คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานกิจการ งบดุล และงบรายได้ค่าใช้จ่ายขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) สำหรับงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2543 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรับรองแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โดยมีทุนประเดิม 500 ล้านบาท และมีวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงาน 3 ประการ คือ
1.1 แก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่จะถูกระงับการดำเนินกิจการโดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
1.2 ช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
1.3 ขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
2. งบดุลและงบรายได้ค่าใช้จ่าย
2.1 งบดุล ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน จำนวน 2,024.34 ล้านบาท อุปกรณ์สุทธิจำนวน 14.41ล้านบาท และสินทรัพย์อื่นจำนวน 4.35 ล้านบาท รวมเป็นสินทรัพย์ทั้งสิ้นจำนวน 2,043.10 ล้านบาท หนี้สินหมุนเวียนจำนวน 49.62 ล้านบาท หนี้สินอื่นจำนวน 1.34 ล้านบาท และส่วนของทุนจำนวน 1,992.14 ล้านบาท
ปรส. มีหนี้สินที่อาจจะเกิดในภายหน้า เนื่องจากถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมในคดีต่าง ๆ จำนวน 20 คดีให้ ปรส. ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายรวมประมาณ 1,552.93 ล้านบาท
2.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยรายได้จำนวน 41.34 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจำนวน 81.76 ล้านบาทและค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ 40.42 ล้านบาท
รายได้ของ ปรส. เกิดจากการจำหน่ายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการประกอบด้วยสินทรัพย์ คือ รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เงินลงทุน และอื่น ๆ จำนวน 137.58 ล้านบาท และ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 ของราคาที่ขายได้คิดเป็นจำนวนเงิน 8.53 ล้านบาท ส่วนรายได้ที่เหลือเป็นรายได้จากการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในปี 2542 ที่รับรู้ค่าที่ปรึกษาและค่าสอบบัญชีสูงกว่าที่จ่ายจริง จำนวน 1.26 ล้านบาท
3. รายงานกิจการของ ปรส. ประจำงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2543 โดยจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ปรส. ในข้อ 1 ปรส. ได้ดำเนินกิจการต่าง ๆ แล้วดังนี้
3.1 การจำหน่ายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง โดยสินทรัพย์หลัก มูลค่าตามบัญชีที่จำหน่ายแล้ว 600,243.70 ล้านบาท ปรส. ขายโดยวิธีประมูล เป็นเงิน 150,026.27 ล้านบาท สินทรัพย์ที่มิใช่สินทรัพย์หลัก มูลค่าตามบัญชี 74,012.70 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2543 ปรส. ขายโดยวิธีประมูล เป็นเงิน 34,986.90 ล้านบาท
ณ วันที่ 29 กันยายน 2543 สถาบันการเงิน 56 แห่ง มีเงินฝากและเงินลงทุนระยะสั้นจำนวนรวม263,060.69 ล้านบาท
สินทรัพย์ที่เหลือประมาณ 118,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับการตัดสินคดีแล้วลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างฟ้องร้องคดี ลูกหนี้ที่ขอชำระหนี้ปิดบัญชี และบางส่วนอยู่ระหว่างการติดตามหนี้รวมถึงสินทรัพย์รองจำนวนหนึ่ง ซึ่งสถาบันการเงินจะติดตามหนี้ให้ได้มากที่สุด ที่เหลือจะนำเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายล้มละลายต่อไป
3.2 การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ โดย ปรส. ได้อนุมัติคำขอชำระหนี้ปิดบัญชี โดยผ่อนผันการคิดดอกเบี้ย จำนวน 1,886 ราย เป็นเงิน 6,300 ล้านบาท และการตีโอนทรัพย์สินชำระหนี้ จำนวน 2 ราย เป็นเงิน 33 ล้านบาท
