แท็ก
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบมติการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2543 วันที่ 21 มิถุนายน 2543 ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้การรับรองเรียบร้อยแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ รวม 9 เรื่อง เป็นเรื่องเพื่อทราบ 4 เรื่อง เรื่องพิจารณา 5 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องเพื่อทราบ
1.1 การขอพระราชทานชื่อสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ เนื้อที่ 148 ไร่ ตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
1.2 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการสวนกลางมหานคร
1.3 การร้องเรียนกรณีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตคันกั้นน้ำเค็มบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
1.4 สรุปผลการประชุม The First Global Ministerial Environment Forum
2. เรื่องพิจารณา
2.1 ค่ามาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากโรงงานเหล็ก
มติ
1) เห็นชอบกับการกำหนดค่ามาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากโรงงานเหล็ก โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดค่ามาตรฐาน Dioxin และค่า No Visible Emission โดยให้กรมควบคุมมลพิษดำเนินการศึกษาในรายละเอียดและนำเสนอคณะกรรมการฯ ต่อไป
2.2 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการศึกษาความเหมาะสมของระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
มติ
1) เห็นชอบต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการศึกษาความเหมาะสมของระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่น ๆ ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยมีเงื่อนไขให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการ รวม 7 ประการ
2) เห็นชอบมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในรูปแผนปฏิบัติการ จำนวน 14 แผน โดยให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด
3) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 และประกาศคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยการประชาพิจารณ์เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2540 ดังรายละเอียดในแผนปฏิบัติการประชาพิจารณ์เพื่อนำผลที่ได้จากการจัดประชาพิจารณ์เสนอคณะรัฐมนตรีก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการฯ
4) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการ รวม 5 ประการ
2.3 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (สายเหนือและสายใต้) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
มติ
1) เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (สายเหนือและสายใต้) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่น ๆ ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ยกเว้นเส้นทางของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วง N1B (จากสามแยกวงศ์สว่าง - สามแยกเกษตร)
2) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามเงื่อนไขและมาตรการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่น ๆ ของรัฐและรัฐวิสาหกิจอย่างเคร่งครัด รวม 9 ประการ
3) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ข้อสังเกตว่าในการนำเสนอโครงการของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบในเบื้องต้นก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัตินั้น ควรให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ประกอบการพิจารณาด้วย และหากข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่เพียงพอ จึงให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนั้น จึงมอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมดำเนินการศึกษา และจัดทำแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นสำหรับโครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน โดยทั้งนี้ให้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ แล้วนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
2.4 การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
มติ เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานฯ 7 คณะ
2.5 การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านกลไกการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม
มติ เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านกลไกการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยให้แต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เป็นกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ชุดดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบมติการประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2543 วันที่ 21 มิถุนายน 2543 ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้การรับรองเรียบร้อยแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ รวม 9 เรื่อง เป็นเรื่องเพื่อทราบ 4 เรื่อง เรื่องพิจารณา 5 เรื่อง สรุปได้ดังนี้
1. เรื่องเพื่อทราบ
1.1 การขอพระราชทานชื่อสวนสาธารณะและสวนพฤกษชาติ เนื้อที่ 148 ไร่ ตำบลบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
1.2 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการโครงการสวนกลางมหานคร
1.3 การร้องเรียนกรณีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตคันกั้นน้ำเค็มบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
1.4 สรุปผลการประชุม The First Global Ministerial Environment Forum
2. เรื่องพิจารณา
2.1 ค่ามาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากโรงงานเหล็ก
มติ
1) เห็นชอบกับการกำหนดค่ามาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากโรงงานเหล็ก โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
2) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดค่ามาตรฐาน Dioxin และค่า No Visible Emission โดยให้กรมควบคุมมลพิษดำเนินการศึกษาในรายละเอียดและนำเสนอคณะกรรมการฯ ต่อไป
2.2 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการศึกษาความเหมาะสมของระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
มติ
1) เห็นชอบต่อรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการศึกษาความเหมาะสมของระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่น ๆ ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยมีเงื่อนไขให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการ รวม 7 ประการ
2) เห็นชอบมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในรูปแผนปฏิบัติการ จำนวน 14 แผน โดยให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด
3) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ โดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539 และประกาศคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยการประชาพิจารณ์เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีการในการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2540 ดังรายละเอียดในแผนปฏิบัติการประชาพิจารณ์เพื่อนำผลที่ได้จากการจัดประชาพิจารณ์เสนอคณะรัฐมนตรีก่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการฯ
4) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการ รวม 5 ประการ
2.3 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (สายเหนือและสายใต้) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
มติ
1) เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (สายเหนือและสายใต้) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่น ๆ ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ยกเว้นเส้นทางของโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 ช่วง N1B (จากสามแยกวงศ์สว่าง - สามแยกเกษตร)
2) ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามเงื่อนไขและมาตรการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอื่น ๆ ของรัฐและรัฐวิสาหกิจอย่างเคร่งครัด รวม 9 ประการ
3) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ข้อสังเกตว่าในการนำเสนอโครงการของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบในเบื้องต้นก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัตินั้น ควรให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ประกอบการพิจารณาด้วย และหากข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่เพียงพอ จึงให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังนั้น จึงมอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมดำเนินการศึกษา และจัดทำแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นสำหรับโครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน โดยทั้งนี้ให้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ แล้วนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาต่อไป
2.4 การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
มติ เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานฯ 7 คณะ
2.5 การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านกลไกการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม
มติ เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านกลไกการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยให้แต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือผู้แทน เป็นกรรมการเพิ่มเติมในคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ชุดดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-