ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยว 4 ประเทศ ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอ การให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสหภาพพม่า ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5 - 7 ตุลาคม 2543
การประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวครั้งนี้เป็นการตกลงในการดำเนินการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของสี่ประเทศระหว่างหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวนานาชาติมายังประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลไปถึงด้านการเชื่อมโยงทางคมนาคมพาณิชย์ การลงทุนและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสี่ประเทศอีกด้วย โดยที่ประชุมได้มีการลงนามในบันทึกการประชุมที่ได้ตกลงกันในแผนงานความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ในด้านการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทั้งสี่ประเทศจะร่วมกันผลักดันการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมที่มีศักยภาพในการเป็นเส้นทางการเดินทางของนักท่องเที่ยวนานาชาติทั้งทางอากาศ ทางบก และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศของตน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระหว่างประเทศ
2. การพัฒนาการท่องเที่ยวในเส้นทางแม่น้ำโขง ทั้งสี่ประเทศจะร่วมมือกันในการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาแม่น้ำโขงเพื่อเป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งให้เป็นประโยชน์ต่อการเดินทางท่องเที่ยวในเส้นทางที่เชื่อมโยงกันและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่าง ๆ ของทั้งสี่ประเทศที่เป็นเส้นทางการเดินทางของนักท่องเที่ยว
3. การอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยวในด้านการผ่อนคลายกฎระเบียบการเดินทางเข้าเมือง พิธีการทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกด้านการอนุญาตเข้าเมือง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) การตรวจลงตราในหนังสือเดินทางและค่าธรรมเนียมที่สอดคล้องกันทั้งสี่ประเทศ โดยตกลงกันว่าหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศแต่ละฝ่ายจะได้ประสานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในประเทศของตนเพื่อขอให้มีการดำเนินการในส่วนเกี่ยวข้องที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมายังประเทศของตน และทั้งสี่ประเทศให้มากที่สุด
4. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ทั้งสี่หน่วยงานจะร่วมมือในการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังภูมิภาค โดยการดำเนินการร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาภูมิภาคซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้เสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่นการจัดทำแผนพัฒนาทางการท่องเที่ยวของแขวงจำปาสัก หลวงพระบาง และการศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ภาคใต้ของ สปป.ลาว และภาคเหนือของกัมพูชา โดยใช้เป็นแหล่งการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาอารยธรรมขอม รวมทั้งความร่วมมือในการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพื่อขยายฐานการท่องเที่ยวของทั้งสี่ประเทศด้วย
5. การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการส่งเสริมการลงทุนด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างสี่ประเทศ ทั้งนี้ โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริมการลงทุนในประเทศของตน
6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งทั้งสี่ประเทศจะสนับสนุนซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมบุคลากรทางการท่องเที่ยวและการขอรับการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศในการดำเนินการ
7. การดำเนินการด้านการตลาด ซึ่งทั้งสี่ประเทศได้เห็นชอบในการเสนอรายการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวของทั้งสี่ประเทศในลักษณะ Four in One Destination ให้ธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนทำการเสนอขายในตลาดต่างประเทศ และดำเนินการจัดรายการนำเที่ยว โดยหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งสี่จะสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และดำเนินการด้านการตลาด ซึ่งจะทำการเชิญตัวแทนบริษัทนำเที่ยวและสื่อมวลชนในตลาดการท่องเที่ยวที่สำคัญทั่วโลกมาทัศนศึกษา และสำนักงานต่างประเทศของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 15 แห่งทั่วโลกจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ข่าวสาร และจะได้ทำการเผยแพร่ร่วมกันในงานแสดงสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ ของโลก เช่น งาน World Travel Market ที่กรุงลอนดอน และงาน International Tourism Borse - ITB ที่กรุงเบอร์ลิน ด้วย
8. การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งหน่วยงานทั้งสี่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการของธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการลงทุนของแต่ละประเทศในการประกอบการและส่งเสริมความร่วมมือ และการดำเนินธุรกิจร่วมกันของภาคเอกชนทั้งสี่ประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวของประเทศไทย กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า ได้เห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายเลขานุการ (Thailand Combodia Lao and Myanmar - TCLM Secretariat) ขึ้น โดยมี ททท. เป็นแกนกลางในการประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสามหน่วยงานเพื่อดำเนินการตามแผนงานความร่วมมือ ที่ได้ตกลงกันในการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งจะได้จัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวของสี่ประเทศขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยว 4 ประเทศ ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เสนอ การให้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวระหว่างประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และสหภาพพม่า ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5 - 7 ตุลาคม 2543
การประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวครั้งนี้เป็นการตกลงในการดำเนินการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของสี่ประเทศระหว่างหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวนานาชาติมายังประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งสามเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลไปถึงด้านการเชื่อมโยงทางคมนาคมพาณิชย์ การลงทุนและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสี่ประเทศอีกด้วย โดยที่ประชุมได้มีการลงนามในบันทึกการประชุมที่ได้ตกลงกันในแผนงานความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ในด้านการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมทั้งสี่ประเทศจะร่วมกันผลักดันการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมที่มีศักยภาพในการเป็นเส้นทางการเดินทางของนักท่องเที่ยวนานาชาติทั้งทางอากาศ ทางบก และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศของตน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระหว่างประเทศ
2. การพัฒนาการท่องเที่ยวในเส้นทางแม่น้ำโขง ทั้งสี่ประเทศจะร่วมมือกันในการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาแม่น้ำโขงเพื่อเป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งให้เป็นประโยชน์ต่อการเดินทางท่องเที่ยวในเส้นทางที่เชื่อมโยงกันและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่าง ๆ ของทั้งสี่ประเทศที่เป็นเส้นทางการเดินทางของนักท่องเที่ยว
3. การอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยวในด้านการผ่อนคลายกฎระเบียบการเดินทางเข้าเมือง พิธีการทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกด้านการอนุญาตเข้าเมือง ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) การตรวจลงตราในหนังสือเดินทางและค่าธรรมเนียมที่สอดคล้องกันทั้งสี่ประเทศ โดยตกลงกันว่าหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศแต่ละฝ่ายจะได้ประสานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในประเทศของตนเพื่อขอให้มีการดำเนินการในส่วนเกี่ยวข้องที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวมายังประเทศของตน และทั้งสี่ประเทศให้มากที่สุด
4. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ทั้งสี่หน่วยงานจะร่วมมือในการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังภูมิภาค โดยการดำเนินการร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาภูมิภาคซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้เสนอให้ที่ประชุมได้รับทราบความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่นการจัดทำแผนพัฒนาทางการท่องเที่ยวของแขวงจำปาสัก หลวงพระบาง และการศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ภาคใต้ของ สปป.ลาว และภาคเหนือของกัมพูชา โดยใช้เป็นแหล่งการท่องเที่ยวเพื่อศึกษาอารยธรรมขอม รวมทั้งความร่วมมือในการจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพเพื่อขยายฐานการท่องเที่ยวของทั้งสี่ประเทศด้วย
5. การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการส่งเสริมการลงทุนด้านการท่องเที่ยวและการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างสี่ประเทศ ทั้งนี้ โดยการประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการส่งเสริมการลงทุนในประเทศของตน
6. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งทั้งสี่ประเทศจะสนับสนุนซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมบุคลากรทางการท่องเที่ยวและการขอรับการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศในการดำเนินการ
7. การดำเนินการด้านการตลาด ซึ่งทั้งสี่ประเทศได้เห็นชอบในการเสนอรายการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวของทั้งสี่ประเทศในลักษณะ Four in One Destination ให้ธุรกิจท่องเที่ยวภาคเอกชนทำการเสนอขายในตลาดต่างประเทศ และดำเนินการจัดรายการนำเที่ยว โดยหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งสี่จะสนับสนุนในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และดำเนินการด้านการตลาด ซึ่งจะทำการเชิญตัวแทนบริษัทนำเที่ยวและสื่อมวลชนในตลาดการท่องเที่ยวที่สำคัญทั่วโลกมาทัศนศึกษา และสำนักงานต่างประเทศของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 15 แห่งทั่วโลกจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ข่าวสาร และจะได้ทำการเผยแพร่ร่วมกันในงานแสดงสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ ของโลก เช่น งาน World Travel Market ที่กรุงลอนดอน และงาน International Tourism Borse - ITB ที่กรุงเบอร์ลิน ด้วย
8. การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งหน่วยงานทั้งสี่จะให้การสนับสนุนการดำเนินการของธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการลงทุนของแต่ละประเทศในการประกอบการและส่งเสริมความร่วมมือ และการดำเนินธุรกิจร่วมกันของภาคเอกชนทั้งสี่ประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศด้วย
ทั้งนี้ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวของประเทศไทย กัมพูชา สปป.ลาว และพม่า ได้เห็นชอบในการจัดตั้งฝ่ายเลขานุการ (Thailand Combodia Lao and Myanmar - TCLM Secretariat) ขึ้น โดยมี ททท. เป็นแกนกลางในการประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสามหน่วยงานเพื่อดำเนินการตามแผนงานความร่วมมือ ที่ได้ตกลงกันในการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งจะได้จัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีท่องเที่ยวของสี่ประเทศขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อความต่อเนื่องในการดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-