ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2543 รวมทั้งสิ้น 79 โครงการ (กลุ่มที่ 1 จำนวน 26 โครงการ กลุ่มที่ 2 จำนวน 36 โครงการ และกลุ่มที่ 3 จำนวน 17 โครงการ) ตามที่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงาน ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานโครงการกลุ่มที่ 1 : โครงการที่ควรเร่งรัดผลักดันให้แล้วเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับรายงานจากกระทรวงต่าง ๆ จำนวน 26 โครงการ จาก 34 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของกระทรวงคมนาคม 11 โครงการ กระทรวงมหาดไทย 4 โครงการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 10 โครงการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 1 โครงการ สำหรับอีก 8 โครงการที่เหลือของสำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ รฟม.) ยังไม่ได้รับรายงาน
ผลการดำเนินงาน การดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ มีบางโครงการที่ประสบปัญหา ได้แก่ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนบี ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ยังมีปัญหาการต่อต้านจากชุมชน และคาดว่าจะไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้บริษัทผู้รับสัมปทานได้ตามกำหนดในเดือนตุลาคม 2543 ขณะนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้พยายามเจรจาขยายระยะเวลาส่งมอบพื้นที่ออกไปอีก 2 ปี
2. ผลการดำเนินงานโครงการกลุ่มที่ 2 : โครงการที่ควรสนับสนุนให้เริ่มดำเนินการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับรายงานจากกระทรวงต่าง ๆ จำนวน 36 โครงการ จาก 44 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของกระทรวงคมนาคม 16 โครงการ กระทรวงมหาดไทย 15 โครงการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3 โครงการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 2 โครงการ สำหรับ 8 โครงการที่เหลือของกระทรวงมหาดไทย (กรมโยธาธิการ การประปานครหลวง) สำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) และกระทรวงอุตสาหกรรม (ปตท.) ยังไม่ได้รับรายงาน
ผลการดำเนินงาน จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่เริ่มดำเนินการ จำนวน 12 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานโดยอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคาการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ มีการลงนามในสัญญาก่อสร้าง และทาบทามแหล่งเงินกู้ สำหรับโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการตามแผน ได้แก่ โครงการปรับปรุงขยายการประปาหนองคาย - อุดรธานี มีความล่าช้าในการคัดเลือกผู้รับจ้าง โครงการเอกชนร่วมลงทุนขยายการให้บริการประปาภูมิภาคแบบ BOT ของการประปาลำปาง จะต้องคัดเลือกเอกชนใหม่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 เนื่องจากวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท
2) กลุ่มโครงการที่อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สวล. พิจารณา จำนวน 11โครงการ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2543 จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาบริการวิทยุเซลลูล่าร์ในภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทย โครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ (1900 MHz) โครงการบำบัดน้ำเสียปริมณฑลทางส่วนเหนือ ขั้นที่ 1 (คูคต - ประชาธิปัตย์) โครงการบำบัดน้ำเสียอ้อมน้อย - อ้อมใหญ่ และโครงการขยายเขตไฟฟ้าให้ราษฎรในชนบท ระยะที่ 2
3) กลุ่มโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสม จำนวน 13 โครงการ ส่วนใหญ่กำลังดำเนินการศึกษาความเหมาะสม โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรีอยู่ระหว่างการเจรจาขอความช่วยเหลือทางการเงินจากฝรั่งเศสเพื่อศึกษาความเหมาะสม และ 4 โครงการยังไม่เริ่มเตรียมการศึกษาความเหมาะสม คือ โครงการบำบัดน้ำเสียหนองบอน โครงการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีผสมผสานที่อ่อนนุช 2 ที่หนองแขม และที่ท่าแร้ง
3. ผลการดำเนินงานโครงการกลุ่มที่ 3 : โครงการที่มีประเด็นเพื่อสร้างความชัดเจนหรือพิจารณาทบทวน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับรายงานครบถ้วนจำนวน 17 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของกระทรวงคมนาคม 9 โครงการ กระทรวงมหาดไทย 6 โครงการ สำนักนายกรัฐมนตรี 1 โครงการ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 โครงการ
