แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 และให้ดำเนินการนำกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบข้อพิจารณาต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อแจ้งให้สภาที่ปรึกษาฯ ได้ทราบต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9ที่ได้ปรับปรุงจากข้อพิจารณาต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาฯ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา โดยให้มีการปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์จากร้อยละ 5 - 6 ต่อปี เป็นร้อยละ 4 - 5 ต่อปี และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่ออนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ตามขั้นตอนต่อไป สรุปสาระสำคัญร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ดังนี้
1. วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ
1.1 กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมของสังคมไทยในระยะ 20 ปี ที่มีจุดมุ่งหมายเน้นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยโดยยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ที่มุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเรียนรู้โลกาภิวัตน์ รู้จักเลือกนำมาใช้อย่างมีเหตุผล ยึดหลักทางสายกลางและมีภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาได้ทุกระดับอันจะนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษา รู้จักเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นคนดีมีคุณธรรม ซื้อสัตย์สุจริต อยู่ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ดำรงไว้ซึ่งคุณค่าทางสังคมไทยที่มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
1.2 วางบทบาทการพัฒนาประเทศในอนาคตที่สอดคล้องกับศักยภาพและบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมที่จะวางรากฐานการพัฒนาเป็นสังคมและชุมชนที่เข็มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ มีการใช้ศักยภาพด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ประนีประนอม เปิดกว้างในการเป็นแกนประสานเจรจาเสริมสร้างสันติภาพในภูมิภาค และใช้ศักยภาพการผลิตและบริการเพื่อเตรียมพัฒนาประเทศสู่ความเป็นฐานเศรษฐกิจของภูมิภาค ทั้งด้านการเกษตร การแปรรูปการเกษตรและอาหาร การเป็นฐานการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และศูนย์กลางการศึกษาและวิทยาการที่เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคด้านการขนส่ง ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ รวมทั้งการสื่อสารโทรคมนาคมของภูมิภาค
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของแผนฯ 9
2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ ที่มุ่งแก้ปัญหาสำคัญใน 4 ด้าน คือ 1) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมีภูมิคุ้มกัน เน้นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้มากขึ้น 2) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน เน้นการพัฒนาคุณภาพคน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย 3) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ และ 4) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพ โอกาสให้คนไทยพึ่งพาตนเองได้และพ้นจากความยากจน
2.2 กำหนดเป้าหมายหลักของแผนฯ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ใน 4 ด้าน คือ 1) เป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ 2) เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต 3) เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี และ 4) การลดความยากจน
สำหรับเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจที่มุ่งให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 - 6 ต่อปี นั้น หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย จะมีการปรับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่คาดว่าเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 4 - 5 ต่อปี (จากเดิมร้อยละ 5 - 6 ต่อปี) และจะมีผลให้ต้องปรับเป้าหมายอื่น ๆ ให้สอดคล้องกันด้วย โดยจะนำเสนอตัวเลขเป้าหมายที่ปรับปรุงแล้วทั้งหมดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ภายใต้วัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าวได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนเชื่อมโยงกันใน3 กลุ่ม ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ
กลุ่มที่หนึ่ง การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งมีความสำคัญเป็นลำดับสูงสุด ประกอบด้วย
3.1 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี ให้ความสำคัญกับการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยปรับโครงสร้าง ลดขนาด และปรับบทบาทให้สอดคล้องกับระบบราชการแนวใหม่ ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศมากขึ้น ควบคู่ไปกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบและการกระจายภารกิจความรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กลุ่มที่สอง การเสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง ประกอบด้วย
3.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบสุขภาพ ปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้คนคิดเองทำเองได้มากขึ้น มีการขยายระบบประกันสังคมและการคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง และการปลูกจิตสำนึกในความรักชาติ ความสามัคคีและความเป็นไทย
3.3 ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและลดปัญหาความยากจนทั้งในชนบทและเมือง โดยอาศัยความเข้มแข็งของชุมชน การสร้างสภาวะแวดล้อมเมืองและชุมชนให้มีความน่าอยู่ การพัฒนาแบบรวมกลุ่มการผลิตและกลุ่มพื้นที่ให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพภายใต้กลไกการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
3.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มุ่งปรับกลไกและกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยท้องถิ่นชุมชนและทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง และการจัดการมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มที่สาม การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย
3.5 ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม มุ่งสร้างความเข้มแข็งของภาคการเงินเพื่อผลักดันการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งรักษาวินัยทางการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของประเทศในการเปิดเสรีและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ
3.6 ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาแบบรวมกลุ่มการผลิต การสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การปรับปรุงระบบการเจรจาและความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงานและกระจายรายได้
3.7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำในการประยุกต์พัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและคิดค้นนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังคนและเสริมสร้างพื้นฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์ การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีของตนเองเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มศักยภาพ
