คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ไตรมาสที่ 3 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 (ตุลาคม 2543 - มิถุนายน 2544) มีจำนวนทั้งสิ้น 579,233 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.65 ของวงเงินงปบระมาณ ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.35 โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่
1.1 ความล่าช้าในการดำเนินงานโครงการลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากบางหน่วยงานไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมของแบบแปลนและพื้นที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มปีงบประมาณ ทำให้ต้องใช้เวลาในช่วงครึ่งปีแรกในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ รวมทั้งบางหน่วยงานที่มีโครงการที่เป็นงบผูกพัน จะมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีก่อนให้เสร็จก่อน จึงจะเริ่มเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2544 ได้ เนื่องจากเป็นการเบิกจ่ายตามงวดงาน
1.2 มาตรการของรัฐบาลบางมาตรการ เช่น การปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐลงร้อยละ 10 มาตรการปรับลดงบประมาณปี พ.ศ. 2544 จำนวน 11,844.3 ล้านบาท ซึ่งแม้จะมีส่วนช่วยให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ แต่ก็ส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ต้องใช้เวลาในการดำเนินการมากขึ้น
1.3 ความล่าช้าในการดำเนินงานตามโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีการจัดสรรเงินให้ถึง 32,368 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนถึง28,535 ล้านบาท แต่การจัดสรรงบประมาณเป็นการจัดสรรโดยใช้เกณฑ์พื้นที่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบต. ชั้น 4 - 5 ซึ่งมีความพร้อมต่ำ ทำให้การดำเนินงานตามโครงการถ่ายโอนฯ ในช่วงที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการดำเนินงานของโครงการถ่ายโอนฯ จะต้องผ่านขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างและขั้นตอนการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินหลายขั้นตอน ซึ่งใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณโครงการละ 1 - 2 เดือนต่อการขออนุมัติแต่ละครั้ง นอกจากนั้น ราคากลางที่กำหนดให้โครงการถ่ายโอนฯ เป็นราคาที่หาผู้รับเหมาได้ยาก (เป็นราคามาตรฐานที่ส่วนราชการ เช่น กรมโยธาธิการ กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เคยดำเนินการเอง ซึ่งต้นทุนต่ำกว่างานจ้างเหมา) และพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้เดิมไม่เหมาะสม ทำให้ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหามาก จึงทำให้การใช้จ่ายเงินโครงการถ่ายโอนฯ ต่ำ
2. สำหรับประมาณการผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเงินจำนวน 643,200 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.68ของวงเงินงบประมาณ และหากจะเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย คือร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณหรือประมาณ 819,000 ล้านบาท ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่ายเงินในช่วง 2 เดือนที่เหลือ (สิงหาคม 2544 - กันยายน 2544) อีกจำนวน175,800 ล้านบาท
3. กระทรวงการคลังได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2544 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ โดยได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนเกิน 1,000ล้านบาท มาร่วมประชุมหารือเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลแล้วหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 จากการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นคาดว่ามาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจะส่งผลมากยิ่งขึ้นในไตรมาสที่ 4ของปีงบประมาณ และส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจะสามารถเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2544 ให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
1. ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 (ตุลาคม 2543 - มิถุนายน 2544) มีจำนวนทั้งสิ้น 579,233 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63.65 ของวงเงินงปบระมาณ ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.35 โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย ได้แก่
1.1 ความล่าช้าในการดำเนินงานโครงการลงทุนของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากบางหน่วยงานไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมของแบบแปลนและพื้นที่ดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มปีงบประมาณ ทำให้ต้องใช้เวลาในช่วงครึ่งปีแรกในการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ รวมทั้งบางหน่วยงานที่มีโครงการที่เป็นงบผูกพัน จะมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีก่อนให้เสร็จก่อน จึงจะเริ่มเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2544 ได้ เนื่องจากเป็นการเบิกจ่ายตามงวดงาน
1.2 มาตรการของรัฐบาลบางมาตรการ เช่น การปรับลดราคากลางสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานของรัฐลงร้อยละ 10 มาตรการปรับลดงบประมาณปี พ.ศ. 2544 จำนวน 11,844.3 ล้านบาท ซึ่งแม้จะมีส่วนช่วยให้รัฐประหยัดค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ แต่ก็ส่งผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ต้องใช้เวลาในการดำเนินการมากขึ้น
1.3 ความล่าช้าในการดำเนินงานตามโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 มีการจัดสรรเงินให้ถึง 32,368 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนถึง28,535 ล้านบาท แต่การจัดสรรงบประมาณเป็นการจัดสรรโดยใช้เกณฑ์พื้นที่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบต. ชั้น 4 - 5 ซึ่งมีความพร้อมต่ำ ทำให้การดำเนินงานตามโครงการถ่ายโอนฯ ในช่วงที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการดำเนินงานของโครงการถ่ายโอนฯ จะต้องผ่านขั้นตอนการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างและขั้นตอนการขออนุมัติเบิกจ่ายเงินหลายขั้นตอน ซึ่งใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณโครงการละ 1 - 2 เดือนต่อการขออนุมัติแต่ละครั้ง นอกจากนั้น ราคากลางที่กำหนดให้โครงการถ่ายโอนฯ เป็นราคาที่หาผู้รับเหมาได้ยาก (เป็นราคามาตรฐานที่ส่วนราชการ เช่น กรมโยธาธิการ กรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท เคยดำเนินการเอง ซึ่งต้นทุนต่ำกว่างานจ้างเหมา) และพื้นที่เป้าหมายที่กำหนดไว้เดิมไม่เหมาะสม ทำให้ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหามาก จึงทำให้การใช้จ่ายเงินโครงการถ่ายโอนฯ ต่ำ
2. สำหรับประมาณการผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายเงินจำนวน 643,200 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.68ของวงเงินงบประมาณ และหากจะเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ให้เป็นไปตามเป้าหมาย คือร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณหรือประมาณ 819,000 ล้านบาท ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานและเบิกจ่ายเงินในช่วง 2 เดือนที่เหลือ (สิงหาคม 2544 - กันยายน 2544) อีกจำนวน175,800 ล้านบาท
3. กระทรวงการคลังได้ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2544 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ โดยได้เชิญหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนเกิน 1,000ล้านบาท มาร่วมประชุมหารือเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยเฉพาะงบลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลแล้วหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 จากการประเมินสถานการณ์เบื้องต้นคาดว่ามาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจะส่งผลมากยิ่งขึ้นในไตรมาสที่ 4ของปีงบประมาณ และส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจะสามารถเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2544 ให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-