คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงบประมาณรายงานสรุปผลการบริหารงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
1. การอนุมัติเงินประจำงวดจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 สำหรับปีงบประมาณ 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 869,449.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.6 ของวงเงินงบประมาณจำนวน 910,000 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ปีงบประมาณ 2544 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 จำนวน 508,983.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.9 ของวงเงินงบประมาณ และจากรายงานการเบิกจ่ายจริงเบื้องต้น โดยกรมบัญชีกลาง ปรากฏว่าจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2544 มีการเบิกจ่ายจำนวน 533,251.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.6 ของวงเงินงบประมาณ
2. การอนุมัติเงินประจำงวดปีงบประมาณ 2544 ของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 31,931.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.7 ของวงเงินงบประมาณจำนวน 32,339.6 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 มีจำนวน 11,158.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.5 ของวงเงินงบประมาณ และข้อมูลการเบิกจ่ายจริงเบื้องต้น โดยกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2544 มีจำนวน 12,508.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.7 ของวงเงินงบประมาณ
16. เรื่อง อนุมัติขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้องค์การสวนยางขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพาราระยะที่ 3 4 5 และ 6 จำนวน 7 วงเงิน เป็นเงิน 13,800 ล้านบาท ออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2545 โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน และให้องค์การสวนยางนำเงินวงเงินกู้ส่วนที่เหลือของวงเงิน 1,000 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท งวดที่ 1 ใช้เป็นค่าดำเนินการโครงการฯ และชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2544 โดยไม่ต้องกู้เงินเพิ่มเติม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. องค์การสวนยางกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ตั้งแต่ปี 2535 - 30 มิถุนายน 2544 จำนวน 12 วงเงิน เป็นเงินกู้ 19,004 ล้านบาท และได้ดำเนินการแทรกแซงตลาดยาง โดยซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรงและจ้างเอกชนรมควัน และจัดเก็บในโกดังเพื่อดำเนินการขายยางต่อไป มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 32,295.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่กว่าสามในสี่ (ร้อยละ 76.3) เป็นเงินที่จ่ายค่ายางให้กับเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเกษตรกรได้รับประโยชน์ แยกเป็นค่าซื้อยางจากเกษตรกร 24,641.5 ล้านบาท ร้อยละ 76.3 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 1,806.5 ล้านบาท ร้อยละ 5.6 ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ 5,847.5 ล้านบาท ร้อยละ 18.1 รวมเป็นเงิน 32,295 ล้านบาท ร้อยละ 100
2. องค์การสวนยางคาดว่ามีรายได้จากการดำเนินโครงการ 20,405.6 ล้านบาท แยกเป็นเงินจากการขายยาง เป็นเงิน 17,485.4 ล้านบาท และมูลค่ายางในสต็อก (116,800 ตัน) ประเมินราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท เป็นเงิน 2,920.2 ล้านบาท และจากการดำเนินงานดังกล่าวคาดว่าองค์การสวนยางมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เป็นเงิน 11,889.96 ล้านบาท และเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49.2) เป็นการขาดทุนจากดอกเบี้ย แยกเป็นจากการดำเนินงาน 1,806.52 ล้านบาท ร้อยละ 15.2 ดอกเบี้ยเงินกู้ 5,847.53 ล้านบาท ร้อยละ 49.2 ส่วนต่างราคา ซื้อ - ขาย 4,235.91 ล้านบาท ร้อยละ 35.6 รวมเป็นเงิน 11,889.96 ล้านบาท ร้อยละ 100
3. องค์การสวนยางต้องเร่งปิดบัญชีโครงการฯ ระยะที่ 3 - 6 ส่วนที่เหลือซึ่งมีวงเงินกู้รวม 7 วงเงิน เป็นเงิน 13,800 ล้านบาท และปิดบัญชีการขายยางในสต็อก จำนวน 116,800 ตัน เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรอง กรณีมีการขาดทุนและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานโครงการ จะได้ของบประมาณปี 2546 ชดเชยเพื่อเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะสามารถเบิกจ่ายและชำระคืนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2546
4. การขยายระยะเวลาของวงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพาราทำให้องค์การสวนยางสามารถขายตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปได้ จนกว่าจะนำรายได้จากการขายยางและเงินงบประมาณมาชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราที่เกิดขึ้น อันจะทำให้ไม่ต้องเสียค่าเบี้ยปรับเนื่องจากผิดกำหนดชำระ ซึ่งจะลดภาระของรัฐได้ประมาณเดือนละ 140 ล้านบาท และทำให้ไม่เกิดปัญหา NPL จำนวน 12,350.26 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตลอดจนไม่กระทบต่อเสถียรภาพของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 ก.ค.44--