ผลการดำเนินงาน จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มโครงการที่มีความล่าช้าในการดำเนินงานและเบิกจ่าย จำนวน 4 โครงการ โครงการเปลี่ยนรางในทางประธาน ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ได้ปรับปรุงแผนงานที่ล่าช้า โดยเพิ่มระยะเวลาการปิดทาง เพื่อให้สามารถดำเนินการเปลี่ยนรางได้มากขึ้น และได้กู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในงวดที่ 23 เพื่อทดแทนในส่วนของเงินบาทสมทบแล้ว สำหรับโครงการจัดหาเรือขุดหัวสว่านขนาด 20 นิ้ว จำนวน 4 ลำ มีการแก้ไขปัญหาและได้ข้อยุติในประเด็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่จะระบุในสัญญาเงินกู้ต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเซ็นสัญญาเงินกู้ต่างประเทศ
2) กลุ่มโครงการที่มีข้อผูกพันด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จำนวน 3 โครงการ การตกลงร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการวางแนวสายทางรถไฟ โครงการสายเด่นชัย - เชียงราย และโครงการสายบัวใหญ่ - นครพนม สำหรับโครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
3) โครงการที่มีประเด็นปัญหาในการดำเนินการ จำนวน 10 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านการขนส่งทางบก ได้แก่ การก่อสร้างทางด่วน ถนนในกรุงเทพมหานคร ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
(1) ปรับลดขอบเขตโครงการ เช่น โครงการทางด่วนดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร
(2) การศึกษาทบทวนแนวสายทางให้ชัดเจน ได้แก่ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ
(3) การปรับลดวงเงินลงทุนโครงการ ได้แก่ โครงการวงแหวนอุตสาหกรรม มีการเลื่อนระยะเวลาการดำเนินโครงการออกไปจากเดิม ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
ทั้งนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้พิจารณาทบทวนโครงการกลุ่มที่ 3 แล้วมีมติดังนี้
1. โครงการที่มีความล่าช้าในการดำเนินงานและเบิกจ่าย
- การเปลี่ยนรางในทางประธานเป็นรางเชื่อมยาวขนาด 100 ปอนด์/หลา ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 : เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลา เนื่องจากเป็นโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการเดินรถ
- โครงการจัดหาเรือขุดหัวสว่าน ขนาดท่อส่งดิน 20 นิ้ว จำนวน 4 ลำ : เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) เร่งรัดดำเนินการต่อ สร้างเรือขุดให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกองเรือขุดของกรมเจ้าท่า และการปฏิบัติงานขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลของไทย
2. โครงการที่มีข้อผูกพันด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย สายบัวใหญ่ - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม และทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส : เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการเจรจาให้ได้ข้อยุติร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านในการวางแนวสายทางรถไฟ และความพร้อมที่จะดำเนินการทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อนำเสนอรายละเอียดโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งก่อนดำเนินโครงการต่อไป สำหรับโครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส เห็นควรรอผลการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนดำเนินการต่อไป
3. โครงการที่มีประเด็นปัญหาในการดำเนินการ
1) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ : เห็นควรให้ชะลอโครงการไปก่อน เมื่อการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ศึกษาความเหมาะสมของแนวทางสายทาง N1 แล้วเสร็จ ควรทบทวนแผนการดำเนินงานทั้งโครงการพร้อมทั้งปรับวงเงินลงทุน ระยะเวลา และผลตอบแทนของโครงการ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบตามขั้นตอนก่อนที่จะดำเนินการต่อไป และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2544 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของแนวสายทางตอน N1 ให้ชัดเจน ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2545
2) โครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร (ช่วงดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอก) : เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาขยายช่องจราจรบริเวณทางขึ้น - ลงของทางด่วนขั้นที่ 1 บริเวณช่วงดาวคะนอง - สุขสวัสดิ์ เพื่อช่วยระบายการจราจรเข้า - ออก ถนนพระราม 2 (ธนบุรี - ปากท่อ) ซึ่งกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการขยายถนนเป็น 12 ช่องจราจร โดยจะแก้ไขปัญหาคอขวดบริเวณดังกล่าวได้ แทนการดำเนินโครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอก ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงการลงทุนที่เกินความจำเป็น
