ผู้รับอนุญาตละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตร หรือหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วแต่กรณีได้ โดยผู้ถูกเพิกถอนไม่มีสิทธิฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
3) ให้ผู้รับอนุญาตจัดให้มีแผนบรรเทาผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย และต้องวางมัดจำหรือทำสัญญาค้ำประกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากผู้รับอนุญาตไม่ดำเนินการตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสั่งการ ให้หน่วยงานดังกล่าวนำเงินมัดจำหรือเงินค้ำประกันไปเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ในกรณีที่เงินมัดจำหรือเงินค้ำประกันไม่เพียงพอให้ผู้รับอนุญาตรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่ด้วย
อนึ่ง การกำหนดมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของคณะทำงาน ซึ่งคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติแต่งตั้ง นั้น มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับคณะอนุกรรมการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ดังนี้
1. ขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยคณะอนุกรรมการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมแบบสอบถามที่ขอทราบความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ และมาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตลุ่มน้ำต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
2. คณะอนุกรรมการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำได้เห็นชอบในหลักการของร่างหลักเกณฑ์และมาตรการผ่อนผันตามมาตรการรอง ข้อ 2.1 ของคณะทำงานฯ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 6 ก.พ. 2544--
-สส-