คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกของประเทศ เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังประสบ มีทั้งที่เกิดจากภายนอกและภายในประเทศ จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการเพิ่มศักยภาพในการส่งออกของไทยให้สูงขึ้น เพื่อให้การส่งออกรวดเร็ว สะดวก คล่องตัวไม่ติดขัด และประหยัด อย่างไรก็ตามแม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศจะเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยาก แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศสามารถแก้ไขได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านสภาพคล่องของผู้ส่งออก และระเบียบขั้นตอนการส่งออกเพื่อให้มีความรวดเร็วคล่องตัว
สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
1. การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ให้ธนาคารของรัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1.1 ให้พิจารณาวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ส่งออก จากความสามารถในการทำธุรกิจส่งออกตั้งแต่เริ่มเสนอแผนธุรกิจที่จะทำให้ได้รับคำสั่งซื้อ
1.2 ให้อนุมัติจ่ายเงินสินเชื่อเต็มจำนวนเมื่อผู้ส่งออกนำเอกสารยืนยันการสั่งซื้อ เช่น คำสั่งซื้อ สัญญาหรือ L/C มาแสดง ทั้งนี้ ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) กับธนาคารศรีนครพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิต ผู้ส่งออกมีปัญหาไม่สามารถหาสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้แม้บางครั้งจะมีใบสั่งซื้ออยู่แล้วก็ตาม ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมการส่งออกได้เต็มความสามารถเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นผลให้เสียโอกาสในการส่งออกไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผู้ส่งออกอีกจำนวนไม่น้อย แม้จะมีวงเงินหมุนเวียนเพื่อการส่งออกอยู่แล้วแต่ก็อยู่ในวงเงินจำกัด ทั้งที่สามารถรับคำสั่งซื้อได้มากกว่าวงเงินที่มีอยู่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้เสียโอกาสในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน
2. การแก้ปัญหาความล่าช้าในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ส่งออกตามมาตรการทั้ง 3 ดังต่อไปนี้
2.1 ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจัดซื้อวันถุดิบภายในประเทศที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก ในทำนองเดียวกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก
2.2 ให้ผู้ส่งออกสามารถใช้หนังสือค้ำประกันในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2.3 ให้พิจารณาจัดทำระบบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการควบคุมทางบัญชีแทนการชำระเป็นเงินสด หรืออาจจัดตั้งกองทุนเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ส่งออก และให้กรมสรรพากรจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกคืนแก่กองทุนฯ โดยตรงต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังจัดประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อปัญหาดังกล่าวต่อไป
เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตผู้ส่งออกจำเป็นต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การชำระภาษีวัตถุดิบนำเข้าเพื่อการส่งออกสามารถเลือกได้ทั้งเงินสดหรือหนังสือค้ำประกัน ยิ่งไปกว่านั้นในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก กรมสรรพากรยังใช้เวลานานในการตรวจสอบเอกสารก่อนคืนภาษี ทำให้ผู้ส่งออกเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
3. การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
3.1 ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าทั้ง 4 กลุ่ม และเสนอรัฐบาลเพื่อประกาศใช้อัตราภาษีนำเข้าใหม่ทั้งระบบโดยทันที
3.2 ในการปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าว ขอให้พิจารณากำหนดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกไม่ให้สูงกว่าของประเทศคู่แข่งขัน เช่น ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ต่อไป
เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป และสินค้าในอุตสาหกรรมที่ต้องการปกป้องเป็นพิเศษหลายรายการ ยังมีอัตราที่ไม่เป็นสัดส่วนที่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าส่งออกสูง และไม่สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้
4. การบริการการส่งออกให้รวดเร็ว ดังนี้
4.1 ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตแก่ผู้ส่งออกสินค้าที่ต้องส่งมอบโดยเร่งด่วน เปิดบริการ 24 ชม.ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้บริการอย่างรวดเร็วทันต่อกระบวนการส่งสินค้าออก เช่น กรมทรัพยากรธรณี กรณีขออนุญาตนำเข้าสารเคมีบางชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออก กรมวิชาการเกษตร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งออกใบรับรองให้ผักผลไม้สดเพื่อการส่งออก
4.2 ให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตหรือเอกสารประกอบการส่งออกดำเนินการให้รวดเร็วทันต่อกระบวนการส่งสินค้าออก โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จให้ชัดเจน
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