4. ลำดับความสำคัญของการพัฒนา
ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งต้องปรับฐานเศรษฐกิจภายในของประเทศให้แข็งแกร่งและขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ โดย
4.1 การเร่งฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ นโยบายการเงินระยะสั้นที่เน้นการดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอ และรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไป ตลอดจนกระตุ้นการขยายตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะการส่งออก การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
4.2 การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจชุมชน โดยส่งเสริมการระดมทุนในลักษณะกองทุนหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการขยายโครงการสินเชื่อรายย่อย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีเอกลักษณ์เฉพาะ รวมทั้งพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงชุมชน เพื่อแปรรูปการผลิตและเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่นสู่ตลาดระดับภูมิภาค ระดับประเทศและต่างประเทศ
4.3 การบรรเทาปัญหาสังคม โดยป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกให้ครบวงจร พัฒนาระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึง พัฒนาทักษะฝีมือและสร้างงานรองรับ คุ้มครองแรงงานทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ
4.4 การแก้ปัญหาความยากจน โดยสร้างโอกาสให้คนจนเข้าถึงบริการของรัฐและสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรม พร้อมกับการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต โดยพัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง รวมทั้งปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐและปฏิรูปกฎหมายให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจน
5. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
การแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องผนึกพลังร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาใหม่ ทั้งด้านวิธีคิดและวิธีการทำงาน โดย
5.1 เริ่มจากกระบวนการสร้างความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปพร้อมกับการสร้างองค์ความรู้ สร้างสภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและขยายเป็นเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคีการพัฒนาอย่างกว้างขวาง
5.2 ต้องมีการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 พร้อมกับจัดทำแผนการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐ เพื่อชี้นำทิศทางการลงทุน ควบคู่ไปกับการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันและสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
5.3 เร่งปรับปรุงกลไกและบทบาทของหน่วยงานกลาง พร้อมทั้งปรับระบบการจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสัมฤทธิ์ กระจายสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ
5.4 พัฒนาระบบและกลไกติดตามประเมินผล สร้างดัชนีชี้วัดระดับต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลและโครงข่ายข้อมูลข่าวสารในทุกระดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
1. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 และให้ดำเนินการนำกราบบังคมทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศตั้งแต่วันที่1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
2. เห็นชอบข้อพิจารณาต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อแจ้งให้สภาที่ปรึกษาฯ ได้ทราบต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9ที่ได้ปรับปรุงจากข้อพิจารณาต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาฯ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา โดยให้มีการปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์จากร้อยละ 5 - 6 ต่อปี เป็นร้อยละ 4 - 5 ต่อปี และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่ออนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ตามขั้นตอนต่อไป สรุปสาระสำคัญร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ดังนี้
1. วิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ
1.1 กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมของสังคมไทยในระยะ 20 ปี ที่มีจุดมุ่งหมายเน้นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยโดยยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" ที่มุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเรียนรู้โลกาภิวัตน์ รู้จักเลือกนำมาใช้อย่างมีเหตุผล ยึดหลักทางสายกลางและมีภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาได้ทุกระดับอันจะนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง คนไทยส่วนใหญ่มีการศึกษา รู้จักเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต เป็นคนดีมีคุณธรรม ซื้อสัตย์สุจริต อยู่ในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สามารถรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม ดำรงไว้ซึ่งคุณค่าทางสังคมไทยที่มีความสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
1.2 วางบทบาทการพัฒนาประเทศในอนาคตที่สอดคล้องกับศักยภาพและบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมที่จะวางรากฐานการพัฒนาเป็นสังคมและชุมชนที่เข็มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับ มีการใช้ศักยภาพด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ประนีประนอม เปิดกว้างในการเป็นแกนประสานเจรจาเสริมสร้างสันติภาพในภูมิภาค และใช้ศักยภาพการผลิตและบริการเพื่อเตรียมพัฒนาประเทศสู่ความเป็นฐานเศรษฐกิจของภูมิภาค ทั้งด้านการเกษตร การแปรรูปการเกษตรและอาหาร การเป็นฐานการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และศูนย์กลางการศึกษาและวิทยาการที่เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคด้านการขนส่ง ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ รวมทั้งการสื่อสารโทรคมนาคมของภูมิภาค
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของแผนฯ 9
2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ ที่มุ่งแก้ปัญหาสำคัญใน 4 ด้าน คือ 1) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมีภูมิคุ้มกัน เน้นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้มากขึ้น 2) เพื่อวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง ยั่งยืน เน้นการพัฒนาคุณภาพคน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสังคมไทย 3) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ และ 4) เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพ โอกาสให้คนไทยพึ่งพาตนเองได้และพ้นจากความยากจน
2.2 กำหนดเป้าหมายหลักของแผนฯ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ใน 4 ด้าน คือ 1) เป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ 2) เป้าหมายการยกระดับคุณภาพชีวิต 3) เป้าหมายการบริหารจัดการที่ดี และ 4) การลดความยากจน
สำหรับเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจที่มุ่งให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 - 6 ต่อปี นั้น หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย จะมีการปรับเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่คาดว่าเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในระดับเฉลี่ยร้อยละ 4 - 5 ต่อปี (จากเดิมร้อยละ 5 - 6 ต่อปี) และจะมีผลให้ต้องปรับเป้าหมายอื่น ๆ ให้สอดคล้องกันด้วย โดยจะนำเสนอตัวเลขเป้าหมายที่ปรับปรุงแล้วทั้งหมดในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ภายใต้วัตถุประสงค์และเป้าหมายดังกล่าวได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนเชื่อมโยงกันใน3 กลุ่ม ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ
กลุ่มที่หนึ่ง การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม ซึ่งมีความสำคัญเป็นลำดับสูงสุด ประกอบด้วย
3.1 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี ให้ความสำคัญกับการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยปรับโครงสร้าง ลดขนาด และปรับบทบาทให้สอดคล้องกับระบบราชการแนวใหม่ ปรับระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศมากขึ้น ควบคู่ไปกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบและการกระจายภารกิจความรับผิดชอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กลุ่มที่สอง การเสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง ประกอบด้วย
3.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบสุขภาพ ปฏิรูปการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้คนคิดเองทำเองได้มากขึ้น มีการขยายระบบประกันสังคมและการคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง และการปลูกจิตสำนึกในความรักชาติ ความสามัคคีและความเป็นไทย
3.3 ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและลดปัญหาความยากจนทั้งในชนบทและเมือง โดยอาศัยความเข้มแข็งของชุมชน การสร้างสภาวะแวดล้อมเมืองและชุมชนให้มีความน่าอยู่ การพัฒนาแบบรวมกลุ่มการผลิตและกลุ่มพื้นที่ให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพภายใต้กลไกการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วม
3.4 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มุ่งปรับกลไกและกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยท้องถิ่นชุมชนและทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วม เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตลอดจนการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง และการจัดการมลพิษอย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มที่สาม การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย
3.5 ยุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม มุ่งสร้างความเข้มแข็งของภาคการเงินเพื่อผลักดันการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งรักษาวินัยทางการคลังและการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความมั่นคงของฐานะการคลัง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของประเทศในการเปิดเสรีและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ
3.6 ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างภาคการผลิตและการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาแบบรวมกลุ่มการผลิต การสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การปรับปรุงระบบการเจรจาและความร่วมมือในเวทีระหว่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการค้าบริการที่มีศักยภาพเพื่อสร้างงานและกระจายรายได้
3.7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มุ่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำในการประยุกต์พัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตและคิดค้นนวัตกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนากำลังคนและเสริมสร้างพื้นฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์ การพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีของตนเองเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มศักยภาพ
4. ลำดับความสำคัญของการพัฒนา
ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งต้องปรับฐานเศรษฐกิจภายในของประเทศให้แข็งแกร่งและขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ โดย
4.1 การเร่งฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ นโยบายการเงินระยะสั้นที่เน้นการดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอ และรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไป ตลอดจนกระตุ้นการขยายตัวของภาคการผลิต โดยเฉพาะการส่งออก การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
4.2 การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ที่มุ่งเน้นการพัฒนาธุรกิจชุมชน โดยส่งเสริมการระดมทุนในลักษณะกองทุนหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการขยายโครงการสินเชื่อรายย่อย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีเอกลักษณ์เฉพาะ รวมทั้งพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงชุมชน เพื่อแปรรูปการผลิตและเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่นสู่ตลาดระดับภูมิภาค ระดับประเทศและต่างประเทศ
4.3 การบรรเทาปัญหาสังคม โดยป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกให้ครบวงจร พัฒนาระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึง พัฒนาทักษะฝีมือและสร้างงานรองรับ คุ้มครองแรงงานทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ
4.4 การแก้ปัญหาความยากจน โดยสร้างโอกาสให้คนจนเข้าถึงบริการของรัฐและสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเป็นธรรม พร้อมกับการสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต โดยพัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง รวมทั้งปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐและปฏิรูปกฎหมายให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจน
5. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ
การแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องผนึกพลังร่วมจากทุกฝ่ายในสังคม ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์การพัฒนาใหม่ ทั้งด้านวิธีคิดและวิธีการทำงาน โดย
5.1 เริ่มจากกระบวนการสร้างความเข้าใจในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปพร้อมกับการสร้างองค์ความรู้ สร้างสภาวะผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและขยายเป็นเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคีการพัฒนาอย่างกว้างขวาง
5.2 ต้องมีการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 พร้อมกับจัดทำแผนการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐ เพื่อชี้นำทิศทางการลงทุน ควบคู่ไปกับการจัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันและสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
5.3 เร่งปรับปรุงกลไกและบทบาทของหน่วยงานกลาง พร้อมทั้งปรับระบบการจัดสรรงบประมาณที่เน้นผลสัมฤทธิ์ กระจายสู่ท้องถิ่นชุมชนอย่างสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ
5.4 พัฒนาระบบและกลไกติดตามประเมินผล สร้างดัชนีชี้วัดระดับต่าง ๆ รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลและโครงข่ายข้อมูลข่าวสารในทุกระดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-