ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 และเห็นชอบนโยบายน้ำของชาติ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์) ประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบายน้ำของชาติ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติจัดทำแผนปฏิบัติงานโดยละเอียด และเป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงาน
ทั้งนี้ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2543 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2543ที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ พร้อมทั้งมีมติ ดังนี้
ที่ประชุมมีมติรับทราบ 1) รายงานสรุปสถานการณ์น้ำ 2) รายงานการประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาในแม่น้ำท่าจีน และ 4) การจัดตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำ (ลุ่มน้ำมูลตอนบนและลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา)
นโยบายน้ำของชาติได้นำแนวทางการบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสานมาใช้ โดยมีกรอบแนวคิดในการกำหนดเป็นนโยบายแต่ละด้าน ซึ่งประกอบด้วย องค์กร กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำการพัฒนาจัดหาน้ำต้นทุน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดสรรการใช้น้ำ และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการได้รับบริการ รวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องน้ำและการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นแนวทางหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นโยบายน้ำของชาติ มีดังนี้
1. เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำเป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
2. จัดให้มีองค์กรเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในระดับชาติ ในระดับลุ่มน้ำและระดับท้องถิ่นที่มีกฎหมายรองรับ
3. เน้นการจัดสรรน้ำที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับการใช้น้ำด้านต่าง ๆ ทั้งเพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานด้านเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภค
4. กำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการจัดหาน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำ
5. จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
6. พัฒนาและบรรจุความรู้เรื่องน้ำในหลักสูตรของทุกระดับการศึกษา
7. สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมพร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วม สิทธิและหน้าที่อย่างชัดเจนของประชาชน องค์กรเอกชนและหน่วยงานของรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างชัดเจน
8. เร่งรัดให้มีการวางแผนการบรรเทาและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
9. สนับสนุนงบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติตามนโยบาย รวมทั้งการวิจัย การประชาสัมพันธ์ การรวบรวมข้อมูลข่าวสารและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับเรื่องน้ำต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
เนื่องจากนโยบายน้ำของชาติเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกลุ่มน้ำอย่างจริงจัง จึงควรพิจารณาข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ ในหลายประเด็นเพิ่มเติมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 และเห็นชอบนโยบายน้ำของชาติ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์) ประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบายน้ำของชาติ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติจัดทำแผนปฏิบัติงานโดยละเอียด และเป็นหน่วยงานกลางในการประสานการดำเนินงาน
ทั้งนี้ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้มีการประชุมครั้งที่ 3/2543 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2543ที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ พร้อมทั้งมีมติ ดังนี้
ที่ประชุมมีมติรับทราบ 1) รายงานสรุปสถานการณ์น้ำ 2) รายงานการประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาในแม่น้ำท่าจีน และ 4) การจัดตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการลุ่มน้ำ (ลุ่มน้ำมูลตอนบนและลุ่มน้ำคลองท่าตะเภา)
นโยบายน้ำของชาติได้นำแนวทางการบริหารจัดการน้ำแบบผสมผสานมาใช้ โดยมีกรอบแนวคิดในการกำหนดเป็นนโยบายแต่ละด้าน ซึ่งประกอบด้วย องค์กร กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำการพัฒนาจัดหาน้ำต้นทุน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดสรรการใช้น้ำ และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการได้รับบริการ รวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องน้ำและการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและบรรเทาปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นแนวทางหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นโยบายน้ำของชาติ มีดังนี้
1. เร่งรัดให้มีพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำเป็นกฎหมายหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
2. จัดให้มีองค์กรเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งในระดับชาติ ในระดับลุ่มน้ำและระดับท้องถิ่นที่มีกฎหมายรองรับ
3. เน้นการจัดสรรน้ำที่เหมาะสมและเป็นธรรมสำหรับการใช้น้ำด้านต่าง ๆ ทั้งเพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานด้านเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภค
4. กำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการจัดหาน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำ
5. จัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
6. พัฒนาและบรรจุความรู้เรื่องน้ำในหลักสูตรของทุกระดับการศึกษา
7. สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมพร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วม สิทธิและหน้าที่อย่างชัดเจนของประชาชน องค์กรเอกชนและหน่วยงานของรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างชัดเจน
8. เร่งรัดให้มีการวางแผนการบรรเทาและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
9. สนับสนุนงบประมาณสำหรับแผนปฏิบัติตามนโยบาย รวมทั้งการวิจัย การประชาสัมพันธ์ การรวบรวมข้อมูลข่าวสารและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับเรื่องน้ำต่อสาธารณชนอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง
เนื่องจากนโยบายน้ำของชาติเป็นการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกลุ่มน้ำอย่างจริงจัง จึงควรพิจารณาข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ ในหลายประเด็นเพิ่มเติมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-