ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 มอบหมายให้กระทรวง ทบวง กรม และรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระนำความเห็นของสำนักงานคณะกรมการกฤษฎีกา เรื่องการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO ไปพิจารณาดำเนินการว่า จะสมควรมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการในเรื่องใดบ้าง เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ CEO ได้ แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป นั้น บัดนี้หน่วยราชการต่าง ๆ ได้เสนอการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ดำเนินการแทน ดังนี้
1. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอว่า การมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO สามารถมอบงานในอำนาจหน้าที่ได้เฉพาะงานที่เคยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุนร่วมกับจังหวัด งานจัดทำฐานข้อมูลของจังหวัด และงานศึกษาวิเคราะห์ลู่ทางการลงทุนของจังหวัด
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นว่า มีงานในอำนาจหน้าที่ที่สมควรมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO ดังนี้
2.1 งานสายตรวจ งานสืบสวน
2.2 การแต่งตั้ง ควรมอบอำนาจการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่รองผู้กำกับหรือเทียบเท่าลงมา
2.3 การสั่งเลื่อนขั้นและอัตราเงินเดือน ควรมอบอำนาจการสั่งเลื่อนขั้นและอัตราเงินเดือนสำหรับข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่รอง ผบก. หรือเทียบเท่าลงมา
2.4 การดำเนินการทางวินัย ควรมอบอำนาจลงทัณฑ์ข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่ ผกก. หรือเทียบเท่าลงมา
3. สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า เห็นควรมอบอำนาจของปลัดกระทรวงและอธิบดีให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ CEO ดังนี้
3.1 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตามโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนามีอำนาจสั่งแต่งตั้ง (ย้าย) ข้าราชการระดับ 8 ภายในจังหวัดซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังนี้
1) ปลัดกระทรวงมอบอำนาจในการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการระดับ 8 ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
2) อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าอธิบดีมอบอำนาจในการสั่งแต่งตั้ง (ย้าย)ข้าราชการระดับ 8 ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
ทั้งนี้ การย้ายดังกล่าวต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด
3.2 ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้ความร่วมมือแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาในการย้ายข้าราชการสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในจังหวัด ตั้งแต่ระดับ8 ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการและข้าราชการระดับ 7 ลงมา
3.3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตามโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการระดับ 8 ลงมา
3.4 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการระดับ 7 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและข้าราชการระดับ 8 ขึ้นไป
3.5 เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบอำนาจนำเรื่องเสนอ อ.ก.พ. กรม และ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณา เป็นประการใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบหมายอำนาจสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
3.6 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนสำหรับข้าราชการระดับ 7 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและข้าราชการระดับ 8 ขึ้นป ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
3.7 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการทุกระดับ ในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ
3.8 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน สำหรับข้าราชการพลเรือนทุกระดับ ในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ
3.9 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือสั่งการให้มีการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนทุกระดับในสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ
3.10 เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับมอบอำนาจนำเรื่องเสนอ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวงแล้วแต่กรณี และ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณา มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบอำนาจ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
3.11 เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ได้รับมอบอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือสั่งการให้มีการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงข้าราชการพลเรือนทุกระดับในสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ และคณะกรรมการหรือผู้ทำการสอบสวนมีความเห็นแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบอำนาจพิจารณาและหรือออกคำสั่งลงโทษในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงนั้นได้
กระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมในเรื่องดังกล่าวแล้วสรุปผลการหารือได้ ดังนี้
1. จำนวนหน่วยงานในสังกัดที่มีหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดทดลอง 5 จังหวัด (ลำปาง ชัยนาท ภูเก็ต นราธิวาส และศรีสะเกษ) มีดังนี้
1.1 ส่วนราชการ มี 6 กรม เป็นราชการส่วนกลางที่มีหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดทดลองจำนวน 5 กรมได้แก่ กรมทางหลวง กรมการบินพาณิชย์ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมเจ้าท่า และกรมไปรษณีย์โทรเลข และเป็นราชการส่วนภูมิภาค 1 กรม คือ กรมการขนส่งทางบก
1.2 รัฐวิสาหกิจ มี 8 หน่วย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และบริษท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
4. กระทรวงคมนาคมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ดำเนินการ ดังนี้
4.1 ส่วนราชการ
กรมทางหลวง มอบอำนาจงานของแขวงการทางในการอนุญาตหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นอำนาจของผู้อำนวยการทางหลวง และการดำเนินการเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 การย้าย/การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการระดับ 7 ลงมา อำนาจในการโอนเงินประจำงวด หรือการเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด และการสั่งซื้อสั่งจ้าง ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัย กรณีกระทำผิดอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการระดับ 8 และการเลื่อนขั้นเงินเดือน/ลูกจ้าง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้กรมทางหลวงพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ เป็นการมอบอำนาจหน้าที่ไม่เคยให้มาก่อน
กรมการบินพาณิชย์ มอบอำนาจในการบริหารท่าอากาศยานในพื้นที่จังหวัดทดลอง 2 จังหวัด(ลำปาง และนราธิวาส) ในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ใน 5 ลักษณะงานการย้ายข้าราชการระดับ 6 ลงมา การโอนเงินประจำงวด หรือการเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด ส่วนการย้ายข้าราชการระดับ 7 (นายท่าอากาศยาน) การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัยกรณีกระทำผิดอย่างร้ายแรง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้กรมการบินพาณิชย์พิจารณาดำเนินการ เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง
กรมอุตุนิยมวิทยา มอบอำนาจในการสั่งการให้ข้าราชการทุกระดับปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนงานของจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัย กรณีกระทำผิดอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการทุกระดับ ส่วนการแต่งตั้ง โยกย้าย และการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการทุกระดับ ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถเสนอให้กรมอุตุนิยมวิทยาพิจารณา เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในเรื่องเกี่ยวกับการพัสดุ การโอน/เปลี่ยนแปลงรายการเงินงบกลาง การโอน/การเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด
กรมเจ้าท่า ให้อำนาจ 2 จังหวัด คือ ภูเก็ต และนราธิวาส ในการอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ รวม 5 รายการ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัยข้าราชการ/ลูกจ้าง ส่วนการย้าย และเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ/ลูกจ้าง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้กรมเจ้าท่าพิจารณาดำเนินการ เพิ่มเติมจากที่เคยมอบให้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง และการเป็น "เจ้าท่า"
กรมไปรษณีย์โทรเลข มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 2 จังหวัด (ลำปาง และภูเก็ต) ในการสั่งและบังคับบัญชาข้าราชการซึ่งปฏิบัติงานประจำศูนย์หรือสถานี และการเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้กรมไปรษณีย์โทรเลขพิจารณาดำเนินการ เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง การโอน และการเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด
กรมการขนส่งทางบก มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลองทั้ง 5 จังหวัด ในการย้ายข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตั้งแต่ระดับ 5 ลงมา เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในส่วนที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค
4.2 รัฐวิสาหกิจ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลองทั้ง 5 จังหวัด เป็นตัวแทนระวังแนวเขตในการรังวัดที่ดิน และการชำระค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ส่งย้ายสับเปลี่ยนพนักงานตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 7 ลงมาในตำแหน่งและสายงานเดียวกันตามความจำเป็นและประหยัด แล้วรายงานให้การสื่อสารฯ ทราบ ส่วนการย้ายพนักงานตำแหน่งหัวหน้าที่ทำการ (ระดับ 6 - ระดับ 8) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้การสื่อสารฯ พิจารณาออกคำสั่ง และมอบอำนาจในการบริหารงบประมาณเฉพาะภารกิจเร่งด่วน เช่น ภัยธรรมชาติ ในวงเงิน 1 แสนบาท/ปี/จังหวัด
