ทำเนียบรัฐบาล--11 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
อนุมัติให้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เกี่ยวกับการดำเนินการของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในการปรับโครงสร้างหนี้บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) ดังนี้
1. รับทราบว่า ATC ได้ศึกษาโครงการขยายกำลังการผลิต และโครงการต่อเนื่องเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจากโครงการขยายกำลังการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และหาผู้ร่วมทุน หรือจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ ปตท. จะสนับสนุนการลงทุนหากโครงการให้ผลตอบแทนคุ้มค่า สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ ATC ในครั้งนี้ จะทำให้ลดภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เป็นเงินต้นประมาณ 389 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้บรรยากาศการลงทุนในประเทศดีขึ้น
2. อนุมัติให้ ปตท. เข้าร่วมกับผู้ถือหุ้นหลักรายอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติตามภาระผูกพันเดิมที่ให้ไว้กับเจ้าหนี้ ATC ในสัญญาให้การสนับสนุนของผู้ถือหุ้น (Shareholders Support Agreement - SSA) วงเงินทั้งสิ้น 210 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนของ ปตท. คิดเป็นเงิน 148.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. อนุมัติให้ ปตท. ให้วงเงินสำรองฉุกเฉิน (Contingency Support) ผ่านธุรกรรมการค้า จำนวน 90ล้านเหรียญสหรัฐฯ และขยายระยะเวลาสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์พาราไซลีนเท่าอายุหนี้ของ ATC ที่เจ้าหนี้ขยายออกไป
4. ในกรณีที่ ปตท. ดำเนินการตามภาระผูกพันที่ได้ให้ไว้กับกลุ่มเจ้าหนี้ตามข้อ 2 และ 3 และ ปตท. พร้อมกับผู้ถือหุ้นหลักรายอื่นมีความประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือในรูปของการเพิ่มทุน เนื่องจากสามารถจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ใน ATC มากกว่าร้อยละ 50 เป็นผลให้ ATC มีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น จึงอนุมัติให้ ATC ยังคงดำเนินธุรกิจโดยใช้คำสั่ง กฎระเบียบ และข้อบังคับของบริษัทฯ ที่ใช้ปฏิบัติอยู่แล้วในปัจจุบันต่อไป โดยไม่นำคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมติต่าง ๆ ที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจมาใช้บังคับเป็นการชั่วคราว จนกว่า ปตท. จะลดสัดส่วนการถือหุ้นใน ATC ต่ำกว่าร้อยละ 50
5. อนุมัติให้ ปตท. พิจารณาลดสัดส่วนการถือหุ้น หลังจาก ATC ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จลุล่วงแล้วโดยการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้น ATC หรือหาผู้ร่วมทุน เพื่อลดภาระทางการเงิน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ปตท. เพื่อให้ ปตท. สามารถกำหนดราคาและจำนวนหุ้นที่จะจำหน่ายให้สอดคล้องกับสภาวะความต้องการของตลาดและสามารถจำหน่ายหุ้นได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. ณ ช่วงเวลาที่ดำเนินการจำหน่าย ให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติและกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่นำวิธีการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นส่วนที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 (กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไว้) มาใช้บังคับ
6. อนุมัติให้จัดทำ และ/หรือยกเลิก และ/หรือ แก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ข้อตกลงต่าง ๆ ที่เป็นภาระผูกพันของ ปตท. รวมทั้งยินยอมให้ ATC โอนภาระผูกพันที่ ปตท. ให้ตามสัญญาและข้อตกลงดังกล่าวเป็นหลักประกันให้กลุ่มเจ้าหนี้เงินกู้ของ ATC ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ปตท. ได้ดำเนินการลดสัดส่วนการถือหุ้น ATC ลง โดยการขายหุ้นให้เอกชนพร้อมภาระสนับสนุนตาม SSA ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ลดเหลือร้อยละ 44 โดยคงภาระ SSA ร้อยละ 70.50
สำหรับ ATC เป็นธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้นสายอะโรเมติกส์ เริ่มดำเนินการการผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540 โดยมีมูลค่าธุรกรรมการค้าระหว่าง ปตท. และ ATC ประมาณปีละ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่ง ปตท.ได้รับผลตอบแทนจากการจัดหาวัตถุดิบและการทำตลาดประมาณปีละ 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำทั้งภูมิภาคเอเซียและประเทศไทย ตั้งแต่กลางปี 2540 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีลดลง ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ลดลงอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้ ATC ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ซึ่งจากการประเมินของที่ปรึกษาทางการเงิน ATC ขาดสภาพคล่องถึงประมาณ 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นหาก ATC จะดำเนินธุรกิจด้วยความมั่นคงในระยะยาวแล้ว จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ของ ATC เนื่องจากโครงการ ATC มีสัดส่วนของหนี้ต่อทุน (D : E) ในอัตรา 2 : 1 ซึ่งในภาวะอุตสาหกรรมตกต่ำถือได้ว่าเป็นอัตราค่อนข้างสูง ทำให้ภาระในการชำระดอกเบี้ย และคืนต้นเงินกู้ในแต่ละปีสูงไปด้วย ผู้ถือหุ้นจึงต้องให้เงินสนับสนุนตามพันธะผูกพันในสัญญาเดิม (SSA) ที่ให้ไว้กับ ATC
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 ก.ค. 2543--
-สส-
