แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีการกำหนดกลุ่มวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกเป็น 4 กลุ่มวิชาคือ (1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (2) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ (3) กลุ่มวิชาการเกษตร และ (4) กลุ่มวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี นอกจากนี้ มีการกำหนดสาขาด้าน วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเป็น 4 สาขา คือ (1) สาขาพลังงานนิวเคลียร์และการอนุรักษ์พลังงาน (2) สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ (3) สาขาการผลิต การควบคุม การจัดการสารเคมี และ (4) สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
2. กำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้สภาวิชาชีพฯ อาจมีรายได้จากค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และผลประโยชน์จากการจัดการเงินและทรัพย์สินและการดำเนินกิจการ รวมทั้งดอกผลของเงินและทรัพย์สิน ดังกล่าว
3. กำหนดองค์ประกอบของสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสิ้นสุดของสมาชิก สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก การประชุมของสมาชิก
4. ให้มีคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย นายกสภาวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งสมาชิกเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกเป็นประธานกรรมการ กรรมการซึ่งสมาชิกเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิก กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ คุณสมบัติของนายกสภาวิชาชีพฯ และกรรมการการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
5. กำหนดการดำเนินการของคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการในเรื่องที่มอบหมายได้ และกำหนดให้มีสำนักงานสภาวิชาชีพฯ ทำหน้าที่ธุรการต่าง ๆ ให้แก่คณะกรรมการ โดยให้นายกสภาวิชาชีพแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานสภาวิชาชีพฯ เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมรับผิดชอบงานธุรการและบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในสำนักงานสภาวิชาชีพฯ
6. กำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
7. ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมโดยมิได้รับอนุญาตจากสภาวิชาชีพฯ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพฯ ต้องเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร ระยะเวลา สถาน ฝึกอบรมที่กำหนดและต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพฯ รวมทั้งให้คณะกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดยกข้อกล่าวหา หรือลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง
8. กำหนดให้รัฐมนตรีผู้รักษามีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานของสภาวิชาชีพฯ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานได้ ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
9. กำหนดให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
10. ในระยะเริ่มแรกภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง คณะกรรมการคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการก่อตั้งเพื่อให้สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีการกำหนดกลุ่มวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีออกเป็น 4 กลุ่มวิชาคือ (1) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (2) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการแพทย์ (3) กลุ่มวิชาการเกษตร และ (4) กลุ่มวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี นอกจากนี้ มีการกำหนดสาขาด้าน วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมเป็น 4 สาขา คือ (1) สาขาพลังงานนิวเคลียร์และการอนุรักษ์พลังงาน (2) สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ (3) สาขาการผลิต การควบคุม การจัดการสารเคมี และ (4) สาขาอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
2. กำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้สภาวิชาชีพฯ อาจมีรายได้จากค่าจดทะเบียนสมาชิก ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และผลประโยชน์จากการจัดการเงินและทรัพย์สินและการดำเนินกิจการ รวมทั้งดอกผลของเงินและทรัพย์สิน ดังกล่าว
3. กำหนดองค์ประกอบของสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสิ้นสุดของสมาชิก สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก การประชุมของสมาชิก
4. ให้มีคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย นายกสภาวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งสมาชิกเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกเป็นประธานกรรมการ กรรมการซึ่งสมาชิกเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิก กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ คุณสมบัติของนายกสภาวิชาชีพฯ และกรรมการการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
5. กำหนดการดำเนินการของคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการในเรื่องที่มอบหมายได้ และกำหนดให้มีสำนักงานสภาวิชาชีพฯ ทำหน้าที่ธุรการต่าง ๆ ให้แก่คณะกรรมการ โดยให้นายกสภาวิชาชีพแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานสภาวิชาชีพฯ เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมรับผิดชอบงานธุรการและบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในสำนักงานสภาวิชาชีพฯ
6. กำหนดสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม
7. ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมโดยมิได้รับอนุญาตจากสภาวิชาชีพฯ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพฯ ต้องเข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตร ระยะเวลา สถาน ฝึกอบรมที่กำหนดและต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพฯ รวมทั้งให้คณะกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดยกข้อกล่าวหา หรือลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง
8. กำหนดให้รัฐมนตรีผู้รักษามีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานของสภาวิชาชีพฯ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานได้ ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
9. กำหนดให้มีบทกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
10. ในระยะเริ่มแรกภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้ง คณะกรรมการคณะหนึ่งเป็นคณะกรรมการก่อตั้งเพื่อให้สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--