3.3 การลดขนาดสถาบันการเงิน 56 แห่ง เนื่องจากสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ถูกระงับการดำเนินกิจการและต้องชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการในที่สุด ดังนั้น เมื่อมีการขายทรัพย์สินต่าง ๆ ของสถาบันการเงินออกไป ปริมาณงานของสถาบันการเงินต่าง ๆ จะลดลงตามลำดับ ปรส. โดยความร่วมมือของประธานกรรมการ จะทำการลดจำนวนพนักงานและพื้นที่สำนักงานของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งลง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้มากที่สุด
ข้อมูลการลดขนาดของสถาบันการเงิน 56 แห่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 เปรียบเทียบกับ8 ธันวาคม 2540 ดังนี้
1) จำนวนพนักงานลดลงจาก 8,816 คน เหลือ 1,306 คน ลดลง 7,510 คน หรือลดลงร้อยละ 85
2) พื้นที่สำนักงานลดลงจาก 193,970 ตารางเมตร เหลือ 29,174 ตารางเมตร หรือลดลงร้อยละ85 โดยจะทยอยย้ายที่ทำการของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง มาอยู่รวมกันใน 3 อาคาร คือ อาคารซีมิค ซอยอโศก ถนนสุขุมวิท อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ ถนนราชดำริ และอาคารวานิสสา ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต
3) ค่าเช่าและค่าบริการรายเดือนลดลงจากเดือนละ 70.84 ล้านบาท เหลือเดือนละ 6.82 ล้านบาทลดลงเดือนละ 64.02 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 90
3.4 การจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้และการเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายล้มละลาย
1) คณะกรรมการ ปรส. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยหนี้และจัดสรรเงินคืน ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทน ปรส. ผู้เชี่ยวชาญทางบัญชีและผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนรวม 8 คน และที่ปรึกษาอนุกรรมการอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยยอดหนี้ที่พึงขอรับชำระได้ของเจ้าหนี้แต่ละราย ซึ่งขณะนี้ได้วินิจฉัยหนี้เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว
2) ผลการวินิจฉัยหนี้จะต้องส่งให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการ ปรส. อนุมัติและแจ้งเจ้าหนี้ต่อไป
3) ปรส. จะทยอยจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ตามกระบวนการของ ปรส. จากนั้นนำบริษัทต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรับหน้าที่จัดการสินทรัพย์เหล่านั้นต่อไป
4) ปัจจุบันมีบริษัทเงินทุน 5 แห่ง ที่ได้โอนหน้าที่การจัดการสินทรัพย์ไปให้กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เนื่องจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ บริษัทเงินทุนเอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน)บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นครหลวงเครดิต จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สยามซิตี้ ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนธนมาส จำกัด
5) ปรส. จะให้ผู้ชำระบัญชียื่นขอให้ศาลสั่งล้มละลายบริษัทดังกล่าว เนื่องจากมีเจ้าหนี้บางรายได้ฟ้องร้องคดี และดำเนินการบังคับคดีเพื่อหวังจะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดและก่อนเจ้าหนี้อื่น ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้รายอื่นโดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ดังนั้น เพื่อให้เจ้าหนี้ทุกรายได้รับการเฉลี่ยหนี้ตามสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน ปรส. จึงนำบริษัทนี้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จะไม่มีเจ้าหนี้รายใดมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้อื่น แม้แต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม
6) ปรส. ทยอยจัดประชุมเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน 51 แห่ง เพื่อแจ้งยอดหนี้สุดท้ายที่จะจัดสรรให้เจ้าหนี้แต่ละราย สัดส่วนและเงินที่จะได้รับชำระคืน พร้อมทั้งกำหนดวันที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ โดยจะมีทั้งที่เป็นเงินสดตั๋วสัญญาใช้เงินของ บบส. และการแบ่งผลประโยชน์ตามสัญญา Profit Sharing และ Cashflow Sharing
