ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอกที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนได้ดำเนินการอยู่ จนกว่าสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจะจัดตั้งเสร็จและออกระเบียบประกาศข้อกำหนด หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายนอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำเอกสารประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบัน ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
1. การประกันคุณภาพภายใน ด้วยการสร้างระบบและกลไกเพื่อการควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษามีอิสระและเสรีภาพที่จะเลือกใช้ระบบคุณภาพที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละสถาบัน ทั้งนี้ อาจเลือกใช้องค์ประกอบของคุณภาพและดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ได้พัฒนาขึ้นเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนดำเนินงาน 2) การเรียนการสอน 3) กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา 4) การวิจัย 5) การบริการทางวิชาการแก่สังคม 6) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 7) การบริหารและจัดการ 8) การเงินและงบประมาณ 9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
2. ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาเอกสาร "การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอก" ขึ้นมา ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
2.1 หลักการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการรักษามาตรฐานการศึกษา บนพื้นฐานของการมีเสรีภาพทางวิชาการและอิสรภาพในการดำเนินงานที่สังคมหรือหน่วยงานภายนอกเข้าไปตรวจสอบได้ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกขึ้น
2.2 วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และระบบและกลไกการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไปนี้
2.3 ผู้ตรวจสอบคุณภาพ ควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1) มีความรู้ เข้าใจและเชื่อมั่นในระบบประกันคุณภาพ
2) มีประสบการณ์ในการบริหารอุดมศึกษา การสอนและการวิจัย
3) มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
4) ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด
2.4 กระบวนการตรวจสอบคุณภาพ จากภายนอกมีกระบวนการ ดังนี้
1) สถาบัน/คณะวิชา ดำเนินการประกันคุณภาพภายในเสร็จเรียบร้อย และมีการตรวจสอบคุณภาพภายในที่เห็นว่าการดำเนินการประกันคุณภาพภายในประสบผลดีแล้วจึงเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพจากภายนอก โดยจะต้องเสนอเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพคือ แบบรายงานการศึกษาตนเองและเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 ชุดต่อทบวงมหาวิทยาลัยล่วงหน้าก่อนที่จะให้มีการตรวจสอบคุณภาพไม่น้อยกว่า 3 เดือน
2) คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพประชุมก่อนการตรวจสอบคุณภาพ (pre-meeting) เพื่อการตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น จัดทำแผนการตรวจสอบและตารางการตรวจสอบคุณภาพเพื่อเสนอต่อสถาบัน/คณะวิชา ล่วงหน้าก่อนการเดินทางไปตรวจสอบไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
3) คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ โดยมีการตรวจเยี่ยม (site visit) สถาบัน/คณะวิชาด้วย
4) คณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลการตรวจสอบคุณภาพ
3. แผนการดำเนินงานประกันคุณภาพ ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพ ระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2545 โดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
3.1 แผนการดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2542 กิจกรรมที่สำคัญในระยะนี้ประกอบด้วย
1) การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพ
2) การพัฒนารูปแบบและระบบประกันคุณภาพ
3) การจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพ
4) การสัมมนาและฝึกอบรมผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ
5) การพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพ
6) การฝึกอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพ
7) โครงการศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ 5 สาขาวิชา รวม 22 คณะวิชา
3.2 แผนการดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. 2543 - 2545
1) การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกระดับคณะวิชา
2) การรับรองคุณภาพ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพรุ่นที่ 1 จำนวน 40 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการอบรมต่อไปอีกในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 5 รุ่น ๆ ละ 40 คน และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องในด้านการประกันคุณภาพภายใน และคุณภาพภายนอกจนกว่าสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจะจัดตั้งเสร็จ