3) โครงการทางด่วนสายพญาไท - พุทธมณฑล - นครปฐม (ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอก หรือสายพญาไท - วงแหวนรอบนอกเดิม) : เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยศึกษาความเหมาะสมของแนวสายทางใหม่ที่จะเชื่อมต่อระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ทดแทนสายทางเดิมเพื่อรองรับปริมาณจราจรในอนาคต
4) โครงการทางด่วนสายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอก : เห็นควรให้ชะลอการดำเนินโครงการออกไปก่อน เนื่องจากการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ต้องเวนคืนเป็นจำนวนมาก มีผลกระทบต่อประชาชนและภาระต่อภาครัฐในการอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน S1 (อาจณรงค์ - บางนา) : เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยเสนอรายละเอียดโครงการเพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งควรพิจารณาแก้ไขปัญหาระบบการจัดเก็บค่าผ่านทางควบคู่ไปด้วยเพื่อมิให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง
6) โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม : เห็นควรให้ดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้
7) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ - พระนั่งเกล้า และหัวลำโพง - บางแค): เห็นควรนำผลการศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องที่ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาระยะเวลาดำเนินการของโครงการให้เหมาะสมก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
8) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี - พัทยา และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา - มาบตาพุด : เห็นควรให้กรมทางหลวงพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบของผู้ใช้ทางเดิมในปัจจุบัน และชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการดำเนินโครงการต่อผู้ใช้ทางเดิม และชุมชน
9) โครงการ กก - อิง - น่าน : เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการเมื่อผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2543 รวมทั้งสิ้น 79 โครงการ (กลุ่มที่ 1 จำนวน 26 โครงการ กลุ่มที่ 2 จำนวน 36 โครงการ และกลุ่มที่ 3 จำนวน 17 โครงการ) ตามที่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และสำนักนายกรัฐมนตรีได้รายงาน ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานโครงการกลุ่มที่ 1 : โครงการที่ควรเร่งรัดผลักดันให้แล้วเสร็จ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับรายงานจากกระทรวงต่าง ๆ จำนวน 26 โครงการ จาก 34 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของกระทรวงคมนาคม 11 โครงการ กระทรวงมหาดไทย 4 โครงการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 10 โครงการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 1 โครงการ สำหรับอีก 8 โครงการที่เหลือของสำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ รฟม.) ยังไม่ได้รับรายงาน
ผลการดำเนินงาน การดำเนินงานส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ มีบางโครงการที่ประสบปัญหา ได้แก่ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ส่วนบี ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ยังมีปัญหาการต่อต้านจากชุมชน และคาดว่าจะไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้บริษัทผู้รับสัมปทานได้ตามกำหนดในเดือนตุลาคม 2543 ขณะนี้ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้พยายามเจรจาขยายระยะเวลาส่งมอบพื้นที่ออกไปอีก 2 ปี
2. ผลการดำเนินงานโครงการกลุ่มที่ 2 : โครงการที่ควรสนับสนุนให้เริ่มดำเนินการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับรายงานจากกระทรวงต่าง ๆ จำนวน 36 โครงการ จาก 44 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของกระทรวงคมนาคม 16 โครงการ กระทรวงมหาดไทย 15 โครงการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3 โครงการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 2 โครงการ สำหรับ 8 โครงการที่เหลือของกระทรวงมหาดไทย (กรมโยธาธิการ การประปานครหลวง) สำนักนายกรัฐมนตรี (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) และกระทรวงอุตสาหกรรม (ปตท.) ยังไม่ได้รับรายงาน
ผลการดำเนินงาน จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แต่ยังไม่เริ่มดำเนินการ จำนวน 12 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานโดยอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคาการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ มีการลงนามในสัญญาก่อสร้าง และทาบทามแหล่งเงินกู้ สำหรับโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการตามแผน ได้แก่ โครงการปรับปรุงขยายการประปาหนองคาย - อุดรธานี มีความล่าช้าในการคัดเลือกผู้รับจ้าง โครงการเอกชนร่วมลงทุนขยายการให้บริการประปาภูมิภาคแบบ BOT ของการประปาลำปาง จะต้องคัดเลือกเอกชนใหม่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535 เนื่องจากวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท
