การลงนามสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้มีการลงนามสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ เนื่องจากสนธิสัญญานี้เป็นการให้โอกาสชาวต่างประเทศผู้ถูกทำให้สูญเสียอิสรภาพเพราะการกระทำผิดทางอาญาของตนได้ไปรับโทษในสังคมของตนเอง
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า คณะผู้แทนไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียได้เจรจากันที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2544 โดยใช้ร่างความตกลงของทั้งสองฝ่ายเป็นพื้นฐานในการเจรจา ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ในทุกประเด็น และได้จัดทำร่างสุดท้าย (final text) ของสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยหัวหน้าคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อกำกับไว้
สำหรับสาระสำคัญของร่างสนธิสัญญาฯ มีดังนี้
1. การโอนตัวนักโทษจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐผู้โอน รัฐผู้รับ และจากตัวนักโทษเอง
2. ความผิดที่นักโทษได้กระทำต้องเป็นความผิดทางอาญาที่ลงโทษได้ทั้งในรัฐผู้รับและในรัฐผู้โอน
3. นักโทษต้องเป็นคนชาติของรัฐผู้รับ และถ้าหากนักโทษมีสัญชาติของรัฐผู้โอนด้วย รัฐผู้โอนอาจปฏิเสธการโอนได้
4. นักโทษที่ทำความผิดต่อความมั่นคงภายในและภายนอกของรัฐต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรสและพระราชธิดา (ในกรณีของไทย) หรือเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสมบัติที่มีค่าทางศิลปของชาติ จะไม่ได้รับการโอนตัว
5. โทษจำคุกที่เหลือจะต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี
6. รัฐผู้โอนจะกำหนดระยะเวลารับโทษขั้นต่ำตามกฎหมายภายในของตนที่นักโทษจะต้องได้รับในรัฐผู้โอนก่อนได้รับการพิจารณาให้โอนตัวได้
7. รัฐผู้โอนยังคงไว้ซึ่งอำนาจแต่ผู้เดียวในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกคำพิพากษาของตน
8. วิธีการลงโทษนักโทษที่ถูกโอนตัว ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของรัฐผู้รับ
9. รัฐผู้โอนยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการให้อภัยหรือลดโทษแก่นักโทษที่ถูกโอนตัวไปแล้ว
10. สนธิสัญญานี้จะมีผลเมื่อมีการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างภาคี โดยการแจ้งแก่กันและกันว่าแต่ละฝ่ายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาครบถ้วนแล้ว และสามารถยกเลิกได้โดยการแจ้งให้รัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าหกเดือน
อนึ่ง สนธิสัญญาประเภทนี้มีพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2530 เป็นกฎหมายรองรับ ทำให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาได้อยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้มีการลงนามสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ เนื่องจากสนธิสัญญานี้เป็นการให้โอกาสชาวต่างประเทศผู้ถูกทำให้สูญเสียอิสรภาพเพราะการกระทำผิดทางอาญาของตนได้ไปรับโทษในสังคมของตนเอง
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า คณะผู้แทนไทยและสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียได้เจรจากันที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 26 - 27 มิถุนายน 2544 โดยใช้ร่างความตกลงของทั้งสองฝ่ายเป็นพื้นฐานในการเจรจา ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ในทุกประเด็น และได้จัดทำร่างสุดท้าย (final text) ของสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา โดยหัวหน้าคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อกำกับไว้
สำหรับสาระสำคัญของร่างสนธิสัญญาฯ มีดังนี้
1. การโอนตัวนักโทษจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐผู้โอน รัฐผู้รับ และจากตัวนักโทษเอง
2. ความผิดที่นักโทษได้กระทำต้องเป็นความผิดทางอาญาที่ลงโทษได้ทั้งในรัฐผู้รับและในรัฐผู้โอน
3. นักโทษต้องเป็นคนชาติของรัฐผู้รับ และถ้าหากนักโทษมีสัญชาติของรัฐผู้โอนด้วย รัฐผู้โอนอาจปฏิเสธการโอนได้
4. นักโทษที่ทำความผิดต่อความมั่นคงภายในและภายนอกของรัฐต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรสและพระราชธิดา (ในกรณีของไทย) หรือเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสมบัติที่มีค่าทางศิลปของชาติ จะไม่ได้รับการโอนตัว
5. โทษจำคุกที่เหลือจะต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี
6. รัฐผู้โอนจะกำหนดระยะเวลารับโทษขั้นต่ำตามกฎหมายภายในของตนที่นักโทษจะต้องได้รับในรัฐผู้โอนก่อนได้รับการพิจารณาให้โอนตัวได้
7. รัฐผู้โอนยังคงไว้ซึ่งอำนาจแต่ผู้เดียวในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกคำพิพากษาของตน
8. วิธีการลงโทษนักโทษที่ถูกโอนตัว ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของรัฐผู้รับ
9. รัฐผู้โอนยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการให้อภัยหรือลดโทษแก่นักโทษที่ถูกโอนตัวไปแล้ว
10. สนธิสัญญานี้จะมีผลเมื่อมีการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างภาคี โดยการแจ้งแก่กันและกันว่าแต่ละฝ่ายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาครบถ้วนแล้ว และสามารถยกเลิกได้โดยการแจ้งให้รัฐภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าหกเดือน
อนึ่ง สนธิสัญญาประเภทนี้มีพระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. 2527 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2530 เป็นกฎหมายรองรับ ทำให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีในสนธิสัญญาได้อยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-