-สส-
1. การอนุมัติเงินประจำงวดจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 สำหรับปีงบประมาณ 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 869,449.3 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.6 ของวงเงินงบประมาณจำนวน 910,000 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ปีงบประมาณ 2544 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 จำนวน 508,983.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.9 ของวงเงินงบประมาณ และจากรายงานการเบิกจ่ายจริงเบื้องต้น โดยกรมบัญชีกลาง ปรากฏว่าจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2544 มีการเบิกจ่ายจำนวน 533,251.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.6 ของวงเงินงบประมาณ
2. การอนุมัติเงินประจำงวดปีงบประมาณ 2544 ของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 31,931.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.7 ของวงเงินงบประมาณจำนวน 32,339.6 ล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2544 มีจำนวน 11,158.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 34.5 ของวงเงินงบประมาณ และข้อมูลการเบิกจ่ายจริงเบื้องต้น โดยกรมบัญชีกลาง เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2544 มีจำนวน 12,508.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 38.7 ของวงเงินงบประมาณ
16. เรื่อง อนุมัติขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้องค์การสวนยางขยายระยะเวลาการใช้วงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพาราระยะที่ 3 4 5 และ 6 จำนวน 7 วงเงิน เป็นเงิน 13,800 ล้านบาท ออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2545 โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน และให้องค์การสวนยางนำเงินวงเงินกู้ส่วนที่เหลือของวงเงิน 1,000 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท งวดที่ 1 ใช้เป็นค่าดำเนินการโครงการฯ และชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2544 โดยไม่ต้องกู้เงินเพิ่มเติม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. องค์การสวนยางกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้ในโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ตั้งแต่ปี 2535 - 30 มิถุนายน 2544 จำนวน 12 วงเงิน เป็นเงินกู้ 19,004 ล้านบาท และได้ดำเนินการแทรกแซงตลาดยาง โดยซื้อยางจากเกษตรกรโดยตรงและจ้างเอกชนรมควัน และจัดเก็บในโกดังเพื่อดำเนินการขายยางต่อไป มีค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 32,295.5 ล้านบาท ส่วนใหญ่กว่าสามในสี่ (ร้อยละ 76.3) เป็นเงินที่จ่ายค่ายางให้กับเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเกษตรกรได้รับประโยชน์ แยกเป็นค่าซื้อยางจากเกษตรกร 24,641.5 ล้านบาท ร้อยละ 76.3 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 1,806.5 ล้านบาท ร้อยละ 5.6 ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ 5,847.5 ล้านบาท ร้อยละ 18.1 รวมเป็นเงิน 32,295 ล้านบาท ร้อยละ 100
2. องค์การสวนยางคาดว่ามีรายได้จากการดำเนินโครงการ 20,405.6 ล้านบาท แยกเป็นเงินจากการขายยาง เป็นเงิน 17,485.4 ล้านบาท และมูลค่ายางในสต็อก (116,800 ตัน) ประเมินราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท เป็นเงิน 2,920.2 ล้านบาท และจากการดำเนินงานดังกล่าวคาดว่าองค์การสวนยางมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เป็นเงิน 11,889.96 ล้านบาท และเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49.2) เป็นการขาดทุนจากดอกเบี้ย แยกเป็นจากการดำเนินงาน 1,806.52 ล้านบาท ร้อยละ 15.2 ดอกเบี้ยเงินกู้ 5,847.53 ล้านบาท ร้อยละ 49.2 ส่วนต่างราคา ซื้อ - ขาย 4,235.91 ล้านบาท ร้อยละ 35.6 รวมเป็นเงิน 11,889.96 ล้านบาท ร้อยละ 100
3. องค์การสวนยางต้องเร่งปิดบัญชีโครงการฯ ระยะที่ 3 - 6 ส่วนที่เหลือซึ่งมีวงเงินกู้รวม 7 วงเงิน เป็นเงิน 13,800 ล้านบาท และปิดบัญชีการขายยางในสต็อก จำนวน 116,800 ตัน เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบและรับรอง กรณีมีการขาดทุนและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานโครงการ จะได้ของบประมาณปี 2546 ชดเชยเพื่อเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะสามารถเบิกจ่ายและชำระคืนธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2546
4. การขยายระยะเวลาของวงเงินกู้โครงการแทรกแซงตลาดยางพาราทำให้องค์การสวนยางสามารถขายตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปได้ จนกว่าจะนำรายได้จากการขายยางและเงินงบประมาณมาชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราที่เกิดขึ้น อันจะทำให้ไม่ต้องเสียค่าเบี้ยปรับเนื่องจากผิดกำหนดชำระ ซึ่งจะลดภาระของรัฐได้ประมาณเดือนละ 140 ล้านบาท และทำให้ไม่เกิดปัญหา NPL จำนวน 12,350.26 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตลอดจนไม่กระทบต่อเสถียรภาพของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 ก.ค.44--
-สส-