2) กลุ่มโครงการที่อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สวล. พิจารณา จำนวน 11โครงการ คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2543 จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่สายหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา โครงการพัฒนาบริการวิทยุเซลลูล่าร์ในภูมิภาคของการสื่อสารแห่งประเทศไทย โครงการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบใหม่ (1900 MHz) โครงการบำบัดน้ำเสียปริมณฑลทางส่วนเหนือ ขั้นที่ 1 (คูคต - ประชาธิปัตย์) โครงการบำบัดน้ำเสียอ้อมน้อย - อ้อมใหญ่ และโครงการขยายเขตไฟฟ้าให้ราษฎรในชนบท ระยะที่ 2
3) กลุ่มโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสม จำนวน 13 โครงการ ส่วนใหญ่กำลังดำเนินการศึกษาความเหมาะสม โครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรีอยู่ระหว่างการเจรจาขอความช่วยเหลือทางการเงินจากฝรั่งเศสเพื่อศึกษาความเหมาะสม และ 4 โครงการยังไม่เริ่มเตรียมการศึกษาความเหมาะสม คือ โครงการบำบัดน้ำเสียหนองบอน โครงการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีผสมผสานที่อ่อนนุช 2 ที่หนองแขม และที่ท่าแร้ง
3. ผลการดำเนินงานโครงการกลุ่มที่ 3 : โครงการที่มีประเด็นเพื่อสร้างความชัดเจนหรือพิจารณาทบทวน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับรายงานครบถ้วนจำนวน 17 โครงการ ประกอบด้วย โครงการของกระทรวงคมนาคม 9 โครงการ กระทรวงมหาดไทย 6 โครงการ สำนักนายกรัฐมนตรี 1 โครงการ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 โครงการ
ผลการดำเนินงาน จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1) กลุ่มโครงการที่มีความล่าช้าในการดำเนินงานและเบิกจ่าย จำนวน 4 โครงการ โครงการเปลี่ยนรางในทางประธาน ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ได้ปรับปรุงแผนงานที่ล่าช้า โดยเพิ่มระยะเวลาการปิดทาง เพื่อให้สามารถดำเนินการเปลี่ยนรางได้มากขึ้น และได้กู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในงวดที่ 23 เพื่อทดแทนในส่วนของเงินบาทสมทบแล้ว สำหรับโครงการจัดหาเรือขุดหัวสว่านขนาด 20 นิ้ว จำนวน 4 ลำ มีการแก้ไขปัญหาและได้ข้อยุติในประเด็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่จะระบุในสัญญาเงินกู้ต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเซ็นสัญญาเงินกู้ต่างประเทศ
2) กลุ่มโครงการที่มีข้อผูกพันด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จำนวน 3 โครงการ การตกลงร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อนบ้านยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการวางแนวสายทางรถไฟ โครงการสายเด่นชัย - เชียงราย และโครงการสายบัวใหญ่ - นครพนม สำหรับโครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
3) โครงการที่มีประเด็นปัญหาในการดำเนินการ จำนวน 10 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านการขนส่งทางบก ได้แก่ การก่อสร้างทางด่วน ถนนในกรุงเทพมหานคร ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
(1) ปรับลดขอบเขตโครงการ เช่น โครงการทางด่วนดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร
(2) การศึกษาทบทวนแนวสายทางให้ชัดเจน ได้แก่ โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ
(3) การปรับลดวงเงินลงทุนโครงการ ได้แก่ โครงการวงแหวนอุตสาหกรรม มีการเลื่อนระยะเวลาการดำเนินโครงการออกไปจากเดิม ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
ทั้งนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้พิจารณาทบทวนโครงการกลุ่มที่ 3 แล้วมีมติดังนี้
1. โครงการที่มีความล่าช้าในการดำเนินงานและเบิกจ่าย
- การเปลี่ยนรางในทางประธานเป็นรางเชื่อมยาวขนาด 100 ปอนด์/หลา ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 : เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลา เนื่องจากเป็นโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการเดินรถ
- โครงการจัดหาเรือขุดหัวสว่าน ขนาดท่อส่งดิน 20 นิ้ว จำนวน 4 ลำ : เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) เร่งรัดดำเนินการต่อ สร้างเรือขุดให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกองเรือขุดของกรมเจ้าท่า และการปฏิบัติงานขุดลอกบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลของไทย
2. โครงการที่มีข้อผูกพันด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- โครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย - เชียงราย สายบัวใหญ่ - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม และทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส : เห็นควรให้กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการเจรจาให้ได้ข้อยุติร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านในการวางแนวสายทางรถไฟ และความพร้อมที่จะดำเนินการทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อนำเสนอรายละเอียดโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งก่อนดำเนินโครงการต่อไป สำหรับโครงการทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างสตูล - เปอร์ลิส เห็นควรรอผลการพิจารณาของสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนดำเนินการต่อไป
3. โครงการที่มีประเด็นปัญหาในการดำเนินการ
1) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ : เห็นควรให้ชะลอโครงการไปก่อน เมื่อการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ศึกษาความเหมาะสมของแนวทางสายทาง N1 แล้วเสร็จ ควรทบทวนแผนการดำเนินงานทั้งโครงการพร้อมทั้งปรับวงเงินลงทุน ระยะเวลา และผลตอบแทนของโครงการ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบตามขั้นตอนก่อนที่จะดำเนินการต่อไป และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2544 ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อศึกษารายละเอียดความเหมาะสมของแนวสายทางตอน N1 ให้ชัดเจน ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2545
2) โครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - บางขุนเทียน - สมุทรสาคร (ช่วงดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอก) : เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาขยายช่องจราจรบริเวณทางขึ้น - ลงของทางด่วนขั้นที่ 1 บริเวณช่วงดาวคะนอง - สุขสวัสดิ์ เพื่อช่วยระบายการจราจรเข้า - ออก ถนนพระราม 2 (ธนบุรี - ปากท่อ) ซึ่งกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการขยายถนนเป็น 12 ช่องจราจร โดยจะแก้ไขปัญหาคอขวดบริเวณดังกล่าวได้ แทนการดำเนินโครงการทางด่วนสายดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอก ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ และหลีกเลี่ยงการลงทุนที่เกินความจำเป็น
3) โครงการทางด่วนสายพญาไท - พุทธมณฑล - นครปฐม (ทางพิเศษศรีรัช - วงแหวนรอบนอก หรือสายพญาไท - วงแหวนรอบนอกเดิม) : เห็นควรให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยศึกษาความเหมาะสมของแนวสายทางใหม่ที่จะเชื่อมต่อระบบทางด่วนขั้นที่ 2 ทดแทนสายทางเดิมเพื่อรองรับปริมาณจราจรในอนาคต
4) โครงการทางด่วนสายรามอินทรา - วงแหวนรอบนอก : เห็นควรให้ชะลอการดำเนินโครงการออกไปก่อน เนื่องจากการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ต้องเวนคืนเป็นจำนวนมาก มีผลกระทบต่อประชาชนและภาระต่อภาครัฐในการอุดหนุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
5) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน S1 (อาจณรงค์ - บางนา) : เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยเสนอรายละเอียดโครงการเพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งควรพิจารณาแก้ไขปัญหาระบบการจัดเก็บค่าผ่านทางควบคู่ไปด้วยเพื่อมิให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดบริเวณด่านเก็บค่าผ่านทาง
6) โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนอุตสาหกรรม : เห็นควรให้ดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้
7) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ - พระนั่งเกล้า และหัวลำโพง - บางแค): เห็นควรนำผลการศึกษาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบรางในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่องที่ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาระยะเวลาดำเนินการของโครงการให้เหมาะสมก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
8) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายชลบุรี - พัทยา และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายพัทยา - มาบตาพุด : เห็นควรให้กรมทางหลวงพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบของผู้ใช้ทางเดิมในปัจจุบัน และชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการดำเนินโครงการต่อผู้ใช้ทางเดิม และชุมชน
9) โครงการ กก - อิง - น่าน : เห็นควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการเมื่อผลการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-สส-