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 3 เม.ย.2544
-สส-
1. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โดยมีทุนประเดิม 500 ล้านบาท และมีวัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงาน 3 ประการ คือ
1.1 แก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่จะถูกระงับการดำเนินกิจการโดยคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
1.2 ช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
1.3 ขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
2. งบดุลและงบรายได้ค่าใช้จ่าย
2.1 งบดุล ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน จำนวน 2,024.34 ล้านบาท อุปกรณ์สุทธิจำนวน 14.41ล้านบาท และสินทรัพย์อื่นจำนวน 4.35 ล้านบาท รวมเป็นสินทรัพย์ทั้งสิ้นจำนวน 2,043.10 ล้านบาท หนี้สินหมุนเวียนจำนวน 49.62 ล้านบาท หนี้สินอื่นจำนวน 1.34 ล้านบาท และส่วนของทุนจำนวน 1,992.14 ล้านบาท
ปรส. มีหนี้สินที่อาจจะเกิดในภายหน้า เนื่องจากถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมในคดีต่าง ๆ จำนวน 20 คดีให้ ปรส. ร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายรวมประมาณ 1,552.93 ล้านบาท
2.2 งบรายได้ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยรายได้จำนวน 41.34 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายจำนวน 81.76 ล้านบาทและค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ 40.42 ล้านบาท
รายได้ของ ปรส. เกิดจากการจำหน่ายสินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการประกอบด้วยสินทรัพย์ คือ รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ เงินลงทุน และอื่น ๆ จำนวน 137.58 ล้านบาท และ ปรส. ได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 1 ของราคาที่ขายได้คิดเป็นจำนวนเงิน 8.53 ล้านบาท ส่วนรายได้ที่เหลือเป็นรายได้จากการปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในปี 2542 ที่รับรู้ค่าที่ปรึกษาและค่าสอบบัญชีสูงกว่าที่จ่ายจริง จำนวน 1.26 ล้านบาท
3. รายงานกิจการของ ปรส. ประจำงวด 6 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2543 โดยจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ปรส. ในข้อ 1 ปรส. ได้ดำเนินกิจการต่าง ๆ แล้วดังนี้
3.1 การจำหน่ายสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน 56 แห่ง โดยสินทรัพย์หลัก มูลค่าตามบัญชีที่จำหน่ายแล้ว 600,243.70 ล้านบาท ปรส. ขายโดยวิธีประมูล เป็นเงิน 150,026.27 ล้านบาท สินทรัพย์ที่มิใช่สินทรัพย์หลัก มูลค่าตามบัญชี 74,012.70 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2543 ปรส. ขายโดยวิธีประมูล เป็นเงิน 34,986.90 ล้านบาท
ณ วันที่ 29 กันยายน 2543 สถาบันการเงิน 56 แห่ง มีเงินฝากและเงินลงทุนระยะสั้นจำนวนรวม263,060.69 ล้านบาท
สินทรัพย์ที่เหลือประมาณ 118,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับการตัดสินคดีแล้วลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างฟ้องร้องคดี ลูกหนี้ที่ขอชำระหนี้ปิดบัญชี และบางส่วนอยู่ระหว่างการติดตามหนี้รวมถึงสินทรัพย์รองจำนวนหนึ่ง ซึ่งสถาบันการเงินจะติดตามหนี้ให้ได้มากที่สุด ที่เหลือจะนำเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายล้มละลายต่อไป
3.2 การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ โดย ปรส. ได้อนุมัติคำขอชำระหนี้ปิดบัญชี โดยผ่อนผันการคิดดอกเบี้ย จำนวน 1,886 ราย เป็นเงิน 6,300 ล้านบาท และการตีโอนทรัพย์สินชำระหนี้ จำนวน 2 ราย เป็นเงิน 33 ล้านบาท
3.3 การลดขนาดสถาบันการเงิน 56 แห่ง เนื่องจากสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ถูกระงับการดำเนินกิจการและต้องชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการในที่สุด ดังนั้น เมื่อมีการขายทรัพย์สินต่าง ๆ ของสถาบันการเงินออกไป ปริมาณงานของสถาบันการเงินต่าง ๆ จะลดลงตามลำดับ ปรส. โดยความร่วมมือของประธานกรรมการ จะทำการลดจำนวนพนักงานและพื้นที่สำนักงานของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่งลง เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้มากที่สุด