ทั้งนี้ ให้ทบวงมหาวิทยาลัยประสานงานกับคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติในส่วนของการประกันคุณภาพภายนอกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพภายนอกที่สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนได้ดำเนินการอยู่ จนกว่าสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจะจัดตั้งเสร็จและออกระเบียบประกาศข้อกำหนด หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายนอกเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำเอกสารประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบัน ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
1. การประกันคุณภาพภายใน ด้วยการสร้างระบบและกลไกเพื่อการควบคุมคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษามีอิสระและเสรีภาพที่จะเลือกใช้ระบบคุณภาพที่เหมาะสมกับสภาพของแต่ละสถาบัน ทั้งนี้ อาจเลือกใช้องค์ประกอบของคุณภาพและดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ได้พัฒนาขึ้นเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์และแผนดำเนินงาน 2) การเรียนการสอน 3) กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา 4) การวิจัย 5) การบริการทางวิชาการแก่สังคม 6) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 7) การบริหารและจัดการ 8) การเงินและงบประมาณ 9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
2. ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาเอกสาร "การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอก" ขึ้นมา ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ
2.1 หลักการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการรักษามาตรฐานการศึกษา บนพื้นฐานของการมีเสรีภาพทางวิชาการและอิสรภาพในการดำเนินงานที่สังคมหรือหน่วยงานภายนอกเข้าไปตรวจสอบได้ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกขึ้น
2.2 วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และระบบและกลไกการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไปนี้
2.3 ผู้ตรวจสอบคุณภาพ ควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้
1) มีความรู้ เข้าใจและเชื่อมั่นในระบบประกันคุณภาพ
2) มีประสบการณ์ในการบริหารอุดมศึกษา การสอนและการวิจัย
3) มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
4) ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ทบวงมหาวิทยาลัยกำหนด
2.4 กระบวนการตรวจสอบคุณภาพ จากภายนอกมีกระบวนการ ดังนี้
1) สถาบัน/คณะวิชา ดำเนินการประกันคุณภาพภายในเสร็จเรียบร้อย และมีการตรวจสอบคุณภาพภายในที่เห็นว่าการดำเนินการประกันคุณภาพภายในประสบผลดีแล้วจึงเสนอต่อทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพจากภายนอก โดยจะต้องเสนอเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพคือ แบบรายงานการศึกษาตนเองและเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 ชุดต่อทบวงมหาวิทยาลัยล่วงหน้าก่อนที่จะให้มีการตรวจสอบคุณภาพไม่น้อยกว่า 3 เดือน
2) คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพประชุมก่อนการตรวจสอบคุณภาพ (pre-meeting) เพื่อการตรวจสอบเอกสารเบื้องต้น จัดทำแผนการตรวจสอบและตารางการตรวจสอบคุณภาพเพื่อเสนอต่อสถาบัน/คณะวิชา ล่วงหน้าก่อนการเดินทางไปตรวจสอบไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์
3) คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ โดยมีการตรวจเยี่ยม (site visit) สถาบัน/คณะวิชาด้วย
4) คณะกรรมการพิจารณาตัดสินผลการตรวจสอบคุณภาพ
3. แผนการดำเนินงานประกันคุณภาพ ทบวงมหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนการดำเนินงานประกันคุณภาพ ระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2545 โดยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
3.1 แผนการดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2542 กิจกรรมที่สำคัญในระยะนี้ประกอบด้วย
1) การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพ
2) การพัฒนารูปแบบและระบบประกันคุณภาพ
3) การจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพ
4) การสัมมนาและฝึกอบรมผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ
5) การพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพ
6) การฝึกอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพ
7) โครงการศึกษาและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ 5 สาขาวิชา รวม 22 คณะวิชา
3.2 แผนการดำเนินงานระหว่าง พ.ศ. 2543 - 2545
1) การตรวจสอบคุณภาพจากภายนอกระดับคณะวิชา
2) การรับรองคุณภาพ
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบคุณภาพรุ่นที่ 1 จำนวน 40 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีการอบรมต่อไปอีกในปีงบประมาณ 2543 จำนวน 5 รุ่น ๆ ละ 40 คน และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างต่อเนื่องในด้านการประกันคุณภาพภายใน และคุณภาพภายนอกจนกว่าสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจะจัดตั้งเสร็จ
ทั้งนี้ ให้ทบวงมหาวิทยาลัยประสานงานกับคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติในส่วนของการประกันคุณภาพภายนอกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--