ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ปีงบประมาณ 2542 ครั้งที่ 2 ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ และคณะกรรมการบริหารจัดการฯ ประจำเดือนมกราคม 2543
1.1 ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 หน่วยงานต่างๆ ได้เบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลางแล้ว จำนวน 43,250.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.44 ของวงเงิน ที่สำนักงบประมาณได้อนุมัติไปแล้ว จำนวน 52,460.14 ล้านบาท จากวงเงินโครงการ 54,371.90 ล้านบาท
1.2 ณ วันที่ 1 กันยายน 2542 จนถึง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 คณะกรรมการบริหารจัดการฯ ได้อนุมัติการจัดสรรวงเงินเหลือจ่ายและเงินที่ได้รับเพิ่มจากอัตราแลกเปลี่ยนให้แก่ งาน/โครงการ ที่หน่วยงานต่างๆ เสนอขอเพิ่มเติม รวม 19 หน่วยงาน จำนวน 27 งาน/โครงการ วงเงินรวม 1,632.46 ล้านบาท
2. รายงานการติดตามประเมินผลของมาตรการฯ ครั้งที่ 2 ครอบคลุมการดำเนินงานมาตรการฯ นับแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2542
2.1 บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด หรือทริส (TRIS) ได้จัดทำรายงานการติดตามประเมินผลของมาตรการฯ โดยการร่วมมือกับองค์การเครือข่าย ประกอบด้วย สถาบันราชภัฏ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท แอร์บอร์น วิสคอม จำกัด ครอบคลุมการประเมินผลด้านต่างๆ ดังนี้
1) ประเมินผลโครงการย่อย 2,302 โครงการ วงเงินโครงการย่อยที่สุ่มประเมินผล 4,749.18 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 835 โครงการ โครงการมูลค่าต่ำกว่า 5 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการ อบต.) 1,315 โครงการ โครงการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิศวกรรมแหล่งน้ำมูลค่าเกิน 5 ล้านบาท 75 โครงการ และโครงการด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มูลค่าเกิน 5 ล้านบาท 77 โครงการ ทั้งนี้เป็นการประเมินผลกรณีพิเศษ 25 โครงการ
2) ประเมินผลด้านการบริหารจัดการของหน่วยงาน จำนวน 92 หน่วยงาน
3) ประเมินผลด้านมหภาค/ เศรษฐกิจภาพรวม เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก มพร.
2.2 ผลการติดตามประเมินครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้
1) ผลด้านการลงทุนและการสร้างงาน สัมฤทธิ์ผลของ มพร. ในด้านนี้อยู่ในระดับสูงเนื่องจากสามารถจ้างงานผู้มีการศึกษา ณ วันวันที่ 15 มกราคม 2543 จำนวน 100,396 คน เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 86,237 คน และจ้างงานผู้ใช้แรงงาน จำนวน 4.55 ล้านคน หรือ 72.78 ล้าน/คน/วัน หรือ 363,900 คน/ปี คิดเป็นร้อยละ 90.98 ของเป้าหมายรวมตลอดโครงการ
2) ผลด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ มพร. มีส่วนทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.8 ในปี 2542 และร้อยละ 0.6 ในปี 2543 ซึ่งสาเหตุที่ มพร.มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างสูง เนื่องจากสถานการณ์ตั้งแต่ครึ่งปี 2540 เป็นต้นมา มีผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิตและธุรกิจของประเทศ การลงทุนและการใข้จ่ายของภาคเอกชนหดตัว อย่างรุนแรง โดยในปี 2542 เศรษฐกิจของประเทศเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว การใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยเงินนอกงบประมาณ จึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้
3) ผลด้านการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายยากจนในเมืองและชนบท พบว่าการจ้างงานผู้ใช้แรงงาน จำนวน 4.55 ล้านคน เป็นการจ้างงานเฉลี่ย 16 วัน คิดเป็น 72.78 ล้าน/คน/วัน หรือคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 9,461.42 ล้านบาท (คิดอัตราค่าจ้าง 130 บาท/คน/วัน)
อนึ่ง การสงเคราะห์ในด้านนี้ มีทั้งในรูปแบบการให้เปล่า การฝึกอบรม และการสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ พบว่า โครงการเกือบทั้งหมดสิ้นสุดโครงการแล้ว โดยมีผลการดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี โครงการลักษณะนี้มีวงเงินงบประมาณเพียง 2,395.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของวงเงิน มพร.กลุ่มเป้าหมายยากจนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการเหล่านี้จึงมีจำนวนไม่มากนัก
4) โครงการที่ถือว่ามีความโดดเด่น คือ งานสนับสนุนสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งใช้งบประมาณน้อย สามารถเบิกจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็วและมีสัดส่วนผลงานที่มีคุณภาพสูงกว่าโครงการขนาดเดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและระบอบประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี
2.3 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ มพร.