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 3 จังหวัด (ลำปาง ภูเก็ต และนราธิวาส) ในการสั่งการให้ใช้ทรัพยากรของบริษัทฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องทางเทคนิคทั้งในด้านบุคลากร ยานพาหนะ และสถานที่ มีส่วนร่วมในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน เสนอการเปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมการบินให้บริษัทฯ พิจารณา ส่วนการบริหารงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถติดต่อประสานในสิ่งที่ต้องใช้งบประมาณของบริษัทฯ ภายในอำนาจของผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้โดยตรงกับผู้อำนวยการศูนย์ฯ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 3 จังหวัด (ลำปาง นราธิวาสและศรีสะเกษ) ในการรื้อถอนหรือทำลายสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอยู่ในเขตที่ดินรถไฟภายในระยะ 40 เมตร และอำนาจในการบริหารงบประมาณแผ่นดินที่การรถไฟฯ ได้รับการจัดสรรในจังหวัดนั้น ๆ และจังหวัดประสงค์จะรับไปดำเนินการในเรื่องการพัฒนารถไฟ ส่วนเรื่องการโยกย้ายพนักงานในพื้นที่การรถไฟฯ ยินดีให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนหากมีการร้องขอ
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 1 จังหวัด (ภูเก็ต) ในการสั่งการตามแผนฉุกเฉินท่าอากาศยานภูเก็ตในเรื่องเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ การก่อกวนจากฝูงชน การกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย และการปล้นยึดตัวอาคารและตัวประกันที่เกิดขึ้นนอกเขตการบิน (Landside) ภายในท่าอากาศยาน โดยให้ประสานกับผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต และเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ การท่าอากาศยานฯ ในการแต่งตั้ง โยกย้ายพนักงานระดับ 9 (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต)
บริษัท ขนส่ง จำกัด มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลองทั้ง 5 จังหวัด ในการสั่งการตามกฏหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน หรือการให้บริการประชาชนในพื้นที่ (ทั้งนี้ ต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) และเสนอความเห็นในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ลงโทษ พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมทั้งการบริหารงบประมาณให้บริษัทฯ พิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-
1. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอว่า การมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO สามารถมอบงานในอำนาจหน้าที่ได้เฉพาะงานที่เคยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ งานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านการลงทุนร่วมกับจังหวัด งานจัดทำฐานข้อมูลของจังหวัด และงานศึกษาวิเคราะห์ลู่ทางการลงทุนของจังหวัด
2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นว่า มีงานในอำนาจหน้าที่ที่สมควรมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO ดังนี้
2.1 งานสายตรวจ งานสืบสวน
2.2 การแต่งตั้ง ควรมอบอำนาจการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่รองผู้กำกับหรือเทียบเท่าลงมา
2.3 การสั่งเลื่อนขั้นและอัตราเงินเดือน ควรมอบอำนาจการสั่งเลื่อนขั้นและอัตราเงินเดือนสำหรับข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่รอง ผบก. หรือเทียบเท่าลงมา
2.4 การดำเนินการทางวินัย ควรมอบอำนาจลงทัณฑ์ข้าราชการตำรวจตำแหน่งตั้งแต่ ผกก. หรือเทียบเท่าลงมา
3. สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า เห็นควรมอบอำนาจของปลัดกระทรวงและอธิบดีให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทำหน้าที่ CEO ดังนี้
3.1 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตามโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนามีอำนาจสั่งแต่งตั้ง (ย้าย) ข้าราชการระดับ 8 ภายในจังหวัดซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังนี้
1) ปลัดกระทรวงมอบอำนาจในการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการระดับ 8 ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
2) อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าอธิบดีมอบอำนาจในการสั่งแต่งตั้ง (ย้าย)ข้าราชการระดับ 8 ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
ทั้งนี้ การย้ายดังกล่าวต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด
3.2 ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้ความร่วมมือแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดตามโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาในการย้ายข้าราชการสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในจังหวัด ตั้งแต่ระดับ8 ซึ่งมิใช่หัวหน้าส่วนราชการและข้าราชการระดับ 7 ลงมา
