ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่ขออนุมัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ และปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มีอำนาจอนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นเรื่องการมอบอำนาจอนุมัติก่อหนี้ผูกพันของคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23 วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้ส่วนราชการก่อหนี้ผูกพันเงินงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน แต่มิได้มีบทบัญญัติใดให้อำนาจคณะรัฐมนตรีมอบอำนาจในการพิจารณาอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ ให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานใด
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานว่า
1) การช่วยหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ของสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด และกรมประชาสงเคราะห์ได้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ข้อ 8 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 เรื่อง การใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเสมอมา ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติรายใหญ่จำเป็นจะต้องให้การช่วยเหลือราษฎรเกินวงเงินทดรองราชการที่กำหนดกรมประชาสงเคราะห์จะขออนุมัติเงินงบกลางจากสำนักงบประมาณ ภายในวงเงิน 10,000,000 บาท หรือขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
2) เนื่องจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วทั่วถึง และทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเป็นภัยพิบัติรายใหญ่ เช่น อุทกภัย และวาตภัย ซึ่งมีราษฎรประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากแต่หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด และกรมประชาสงเคราะห์จำเป็นต้องหยุดชะงักการช่วยเหลือเนื่องจากหมดวงเงินทดรองราชการ และต้องรอเงินสนับสนุนจากสำนักงบประมาณ หรือคณะรัฐมนตรี ทำให้เกิดภาวะสูญญากาศของการช่วยเหลือ จึงเป็นภาระหนักของสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด รวมทั้งส่วนกลางที่จะต้องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในระยะฉุกเฉินของราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ
3) กรณีอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ถึง 24 กรกฎาคม 2543 จังหวัดที่มีราษฎรประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก คือ จังหวัดอุดรธานี ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ซึ่งจังหวัดดังกล่าวได้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรโดยใช้เงินทดรองราชการ ตามระเบียบ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับกรมไปแล้ว แต่ไม่เพียงพอกับสภาพปัญหาความเดือดร้อน อีกทั้งยังมีความจำเป้นเร่งด่วนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ที่ประสบภัยให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดจึงได้ดำเนินการจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือราษฎรไปก่อนในขณะที่ยังไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ดังนี้
(1) จังหวัดอุดรธานี ช่วยเหลือราษฎร 80,889 ครอบครัว เป็นเงิน 20,222,250 บาท
(2) จังหวัดร้อยเอ็ด ช่วยเหลือราษฎร 13,197 ครอบครัว เป็นเงิน 5,014,860 บาท
(3) จังหวัดมหาสารคาม ช่วยเหลือราษฎร 300 ครอบครัว เป็นเงิน 107,190 บาท
2. อนุมัติให้จังหวัดอุดรธานี ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ซึ่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านประชาสงเคราะห์ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดได้เป็นกรณีพิเศษ วงเงิน 25,344,300 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบตามความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่าข้อเสนอของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมที่ขออนุมัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัด อธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ และปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม มีอำนาจอนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านประชาสงเคราะห์ ซึ่งเป็นเรื่องการมอบอำนาจอนุมัติก่อหนี้ผูกพันของคณะรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 23 วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้ส่วนราชการก่อหนี้ผูกพันเงินงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดในกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน แต่มิได้มีบทบัญญัติใดให้อำนาจคณะรัฐมนตรีมอบอำนาจในการพิจารณาอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณฯ ให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานใด
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานว่า
1) การช่วยหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ของสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด และกรมประชาสงเคราะห์ได้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ข้อ 8 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 เรื่อง การใช้จ่ายเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเสมอมา ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติรายใหญ่จำเป็นจะต้องให้การช่วยเหลือราษฎรเกินวงเงินทดรองราชการที่กำหนดกรมประชาสงเคราะห์จะขออนุมัติเงินงบกลางจากสำนักงบประมาณ ภายในวงเงิน 10,000,000 บาท หรือขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
2) เนื่องจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็วทั่วถึง และทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเป็นภัยพิบัติรายใหญ่ เช่น อุทกภัย และวาตภัย ซึ่งมีราษฎรประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมากแต่หน่วยงานหลัก คือ สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด และกรมประชาสงเคราะห์จำเป็นต้องหยุดชะงักการช่วยเหลือเนื่องจากหมดวงเงินทดรองราชการ และต้องรอเงินสนับสนุนจากสำนักงบประมาณ หรือคณะรัฐมนตรี ทำให้เกิดภาวะสูญญากาศของการช่วยเหลือ จึงเป็นภาระหนักของสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัด รวมทั้งส่วนกลางที่จะต้องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในระยะฉุกเฉินของราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ
3) กรณีอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน ถึง 24 กรกฎาคม 2543 จังหวัดที่มีราษฎรประสบความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก คือ จังหวัดอุดรธานี ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ซึ่งจังหวัดดังกล่าวได้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรโดยใช้เงินทดรองราชการ ตามระเบียบ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับกรมไปแล้ว แต่ไม่เพียงพอกับสภาพปัญหาความเดือดร้อน อีกทั้งยังมีความจำเป้นเร่งด่วนที่จะต้องให้ความช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ที่ประสบภัยให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดจึงได้ดำเนินการจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือราษฎรไปก่อนในขณะที่ยังไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ดังนี้
(1) จังหวัดอุดรธานี ช่วยเหลือราษฎร 80,889 ครอบครัว เป็นเงิน 20,222,250 บาท
(2) จังหวัดร้อยเอ็ด ช่วยเหลือราษฎร 13,197 ครอบครัว เป็นเงิน 5,014,860 บาท
(3) จังหวัดมหาสารคาม ช่วยเหลือราษฎร 300 ครอบครัว เป็นเงิน 107,190 บาท
2. อนุมัติให้จังหวัดอุดรธานี ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ซึ่งช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านประชาสงเคราะห์ก่อหนี้ผูกพันงบประมาณก่อนได้รับเงินประจำงวดได้เป็นกรณีพิเศษ วงเงิน 25,344,300 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-