ข้อมูลการลดขนาดของสถาบันการเงิน 56 แห่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 เปรียบเทียบกับ8 ธันวาคม 2540 ดังนี้
1) จำนวนพนักงานลดลงจาก 8,816 คน เหลือ 1,306 คน ลดลง 7,510 คน หรือลดลงร้อยละ 85
2) พื้นที่สำนักงานลดลงจาก 193,970 ตารางเมตร เหลือ 29,174 ตารางเมตร หรือลดลงร้อยละ85 โดยจะทยอยย้ายที่ทำการของสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง มาอยู่รวมกันใน 3 อาคาร คือ อาคารซีมิค ซอยอโศก ถนนสุขุมวิท อาคาร เอส จี ทาวเวอร์ ถนนราชดำริ และอาคารวานิสสา ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต
3) ค่าเช่าและค่าบริการรายเดือนลดลงจากเดือนละ 70.84 ล้านบาท เหลือเดือนละ 6.82 ล้านบาทลดลงเดือนละ 64.02 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 90
3.4 การจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้และการเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายล้มละลาย
1) คณะกรรมการ ปรส. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยหนี้และจัดสรรเงินคืน ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทน ปรส. ผู้เชี่ยวชาญทางบัญชีและผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนรวม 8 คน และที่ปรึกษาอนุกรรมการอีก 2 คน เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยยอดหนี้ที่พึงขอรับชำระได้ของเจ้าหนี้แต่ละราย ซึ่งขณะนี้ได้วินิจฉัยหนี้เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว
2) ผลการวินิจฉัยหนี้จะต้องส่งให้คณะกรรมการของสถาบันการเงินตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการ ปรส. อนุมัติและแจ้งเจ้าหนี้ต่อไป
3) ปรส. จะทยอยจัดสรรเงินคืนเจ้าหนี้ตามกระบวนการของ ปรส. จากนั้นนำบริษัทต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรับหน้าที่จัดการสินทรัพย์เหล่านั้นต่อไป
4) ปัจจุบันมีบริษัทเงินทุน 5 แห่ง ที่ได้โอนหน้าที่การจัดการสินทรัพย์ไปให้กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เนื่องจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ได้แก่ บริษัทเงินทุนเอเชียธนกิจ จำกัด (มหาชน)บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์นครหลวงเครดิต จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอส ซี เอฟ จำกัด (มหาชน) บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สยามซิตี้ ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และบริษัทเงินทุนธนมาส จำกัด
5) ปรส. จะให้ผู้ชำระบัญชียื่นขอให้ศาลสั่งล้มละลายบริษัทดังกล่าว เนื่องจากมีเจ้าหนี้บางรายได้ฟ้องร้องคดี และดำเนินการบังคับคดีเพื่อหวังจะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดและก่อนเจ้าหนี้อื่น ซึ่งไม่เป็นธรรมกับเจ้าหนี้รายอื่นโดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ ดังนั้น เพื่อให้เจ้าหนี้ทุกรายได้รับการเฉลี่ยหนี้ตามสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน ปรส. จึงนำบริษัทนี้เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย และเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จะไม่มีเจ้าหนี้รายใดมีสิทธิเหนือเจ้าหนี้อื่น แม้แต่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ตาม
6) ปรส. ทยอยจัดประชุมเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน 51 แห่ง เพื่อแจ้งยอดหนี้สุดท้ายที่จะจัดสรรให้เจ้าหนี้แต่ละราย สัดส่วนและเงินที่จะได้รับชำระคืน พร้อมทั้งกำหนดวันที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ โดยจะมีทั้งที่เป็นเงินสดตั๋วสัญญาใช้เงินของ บบส. และการแบ่งผลประโยชน์ตามสัญญา Profit Sharing และ Cashflow Sharing
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 3 เม.ย.2544
-สส-