เนื่องจากสินค้าส่งออกหลายประเภทมีกำหนดระยะเวลาส่งมอบระยะสั้นหรือต้องส่งออกทุกวัน เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต้องส่งมอบภายใน 7 วัน ผักผลไม้สดต้องส่งออกทุกวัน เป็นต้น การบริการที่รวดเร็วตลอดเวลาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ออกใบอนุญาตทั้งนำเข้าและส่งออกให้บริการอย่างรวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-
สำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
1. การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ให้ธนาคารของรัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1.1 ให้พิจารณาวงเงินสินเชื่อแก่ผู้ส่งออก จากความสามารถในการทำธุรกิจส่งออกตั้งแต่เริ่มเสนอแผนธุรกิจที่จะทำให้ได้รับคำสั่งซื้อ
1.2 ให้อนุมัติจ่ายเงินสินเชื่อเต็มจำนวนเมื่อผู้ส่งออกนำเอกสารยืนยันการสั่งซื้อ เช่น คำสั่งซื้อ สัญญาหรือ L/C มาแสดง ทั้งนี้ ให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) กับธนาคารศรีนครพิจารณาให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิต ผู้ส่งออกมีปัญหาไม่สามารถหาสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้แม้บางครั้งจะมีใบสั่งซื้ออยู่แล้วก็ตาม ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมการส่งออกได้เต็มความสามารถเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน เป็นผลให้เสียโอกาสในการส่งออกไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีผู้ส่งออกอีกจำนวนไม่น้อย แม้จะมีวงเงินหมุนเวียนเพื่อการส่งออกอยู่แล้วแต่ก็อยู่ในวงเงินจำกัด ทั้งที่สามารถรับคำสั่งซื้อได้มากกว่าวงเงินที่มีอยู่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้เสียโอกาสในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน
2. การแก้ปัญหาความล่าช้าในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้กรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ส่งออกตามมาตรการทั้ง 3 ดังต่อไปนี้
2.1 ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจัดซื้อวันถุดิบภายในประเทศที่ใช้ผลิตเพื่อการส่งออก ในทำนองเดียวกับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก
2.2 ให้ผู้ส่งออกสามารถใช้หนังสือค้ำประกันในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2.3 ให้พิจารณาจัดทำระบบการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการควบคุมทางบัญชีแทนการชำระเป็นเงินสด หรืออาจจัดตั้งกองทุนเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ส่งออก และให้กรมสรรพากรจ่ายเงินภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ส่งออกคืนแก่กองทุนฯ โดยตรงต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังจัดประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อปัญหาดังกล่าวต่อไป
เนื่องจากปัจจุบันผู้ผลิตผู้ส่งออกจำเป็นต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเงินสดเพียงอย่างเดียว ในขณะที่การชำระภาษีวัตถุดิบนำเข้าเพื่อการส่งออกสามารถเลือกได้ทั้งเงินสดหรือหนังสือค้ำประกัน ยิ่งไปกว่านั้นในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก กรมสรรพากรยังใช้เวลานานในการตรวจสอบเอกสารก่อนคืนภาษี ทำให้ผู้ส่งออกเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง
3. การปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
3.1 ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดดำเนินการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าทั้ง 4 กลุ่ม และเสนอรัฐบาลเพื่อประกาศใช้อัตราภาษีนำเข้าใหม่ทั้งระบบโดยทันที
3.2 ในการปรับโครงสร้างภาษีดังกล่าว ขอให้พิจารณากำหนดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออกไม่ให้สูงกว่าของประเทศคู่แข่งขัน เช่น ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น
ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมจัดประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ต่อไป
เนื่องจากปัจจุบันโครงสร้างภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป สินค้าสำเร็จรูป และสินค้าในอุตสาหกรรมที่ต้องการปกป้องเป็นพิเศษหลายรายการ ยังมีอัตราที่ไม่เป็นสัดส่วนที่ถูกต้อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าส่งออกสูง และไม่สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้
4. การบริการการส่งออกให้รวดเร็ว ดังนี้
4.1 ให้หน่วยงานที่ออกใบอนุญาตแก่ผู้ส่งออกสินค้าที่ต้องส่งมอบโดยเร่งด่วน เปิดบริการ 24 ชม.ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ และให้บริการอย่างรวดเร็วทันต่อกระบวนการส่งสินค้าออก เช่น กรมทรัพยากรธรณี กรณีขออนุญาตนำเข้าสารเคมีบางชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งออก กรมวิชาการเกษตร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งออกใบรับรองให้ผักผลไม้สดเพื่อการส่งออก
4.2 ให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ออกใบอนุญาตหรือเอกสารประกอบการส่งออกดำเนินการให้รวดเร็วทันต่อกระบวนการส่งสินค้าออก โดยกำหนดระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จให้ชัดเจน
ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
เนื่องจากสินค้าส่งออกหลายประเภทมีกำหนดระยะเวลาส่งมอบระยะสั้นหรือต้องส่งออกทุกวัน เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต้องส่งมอบภายใน 7 วัน ผักผลไม้สดต้องส่งออกทุกวัน เป็นต้น การบริการที่รวดเร็วตลอดเวลาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ออกใบอนุญาตทั้งนำเข้าและส่งออกให้บริการอย่างรวดเร็ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-