คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ว่าได้รับรายงานจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เรื่องการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช (ยกเว้นช่องอโศก-ศรีนครินทร์) และทางพิเศษฉลองรัช สรุปได้ดังนี้
1. การทางพิเศษฯ รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) (ยกเว้นช่วงอโศก-ศรีนครินทร์) ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) ตั้งแต่ปี 2535-2544 (มิถุนายน 2544) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,114.71 ล้านบาท
ขณะนี้ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ที่ประกอบกิจการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้คืนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ประชาชนแล้ว ยกเว้นการทางพิเศษฯ ที่ยังไม่ได้คืนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ใช้บริการทางพิเศษในทางพิเศษ 3 สายดังกล่าวข้างต้น
2. การทางพิเศษฯ มีหนี้สิน ณ 31 กรกฎาคม 2544 จำนวน 108,232.90 ล้านบาท โดยแยกเป็นหนี้ที่การทางพิเศษฯ รับภาระ 84,978.90 ล้านบาท รัฐบาลรับภาระ 23,254.00 ล้านบาท และได้ประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องตั้งแต่ปี 2537-2543 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,098.31 ล้านบาท และอยู่ในระหว่างขอกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องจำนวน 500 ล้านบาท และต่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี 300 ล้านบาท
3. คณะกรรมการการทางพิเศษฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2544 วันที่ 11 มกราคม 2544 เห็นชอบให้การทางพิเศษฯ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช (ยกเว้นช่วงอโศก-ศรีนครินทร์) และทางพิเศษฉลองรัช ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป แต่ต่อมาคณะกรรมการการทางพิเศษฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 5/2544 วันที่ 12 เมษายน 2544 ให้การทางพิเศษฯ คืนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าผ่านทางพิเศษให้แก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป โดยให้ปัดเศษสตางค์ทิ้ง และให้การทางพิเศษฯ เตรียมความพร้อมในการจัดการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้ทางน้อยที่สุด รวมทั้งให้จัดเตรียมเงินทอนไว้ให้พร้อมสำหรับการทอนเงินทุกกรณี
4. คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร แจ้งให้การทางพิเศษฯ ชี้แจงเรื่องการปรับขึ้นค่าผ่านทางของการทางพิเศษฯ ว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคตามข้อร้องเรียนของสมาคมพลังผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
5. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) และผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วย ผู้ว่าการการทางพิเศษฯ รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร และรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ ได้เช้าชี้แจงคณะกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2544 ต่อมาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ประธานกรรมการการทางพิเศษฯ ได้ร่วมชี้แจงพร้อมผู้บริหารการทางพิเศษฯ และในวันที่ 2 สิงหาคม 2544 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้เข้าชี้แจง รวมการเข้าชี้แจงทั้งสิ้น 3 ครั้ง
6. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) สั่งการถึงประธานกรรมการการทางพิเศษฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 ให้การทางพิเศษฯ ประมวลเรื่องการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของการทางพิเศษฯ ทั้งหมด และนำเสนอเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่าการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของการทางพิเศษฯ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยการทางพิเศษฯ ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544
7. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือลงวันที่ 9 สิงหาคม 2544 แจ้งความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ว่า แม้ว่าการทางพิเศษฯ สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้บริการทางพิเศษตามที่ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากรได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นไปโดยมิชอบก็ตาม แต่เมื่อมีมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2535 ตามที่อ้างถึง ที่ให้การทางพิเศษฯ เป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นยังใช้บังคับอยู่ การดำเนินการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว การที่การทางพิเศษฯ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และจะเรียกเก็บตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 หรือตั้งแต่เมื่อใดจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย เพื่อยกเว้นหรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ตรงความมุ่งหมายของคณะรัฐมนตรี
8. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้สั่งการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ให้การทางพิเศษฯ ยับยั้งการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป ให้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดอัตราค่าผ่านทางใหม่ ให้ลดอัตราค่าผ่านทางลงในจำนวนที่การทางพิเศษฯ เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2544 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2544 ให้ออกประกาศแถลงการณ์ขออภัยผู้ใช้ทางที่การทางพิเศษฯ ทางหนังสือพิมพ์ ให้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีความผิดพลาดในการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษฯ และหากการทางพิเศษฯ ประสงค์จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษฯ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปโดยไม่มีผลย้อนหลัง
9. ปัจจุบันการทางพิเศษฯ ได้ดำเนินการยับยั้งการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและจัดเก็บค่าผ่านทางตามอัตราที่ลดลงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับใหม่แล้ว ทั้งนี้ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดที่หน้าด่านเก็บค่าผ่านทางดังเช่นที่เคยปฏิบัติในการเตรียมเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษด้วยการเตรียมเงินทอนจำนวนต่าง ๆ ทุกกรณีใส่ถุงพลาสติกไว้ให้พร้อม เพิ่มเจ้าหน้าที่ที่ตู้เก็บค่าผ่านทางทุกตู้ รวมทั้งเพิ่มจำนวนพนักงานกู้ภัยและจัดการจราจร และประสานงานกับกองบังคับการตำรวจจราจรและสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่หน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-
