กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ณ เดือนมิถุนายน 2543 ดังนี้
1. ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543
1.1 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ระบบสถาบันการเงินมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 1,618.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.01 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 290.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 15.21 จากสิ้นเดือนก่อน เนื่องจากการตัดหนี้สูญของธนาคารเอกชนเป็นสำคัญ
1.2 การเปลี่ยนแปลงของ NPL ในเดือนมิถุนายน 2543 สามารถแยกรายละเอียดได้ ดังนี้
พันล้านบาท
1.2.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 1,908.3
1.2.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2543
1) จำนวนใหม่ 20.5
2) รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 13.9 34.4
1.2.3 NPL ที่ลดลงในเดือนมิถุนายน 2543
1) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (93.2)
2) เหตุผลอื่น (231.5) (324.7)
1.2.4 NPL ลดลงสุทธิในเดือนมิถุนายน 2543 (290.3)
1.2.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 1,618.0
1.3 การลดลงของ NPL กรณีเหตุผลอื่นตามข้อ 2) ประกอบด้วย
1.3.1 NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือน จำนวน 14.5 พันล้านบาท
1.3.2 การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่สำรองครบร้อยละ 100 ประมาณ 191.8 พันล้านบาท
1.3.3 อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้องการขายหนี้ เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 25.2 พันล้านบาท
1.4 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้าง 570.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 21.67 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 254.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 30.87 จากสิ้นเดือนก่อน เนื่องจากการตัดหนี้สูญของหนี้จัดขั้นสงสัยจะสูญที่กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 แล้ว และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นจำนวนมาก
1.5 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้าง 940.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 56.42 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 28.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.91 จากสิ้นเดือนก่อน
1.6 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง 43.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ ของสินเชื่อรวมลดลงสุทธิ 1.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.46 ของสิ้นเดือนก่อน
1.7 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้าง 63.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 39.71 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 6.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.92 จากสิ้นเดือนก่อน
1.8 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 NPL คงค้างสูงสุด 3 อันดับแรกแยกตามประเภทธุรกิจอยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.7 ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก เป็นจำนวน 395.7 พันล้านบาท 295.9 พันล้านบาท และ 263.0 พันล้านบาท
1.9 ในเดือนมิถุนายน 2543 NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 20.5 พันล้านบาทนั้นอยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.7 พันล้านบาท รองลงไปคือ ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 3.2 พันล้านบาท และธุรกิจการนำสินค้าเข้า 2.0 พันล้านบาท
1.10 สำหรับรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็น NPL อีกมีจำนวน 13.9 พันล้านบาทนั้นในเดือนนี้อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 2.9 พันล้านบาท ภาคการค้าส่งและค้าปลีก 2.4 พันล้านบาท และการบริการ 1.9 พันล้านบาท
1.11 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เกิดขึ้นภายในเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 138.9 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL จำนวน 93.2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
2. การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ให้เกิดรายได้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ระบบสถาบันการเงินมียอดหนี้ NPLs คงค้าง 1,618.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.01 ของสินเชื่อลดลงสุทธิจากเดือนพฤษภาคม 2543 จำนวน 290.3 พันล้านบาท เนื่องจากการตัดหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์เอกชนภายหลังการสำรองครบร้อยละ 100 เป็นสำคัญ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 ส.ค. 2543--
-กม/ยก-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ณ เดือนมิถุนายน 2543 ดังนี้
1. ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543
1.1 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ระบบสถาบันการเงินมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 1,618.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.01 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 290.3 พันล้านบาท หรือร้อยละ 15.21 จากสิ้นเดือนก่อน เนื่องจากการตัดหนี้สูญของธนาคารเอกชนเป็นสำคัญ
1.2 การเปลี่ยนแปลงของ NPL ในเดือนมิถุนายน 2543 สามารถแยกรายละเอียดได้ ดังนี้
พันล้านบาท
1.2.1 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 1,908.3
1.2.2 NPL ที่เพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 2543
1) จำนวนใหม่ 20.5
2) รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 13.9 34.4
1.2.3 NPL ที่ลดลงในเดือนมิถุนายน 2543
1) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (93.2)
2) เหตุผลอื่น (231.5) (324.7)
1.2.4 NPL ลดลงสุทธิในเดือนมิถุนายน 2543 (290.3)
1.2.5 NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 1,618.0
1.3 การลดลงของ NPL กรณีเหตุผลอื่นตามข้อ 2) ประกอบด้วย
1.3.1 NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือน จำนวน 14.5 พันล้านบาท
1.3.2 การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่สำรองครบร้อยละ 100 ประมาณ 191.8 พันล้านบาท
1.3.3 อื่นๆ เช่น จำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิเรียกร้องการขายหนี้ เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 25.2 พันล้านบาท
1.4 ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้าง 570.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 21.67 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 254.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 30.87 จากสิ้นเดือนก่อน เนื่องจากการตัดหนี้สูญของหนี้จัดขั้นสงสัยจะสูญที่กันเงินสำรองครบร้อยละ 100 แล้ว และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นจำนวนมาก
1.5 ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้าง 940.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 56.42 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 28.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.91 จากสิ้นเดือนก่อน
1.6 สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้าง 43.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ ของสินเชื่อรวมลดลงสุทธิ 1.1 พันล้านบาท หรือร้อยละ 2.46 ของสิ้นเดือนก่อน
1.7 บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้าง 63.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ 39.71 ของสินเชื่อรวม ลดลงสุทธิ 6.2 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.92 จากสิ้นเดือนก่อน
1.8 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 NPL คงค้างสูงสุด 3 อันดับแรกแยกตามประเภทธุรกิจอยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.7 ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก เป็นจำนวน 395.7 พันล้านบาท 295.9 พันล้านบาท และ 263.0 พันล้านบาท
1.9 ในเดือนมิถุนายน 2543 NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 20.5 พันล้านบาทนั้นอยู่ในภาคอุตสาหกรรม 6.7 พันล้านบาท รองลงไปคือ ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 3.2 พันล้านบาท และธุรกิจการนำสินค้าเข้า 2.0 พันล้านบาท
1.10 สำหรับรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็น NPL อีกมีจำนวน 13.9 พันล้านบาทนั้นในเดือนนี้อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 2.9 พันล้านบาท ภาคการค้าส่งและค้าปลีก 2.4 พันล้านบาท และการบริการ 1.9 พันล้านบาท
1.11 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จที่เกิดขึ้นภายในเดือนมิถุนายน 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 138.9 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ NPL จำนวน 93.2 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
2. การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ให้เกิดรายได้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 ระบบสถาบันการเงินมียอดหนี้ NPLs คงค้าง 1,618.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.01 ของสินเชื่อลดลงสุทธิจากเดือนพฤษภาคม 2543 จำนวน 290.3 พันล้านบาท เนื่องจากการตัดหนี้สูญของธนาคารพาณิชย์เอกชนภายหลังการสำรองครบร้อยละ 100 เป็นสำคัญ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 ส.ค. 2543--
-กม/ยก-