1) การจัดสรรงบประมาณและการเบิกจ่าย บางโครงการไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากถูกกำหนดจากส่วนกลาง นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรงบประมาณในแต่ละพื้นที่โดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นในพื้นที่นั้นๆ ในขณะที่การจัดสรรงบประมาณในรูปเงินให้เปล่า ทำให้หน่วยงานขาดความระมัดระวัง ซึ่งมีโอกาสสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ช้าลงกว่าแผนที่กำหนดไว้
2) การบริหารจัดการโครงการ
- หลายโครงการไม่สามารถสนองวัตถุประสงค์ของ มพร. ด้านการสร้างงานได้ เช่น โครงการก่อสร้างมีสัดส่วนการจ้างงานเพียงร้อยละ 15-20 การจ้างงานผู้มีการศึกษาไม่คำนึงถึงฐานะ หรือ ไม่ให้ความสำคัญกับผู้ตกงาน ในขณะที่เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดผู้ยากจนไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร เนื่องจากข้อมูลไม่ทันสมัยหรือครบถ้วนถูกต้อง
- หน่วยงานปฏิบัติงานในภูมิภาคขาดความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ บุคลากรขาดทักษะในการจัดจ้างและบริหารโครงการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบราชการ เช่น สหกรณ์ หรือหน่วยงานส่วนท้องถิ่นในกรณีองค์การบริหารส่วนตำบล
- หลายหน่วยงานไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดสรรงบรงประมาณเพื่อการบริหารโครงการ หรือมีการลดงบประมาณด้านนี้ลง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของโครงการ ทั้งยังขาดแผนการบริหาร ติดตามและประเมินผลโครงการ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่
- ในหลายหน่วยงานยังขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่น รวมทั้งกลไกและช่องทางในการสะท้อนปัญหาในการทำงทนของผู้ปฏิบัติงาน
3) ความยั่งยืนของโครงการ โครงการด้านการฝึกอบรมมีภาคปฏิบัติน้อย และขาดแผนรองรับเมื่อจบการฝึกอบรมในขณะที่โครงการด้านส่งเสริมอาชีพขาดความเชื่อมโยงกับตลาด
2.4 สรุปข้อเสนอแนะ
1) โครงการที่มีการกระจายอำนาจและสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนในท้องถิ่นประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจเห็นควรให้ อบต.หาแนวทางระดมทรัพยากรร่วมสมทบกับภาครัฐในการขยายผลโครงการประเภทนี้เพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป
2) ให้ความสำคัญต่อโครงการที่บรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และประชาชนในท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
3) สร้างความโปร่งใสในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของทุกหน่วยงานเพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้เปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเพียงพอ
4) ให้ความสำคัญกับการประสานงานทั้งภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน ตลอดจนระหว่างองค์กรเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
5) ทุกหน่วยงานควรสร้างกลไกให้ผู้ปฏิบัติงานเสนอความคิดเห็นและวิธีการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
6) ทุกหน่วยงานควรสร้างระบบประเมนผลงาน/โครงการ ในเชิงคุณภาพในระหว่างดำนินโครงการ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงประสิทธิภาพดำเนินโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ปีงบประมาณ 2542 ครั้งที่ 2 ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ และคณะกรรมการบริหารจัดการฯ ประจำเดือนมกราคม 2543
1.1 ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 หน่วยงานต่างๆ ได้เบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลางแล้ว จำนวน 43,250.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 82.44 ของวงเงิน ที่สำนักงบประมาณได้อนุมัติไปแล้ว จำนวน 52,460.14 ล้านบาท จากวงเงินโครงการ 54,371.90 ล้านบาท
1.2 ณ วันที่ 1 กันยายน 2542 จนถึง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 คณะกรรมการบริหารจัดการฯ ได้อนุมัติการจัดสรรวงเงินเหลือจ่ายและเงินที่ได้รับเพิ่มจากอัตราแลกเปลี่ยนให้แก่ งาน/โครงการ ที่หน่วยงานต่างๆ เสนอขอเพิ่มเติม รวม 19 หน่วยงาน จำนวน 27 งาน/โครงการ วงเงินรวม 1,632.46 ล้านบาท