1. การทางพิเศษฯ รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) (ยกเว้นช่วงอโศก-ศรีนครินทร์) ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์) ตั้งแต่ปี 2535-2544 (มิถุนายน 2544) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,114.71 ล้านบาท
ขณะนี้ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ที่ประกอบกิจการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการได้คืนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ประชาชนแล้ว ยกเว้นการทางพิเศษฯ ที่ยังไม่ได้คืนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ใช้บริการทางพิเศษในทางพิเศษ 3 สายดังกล่าวข้างต้น
2. การทางพิเศษฯ มีหนี้สิน ณ 31 กรกฎาคม 2544 จำนวน 108,232.90 ล้านบาท โดยแยกเป็นหนี้ที่การทางพิเศษฯ รับภาระ 84,978.90 ล้านบาท รัฐบาลรับภาระ 23,254.00 ล้านบาท และได้ประสบกับปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยได้กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องตั้งแต่ปี 2537-2543 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,098.31 ล้านบาท และอยู่ในระหว่างขอกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องจำนวน 500 ล้านบาท และต่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี 300 ล้านบาท
3. คณะกรรมการการทางพิเศษฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2544 วันที่ 11 มกราคม 2544 เห็นชอบให้การทางพิเศษฯ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษศรีรัช (ยกเว้นช่วงอโศก-ศรีนครินทร์) และทางพิเศษฉลองรัช ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป แต่ต่อมาคณะกรรมการการทางพิเศษฯ ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 5/2544 วันที่ 12 เมษายน 2544 ให้การทางพิเศษฯ คืนภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าผ่านทางพิเศษให้แก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป โดยให้ปัดเศษสตางค์ทิ้ง และให้การทางพิเศษฯ เตรียมความพร้อมในการจัดการจราจรบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางให้มีผลกระทบต่อผู้ใช้ทางน้อยที่สุด รวมทั้งให้จัดเตรียมเงินทอนไว้ให้พร้อมสำหรับการทอนเงินทุกกรณี
4. คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร แจ้งให้การทางพิเศษฯ ชี้แจงเรื่องการปรับขึ้นค่าผ่านทางของการทางพิเศษฯ ว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคตามข้อร้องเรียนของสมาคมพลังผู้บริโภคแห่งประเทศไทย
5. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) และผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วย ผู้ว่าการการทางพิเศษฯ รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร และรองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ ได้เช้าชี้แจงคณะกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2544 ต่อมาในวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 ประธานกรรมการการทางพิเศษฯ ได้ร่วมชี้แจงพร้อมผู้บริหารการทางพิเศษฯ และในวันที่ 2 สิงหาคม 2544 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้เข้าชี้แจง รวมการเข้าชี้แจงทั้งสิ้น 3 ครั้ง
6. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) สั่งการถึงประธานกรรมการการทางพิเศษฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2544 ให้การทางพิเศษฯ ประมวลเรื่องการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของการทางพิเศษฯ ทั้งหมด และนำเสนอเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่าการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของการทางพิเศษฯ เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยการทางพิเศษฯ ได้มีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2544
7. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือลงวันที่ 9 สิงหาคม 2544 แจ้งความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 3) ว่า แม้ว่าการทางพิเศษฯ สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้บริการทางพิเศษตามที่ได้ดำเนินการตามประมวลรัษฎากรได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นไปโดยมิชอบก็ตาม แต่เมื่อมีมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2535 ตามที่อ้างถึง ที่ให้การทางพิเศษฯ เป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นยังใช้บังคับอยู่ การดำเนินการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าว การที่การทางพิเศษฯ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และจะเรียกเก็บตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 หรือตั้งแต่เมื่อใดจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย เพื่อยกเว้นหรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้ตรงความมุ่งหมายของคณะรัฐมนตรี
8. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้สั่งการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ให้การทางพิเศษฯ ยับยั้งการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป ให้ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดอัตราค่าผ่านทางใหม่ ให้ลดอัตราค่าผ่านทางลงในจำนวนที่การทางพิเศษฯ เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2544 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2544 ให้ออกประกาศแถลงการณ์ขออภัยผู้ใช้ทางที่การทางพิเศษฯ ทางหนังสือพิมพ์ ให้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีความผิดพลาดในการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษฯ และหากการทางพิเศษฯ ประสงค์จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษฯ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปโดยไม่มีผลย้อนหลัง
9. ปัจจุบันการทางพิเศษฯ ได้ดำเนินการยับยั้งการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและจัดเก็บค่าผ่านทางตามอัตราที่ลดลงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับใหม่แล้ว ทั้งนี้ ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดที่หน้าด่านเก็บค่าผ่านทางดังเช่นที่เคยปฏิบัติในการเตรียมเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ใช้ทางพิเศษด้วยการเตรียมเงินทอนจำนวนต่าง ๆ ทุกกรณีใส่ถุงพลาสติกไว้ให้พร้อม เพิ่มเจ้าหน้าที่ที่ตู้เก็บค่าผ่านทางทุกตู้ รวมทั้งเพิ่มจำนวนพนักงานกู้ภัยและจัดการจราจร และประสานงานกับกองบังคับการตำรวจจราจรและสถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรที่หน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 ส.ค.44--
-สส-