3.3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตามโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการระดับ 8 ลงมา
3.4 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการระดับ 7 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและข้าราชการระดับ 8 ขึ้นไป
3.5 เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบอำนาจนำเรื่องเสนอ อ.ก.พ. กรม และ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณา เป็นประการใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบหมายอำนาจสั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
3.6 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนสำหรับข้าราชการระดับ 7 ซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดและข้าราชการระดับ 8 ขึ้นป ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
3.7 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการทุกระดับ ในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ
3.8 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน สำหรับข้าราชการพลเรือนทุกระดับ ในสังกัดราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ
3.9 มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน หรือสั่งการให้มีการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ข้าราชการพลเรือนทุกระดับในสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ
3.10 เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับมอบอำนาจนำเรื่องเสนอ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวงแล้วแต่กรณี และ อ.ก.พ. กรม หรือ อ.ก.พ. กระทรวงพิจารณา มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบอำนาจ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
3.11 เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ได้รับมอบอำนาจสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหรือสั่งการให้มีการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรงข้าราชการพลเรือนทุกระดับในสังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ที่ปฏิบัติราชการประจำในจังหวัดนั้น ๆ และคณะกรรมการหรือผู้ทำการสอบสวนมีความเห็นแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ได้รับมอบอำนาจพิจารณาและหรือออกคำสั่งลงโทษในความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงนั้นได้
กระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมในเรื่องดังกล่าวแล้วสรุปผลการหารือได้ ดังนี้
1. จำนวนหน่วยงานในสังกัดที่มีหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดทดลอง 5 จังหวัด (ลำปาง ชัยนาท ภูเก็ต นราธิวาส และศรีสะเกษ) มีดังนี้
1.1 ส่วนราชการ มี 6 กรม เป็นราชการส่วนกลางที่มีหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดทดลองจำนวน 5 กรมได้แก่ กรมทางหลวง กรมการบินพาณิชย์ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมเจ้าท่า และกรมไปรษณีย์โทรเลข และเป็นราชการส่วนภูมิภาค 1 กรม คือ กรมการขนส่งทางบก
1.2 รัฐวิสาหกิจ มี 8 หน่วย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด การรถไฟแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บริษัท ขนส่ง จำกัด องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ และบริษท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
4. กระทรวงคมนาคมมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ดำเนินการ ดังนี้
4.1 ส่วนราชการ
กรมทางหลวง มอบอำนาจงานของแขวงการทางในการอนุญาตหรือกระทำการใด ๆ อันเป็นอำนาจของผู้อำนวยการทางหลวง และการดำเนินการเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 การย้าย/การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการระดับ 7 ลงมา อำนาจในการโอนเงินประจำงวด หรือการเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด และการสั่งซื้อสั่งจ้าง ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัย กรณีกระทำผิดอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการระดับ 8 และการเลื่อนขั้นเงินเดือน/ลูกจ้าง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้กรมทางหลวงพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ เป็นการมอบอำนาจหน้าที่ไม่เคยให้มาก่อน
กรมการบินพาณิชย์ มอบอำนาจในการบริหารท่าอากาศยานในพื้นที่จังหวัดทดลอง 2 จังหวัด(ลำปาง และนราธิวาส) ในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ใน 5 ลักษณะงานการย้ายข้าราชการระดับ 6 ลงมา การโอนเงินประจำงวด หรือการเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด ส่วนการย้ายข้าราชการระดับ 7 (นายท่าอากาศยาน) การเลื่อนขั้นเงินเดือน และการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัยกรณีกระทำผิดอย่างร้ายแรง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้กรมการบินพาณิชย์พิจารณาดำเนินการ เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง
กรมอุตุนิยมวิทยา มอบอำนาจในการสั่งการให้ข้าราชการทุกระดับปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนงานของจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัย กรณีกระทำผิดอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการทุกระดับ ส่วนการแต่งตั้ง โยกย้าย และการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการทุกระดับ ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถเสนอให้กรมอุตุนิยมวิทยาพิจารณา เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในเรื่องเกี่ยวกับการพัสดุ การโอน/เปลี่ยนแปลงรายการเงินงบกลาง การโอน/การเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด
กรมเจ้าท่า ให้อำนาจ 2 จังหวัด คือ ภูเก็ต และนราธิวาส ในการอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ รวม 5 รายการ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการทางวินัยข้าราชการ/ลูกจ้าง ส่วนการย้าย และเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการ/ลูกจ้าง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้กรมเจ้าท่าพิจารณาดำเนินการ เพิ่มเติมจากที่เคยมอบให้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง และการเป็น "เจ้าท่า"
กรมไปรษณีย์โทรเลข มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 2 จังหวัด (ลำปาง และภูเก็ต) ในการสั่งและบังคับบัญชาข้าราชการซึ่งปฏิบัติงานประจำศูนย์หรือสถานี และการเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้กรมไปรษณีย์โทรเลขพิจารณาดำเนินการ เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง การโอน และการเปลี่ยนแปลงรายการเงินประจำงวด
กรมการขนส่งทางบก มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลองทั้ง 5 จังหวัด ในการย้ายข้าราชการในสังกัดสำนักงานขนส่งจังหวัดตั้งแต่ระดับ 5 ลงมา เพิ่มเติมจากที่เคยมอบอำนาจให้ในส่วนที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค
4.2 รัฐวิสาหกิจ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลองทั้ง 5 จังหวัด เป็นตัวแทนระวังแนวเขตในการรังวัดที่ดิน และการชำระค่าสาธารณูปโภค ฯลฯ ส่งย้ายสับเปลี่ยนพนักงานตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 7 ลงมาในตำแหน่งและสายงานเดียวกันตามความจำเป็นและประหยัด แล้วรายงานให้การสื่อสารฯ ทราบ ส่วนการย้ายพนักงานตำแหน่งหัวหน้าที่ทำการ (ระดับ 6 - ระดับ 8) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอให้การสื่อสารฯ พิจารณาออกคำสั่ง และมอบอำนาจในการบริหารงบประมาณเฉพาะภารกิจเร่งด่วน เช่น ภัยธรรมชาติ ในวงเงิน 1 แสนบาท/ปี/จังหวัด
บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 3 จังหวัด (ลำปาง ภูเก็ต และนราธิวาส) ในการสั่งการให้ใช้ทรัพยากรของบริษัทฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องทางเทคนิคทั้งในด้านบุคลากร ยานพาหนะ และสถานที่ มีส่วนร่วมในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน เสนอการเปลี่ยนแปลงผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมการบินให้บริษัทฯ พิจารณา ส่วนการบริหารงบประมาณผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถติดต่อประสานในสิ่งที่ต้องใช้งบประมาณของบริษัทฯ ภายในอำนาจของผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้โดยตรงกับผู้อำนวยการศูนย์ฯ
การรถไฟแห่งประเทศไทย มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 3 จังหวัด (ลำปาง นราธิวาสและศรีสะเกษ) ในการรื้อถอนหรือทำลายสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอยู่ในเขตที่ดินรถไฟภายในระยะ 40 เมตร และอำนาจในการบริหารงบประมาณแผ่นดินที่การรถไฟฯ ได้รับการจัดสรรในจังหวัดนั้น ๆ และจังหวัดประสงค์จะรับไปดำเนินการในเรื่องการพัฒนารถไฟ ส่วนเรื่องการโยกย้ายพนักงานในพื้นที่การรถไฟฯ ยินดีให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนหากมีการร้องขอ
การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลอง 1 จังหวัด (ภูเก็ต) ในการสั่งการตามแผนฉุกเฉินท่าอากาศยานภูเก็ตในเรื่องเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ การก่อกวนจากฝูงชน การกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย และการปล้นยึดตัวอาคารและตัวประกันที่เกิดขึ้นนอกเขตการบิน (Landside) ภายในท่าอากาศยาน โดยให้ประสานกับผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต และเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ การท่าอากาศยานฯ ในการแต่งตั้ง โยกย้ายพนักงานระดับ 9 (ผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ต)
บริษัท ขนส่ง จำกัด มอบอำนาจให้ในพื้นที่จังหวัดทดลองทั้ง 5 จังหวัด ในการสั่งการตามกฏหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน หรือการให้บริการประชาชนในพื้นที่ (ทั้งนี้ ต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) และเสนอความเห็นในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย ลงโทษ พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมทั้งการบริหารงบประมาณให้บริษัทฯ พิจารณา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 พ.ย. 44--
-สส-