2. รายงานการติดตามประเมินผลของมาตรการฯ ครั้งที่ 2 ครอบคลุมการดำเนินงานมาตรการฯ นับแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2542
2.1 บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด หรือทริส (TRIS) ได้จัดทำรายงานการติดตามประเมินผลของมาตรการฯ โดยการร่วมมือกับองค์การเครือข่าย ประกอบด้วย สถาบันราชภัฏ องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัท แอร์บอร์น วิสคอม จำกัด ครอบคลุมการประเมินผลด้านต่างๆ ดังนี้
1) ประเมินผลโครงการย่อย 2,302 โครงการ วงเงินโครงการย่อยที่สุ่มประเมินผล 4,749.18 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จำนวน 835 โครงการ โครงการมูลค่าต่ำกว่า 5 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการ อบต.) 1,315 โครงการ โครงการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิศวกรรมแหล่งน้ำมูลค่าเกิน 5 ล้านบาท 75 โครงการ และโครงการด้านสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม มูลค่าเกิน 5 ล้านบาท 77 โครงการ ทั้งนี้เป็นการประเมินผลกรณีพิเศษ 25 โครงการ
2) ประเมินผลด้านการบริหารจัดการของหน่วยงาน จำนวน 92 หน่วยงาน
3) ประเมินผลด้านมหภาค/ เศรษฐกิจภาพรวม เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก มพร.
2.2 ผลการติดตามประเมินครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้
1) ผลด้านการลงทุนและการสร้างงาน สัมฤทธิ์ผลของ มพร. ในด้านนี้อยู่ในระดับสูงเนื่องจากสามารถจ้างงานผู้มีการศึกษา ณ วันวันที่ 15 มกราคม 2543 จำนวน 100,396 คน เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 86,237 คน และจ้างงานผู้ใช้แรงงาน จำนวน 4.55 ล้านคน หรือ 72.78 ล้าน/คน/วัน หรือ 363,900 คน/ปี คิดเป็นร้อยละ 90.98 ของเป้าหมายรวมตลอดโครงการ
2) ผลด้านการกระตุ้นเศรษฐกิจ มพร. มีส่วนทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.8 ในปี 2542 และร้อยละ 0.6 ในปี 2543 ซึ่งสาเหตุที่ มพร.มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างสูง เนื่องจากสถานการณ์ตั้งแต่ครึ่งปี 2540 เป็นต้นมา มีผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิตและธุรกิจของประเทศ การลงทุนและการใข้จ่ายของภาคเอกชนหดตัว อย่างรุนแรง โดยในปี 2542 เศรษฐกิจของประเทศเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว การใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยเงินนอกงบประมาณ จึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้
3) ผลด้านการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายยากจนในเมืองและชนบท พบว่าการจ้างงานผู้ใช้แรงงาน จำนวน 4.55 ล้านคน เป็นการจ้างงานเฉลี่ย 16 วัน คิดเป็น 72.78 ล้าน/คน/วัน หรือคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 9,461.42 ล้านบาท (คิดอัตราค่าจ้าง 130 บาท/คน/วัน)
อนึ่ง การสงเคราะห์ในด้านนี้ มีทั้งในรูปแบบการให้เปล่า การฝึกอบรม และการสนับสนุนเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ พบว่า โครงการเกือบทั้งหมดสิ้นสุดโครงการแล้ว โดยมีผลการดำเนินการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี โครงการลักษณะนี้มีวงเงินงบประมาณเพียง 2,395.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของวงเงิน มพร.กลุ่มเป้าหมายยากจนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการเหล่านี้จึงมีจำนวนไม่มากนัก
4) โครงการที่ถือว่ามีความโดดเด่น คือ งานสนับสนุนสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งใช้งบประมาณน้อย สามารถเบิกจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็วและมีสัดส่วนผลงานที่มีคุณภาพสูงกว่าโครงการขนาดเดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและระบอบประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี
2.3 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ มพร.