อนุมัติให้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
คณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เกี่ยวกับการดำเนินการของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในการปรับโครงสร้างหนี้บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) ดังนี้
1. รับทราบว่า ATC ได้ศึกษาโครงการขยายกำลังการผลิต และโครงการต่อเนื่องเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นจากโครงการขยายกำลังการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และหาผู้ร่วมทุน หรือจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ ปตท. จะสนับสนุนการลงทุนหากโครงการให้ผลตอบแทนคุ้มค่า สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ ATC ในครั้งนี้ จะทำให้ลดภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เป็นเงินต้นประมาณ 389 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้บรรยากาศการลงทุนในประเทศดีขึ้น
2. อนุมัติให้ ปตท. เข้าร่วมกับผู้ถือหุ้นหลักรายอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติตามภาระผูกพันเดิมที่ให้ไว้กับเจ้าหนี้ ATC ในสัญญาให้การสนับสนุนของผู้ถือหุ้น (Shareholders Support Agreement - SSA) วงเงินทั้งสิ้น 210 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่วนของ ปตท. คิดเป็นเงิน 148.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. อนุมัติให้ ปตท. ให้วงเงินสำรองฉุกเฉิน (Contingency Support) ผ่านธุรกรรมการค้า จำนวน 90ล้านเหรียญสหรัฐฯ และขยายระยะเวลาสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์พาราไซลีนเท่าอายุหนี้ของ ATC ที่เจ้าหนี้ขยายออกไป
4. ในกรณีที่ ปตท. ดำเนินการตามภาระผูกพันที่ได้ให้ไว้กับกลุ่มเจ้าหนี้ตามข้อ 2 และ 3 และ ปตท. พร้อมกับผู้ถือหุ้นหลักรายอื่นมีความประสงค์ที่จะให้ความช่วยเหลือในรูปของการเพิ่มทุน เนื่องจากสามารถจำหน่ายหุ้นเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ซึ่งจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ใน ATC มากกว่าร้อยละ 50 เป็นผลให้ ATC มีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจนั้น จึงอนุมัติให้ ATC ยังคงดำเนินธุรกิจโดยใช้คำสั่ง กฎระเบียบ และข้อบังคับของบริษัทฯ ที่ใช้ปฏิบัติอยู่แล้วในปัจจุบันต่อไป โดยไม่นำคำสั่ง กฎระเบียบ ข้อบังคับ และมติต่าง ๆ ที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจมาใช้บังคับเป็นการชั่วคราว จนกว่า ปตท. จะลดสัดส่วนการถือหุ้นใน ATC ต่ำกว่าร้อยละ 50
5. อนุมัติให้ ปตท. พิจารณาลดสัดส่วนการถือหุ้น หลังจาก ATC ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จลุล่วงแล้วโดยการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้น ATC หรือหาผู้ร่วมทุน เพื่อลดภาระทางการเงิน โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ปตท. เพื่อให้ ปตท. สามารถกำหนดราคาและจำนวนหุ้นที่จะจำหน่ายให้สอดคล้องกับสภาวะความต้องการของตลาดและสามารถจำหน่ายหุ้นได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ปตท. ณ ช่วงเวลาที่ดำเนินการจำหน่าย ให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติและกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่นำวิธีการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นส่วนที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 (กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไว้) มาใช้บังคับ
6. อนุมัติให้จัดทำ และ/หรือยกเลิก และ/หรือ แก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ข้อตกลงต่าง ๆ ที่เป็นภาระผูกพันของ ปตท. รวมทั้งยินยอมให้ ATC โอนภาระผูกพันที่ ปตท. ให้ตามสัญญาและข้อตกลงดังกล่าวเป็นหลักประกันให้กลุ่มเจ้าหนี้เงินกู้ของ ATC ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ปตท. ได้ดำเนินการลดสัดส่วนการถือหุ้น ATC ลง โดยการขายหุ้นให้เอกชนพร้อมภาระสนับสนุนตาม SSA ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท. ลดเหลือร้อยละ 44 โดยคงภาระ SSA ร้อยละ 70.50
สำหรับ ATC เป็นธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้นสายอะโรเมติกส์ เริ่มดำเนินการการผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540 โดยมีมูลค่าธุรกรรมการค้าระหว่าง ปตท. และ ATC ประมาณปีละ 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่ง ปตท.ได้รับผลตอบแทนจากการจัดหาวัตถุดิบและการทำตลาดประมาณปีละ 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจตกต่ำทั้งภูมิภาคเอเซียและประเทศไทย ตั้งแต่กลางปี 2540 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีลดลง ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ลดลงอย่างมาก จึงเป็นเหตุให้ ATC ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่อง ซึ่งจากการประเมินของที่ปรึกษาทางการเงิน ATC ขาดสภาพคล่องถึงประมาณ 335 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นหาก ATC จะดำเนินธุรกิจด้วยความมั่นคงในระยะยาวแล้ว จำเป็นต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ของ ATC เนื่องจากโครงการ ATC มีสัดส่วนของหนี้ต่อทุน (D : E) ในอัตรา 2 : 1 ซึ่งในภาวะอุตสาหกรรมตกต่ำถือได้ว่าเป็นอัตราค่อนข้างสูง ทำให้ภาระในการชำระดอกเบี้ย และคืนต้นเงินกู้ในแต่ละปีสูงไปด้วย ผู้ถือหุ้นจึงต้องให้เงินสนับสนุนตามพันธะผูกพันในสัญญาเดิม (SSA) ที่ให้ไว้กับ ATC
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 ก.ค. 2543--
-สส-