1) การจัดสรรงบประมาณและการเบิกจ่าย บางโครงการไม่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากถูกกำหนดจากส่วนกลาง นอกจากนี้ ยังมีการจัดสรรงบประมาณในแต่ละพื้นที่โดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นในพื้นที่นั้นๆ ในขณะที่การจัดสรรงบประมาณในรูปเงินให้เปล่า ทำให้หน่วยงานขาดความระมัดระวัง ซึ่งมีโอกาสสร้างความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ช้าลงกว่าแผนที่กำหนดไว้
2) การบริหารจัดการโครงการ
- หลายโครงการไม่สามารถสนองวัตถุประสงค์ของ มพร. ด้านการสร้างงานได้ เช่น โครงการก่อสร้างมีสัดส่วนการจ้างงานเพียงร้อยละ 15-20 การจ้างงานผู้มีการศึกษาไม่คำนึงถึงฐานะ หรือ ไม่ให้ความสำคัญกับผู้ตกงาน ในขณะที่เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดผู้ยากจนไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร เนื่องจากข้อมูลไม่ทันสมัยหรือครบถ้วนถูกต้อง
- หน่วยงานปฏิบัติงานในภูมิภาคขาดความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ บุคลากรขาดทักษะในการจัดจ้างและบริหารโครงการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบราชการ เช่น สหกรณ์ หรือหน่วยงานส่วนท้องถิ่นในกรณีองค์การบริหารส่วนตำบล
- หลายหน่วยงานไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดสรรงบรงประมาณเพื่อการบริหารโครงการ หรือมีการลดงบประมาณด้านนี้ลง ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของโครงการ ทั้งยังขาดแผนการบริหาร ติดตามและประเมินผลโครงการ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่
- ในหลายหน่วยงานยังขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่น รวมทั้งกลไกและช่องทางในการสะท้อนปัญหาในการทำงทนของผู้ปฏิบัติงาน
3) ความยั่งยืนของโครงการ โครงการด้านการฝึกอบรมมีภาคปฏิบัติน้อย และขาดแผนรองรับเมื่อจบการฝึกอบรมในขณะที่โครงการด้านส่งเสริมอาชีพขาดความเชื่อมโยงกับตลาด
2.4 สรุปข้อเสนอแนะ
1) โครงการที่มีการกระจายอำนาจและสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนในท้องถิ่นประสบความสำเร็จอย่างน่าพอใจเห็นควรให้ อบต.หาแนวทางระดมทรัพยากรร่วมสมทบกับภาครัฐในการขยายผลโครงการประเภทนี้เพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป
2) ให้ความสำคัญต่อโครงการที่บรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาส และประชาชนในท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
3) สร้างความโปร่งใสในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของทุกหน่วยงานเพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้เปิดเผยและแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเพียงพอ
4) ให้ความสำคัญกับการประสานงานทั้งภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน ตลอดจนระหว่างองค์กรเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน
5) ทุกหน่วยงานควรสร้างกลไกให้ผู้ปฏิบัติงานเสนอความคิดเห็นและวิธีการแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
6) ทุกหน่วยงานควรสร้างระบบประเมนผลงาน/โครงการ ในเชิงคุณภาพในระหว่างดำนินโครงการ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงประสิทธิภาพดำเนินโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--