คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ รายงานการดำเนินการในกรอบของสหประชาชาติเกี่ยวกับเหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา ตามที่ได้รับรายงานจากคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และจากประมวลข่าวต่าง ๆ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อประชาชนสหรัฐฯ ต่อเหตุการณ์ที่ World Trade Center และที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และระบุไว้ชัดเจนว่า การโจมตีดังกล่าวเป็นการกระทำที่จงใจของกลุ่มผู้ก่อการร้ายซึ่งได้มีการวางแผนมาอย่างดี พร้อมทั้งกล่าวประณามผู้กระทำการดังกล่าว
2. เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2544 ที่ประชุมสมัชชาฯ สมัยสามัญ ครั้งที่ 56 ได้รับรองข้อมติฉบับแรก เรื่องการประณามการก่อการร้ายในสหรัฐฯ (Condemnation of terrorist attacks in the United States of America) โดยฉันทามติ สาระสำคัญของข้อมติฯ มีดังนี้
2.1 ประณามอย่างรุนแรงต่อการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต และความเสียหายอย่างมหาศาลในนครนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในมลรัฐเพนซิลเวเนีย
2.2 แสดงความเสียใจร่วมกับประชาชนและรัฐบาลสหรัฐฯ ในสถานการณ์ที่น่าเศร้าสลดใจในครั้งนี้
2.3 เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิด ผู้ก่อการร้าย และผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยด่วน
2.4 เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและขจัดการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายโดยด่วน และย้ำว่าผู้รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือให้การพักพิงแก่ผู้กระทำความผิด ผู้ก่อการร้าย และผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าว จะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย
3. ในการประชุมสมัชชาฯ เพื่อพิจารณาข้อมติในข้อ 2 เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความเสียใจต่อประชาชนและรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้าย ผู้ที่สนับสนุน และผู้ที่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อการร้ายเหล่านั้น ขณะเดียวกันประธานกลุ่มภูมิภาคต่าง ๆ ได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความเสียใจต่อสหรัฐฯ ย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และเน้นย้ำการสนับสนุนร่างข้อมติของที่ประชุมสมัชชาฯ
4. ในวันที่ 12 กันยายน 2544 คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้พิจารณารับรองข้อมติ ที่ 1368 เพื่อแสดงท่าทีและจุดยืนของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวโดยฉันทามติ สาระสำคัญของข้อมติ มีดังนี้
4.1 ในส่วนของวรรคอารัมภบท
1) แสดงความมุ่งมั่นในการต่อสู้ทุกวิถีทาง (by all means) ต่อภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้าย
2) ยอมรับถึงสิทธิในการป้องกันตนเอง ทั้งแบบร่วมกันและเฉพาะของแต่ละรัฐที่เป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติ
4.2 ในส่วนของวรรคปฏิบัติการ
1) ประณามอย่างรุนแรงต่อการก่อการร้ายที่นครนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และมลรัฐเพนซิลวาเนีย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 และพิจารณาว่า การกระทำดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2) เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันเพื่อให้สามารถนำตัวผู้กระทำความผิด ผู้สนับสนุน และผู้วางแผนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุด และเน้นว่าใครก็ตามที่ช่วยเหลือ หรือให้ที่พักพิงกับบุคคลดังกล่าว จะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย (accountable)
3) เรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่มความพยายามที่จะร่วมมือกันในการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ถือว่าเป็นการก่อการร้ายมากขึ้น และปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อมติต่าง ๆ ของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้าย
4) แสดงความพร้อมในการดำเนินการใด ๆ ที่เหมาะสมเพื่อตอบโต้การก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544
ทั้งนี้ เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงฯ กระตุ้นให้ทุกประเทศร่วมมือกันเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ และถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการโจมตีมวลมนุษยชาติขณะเดียวกันเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า สหรัฐฯ จะไม่หวั่นไหวต่อการกระทำครั้งนี้ และเรียกร้องให้ประเทศที่สนับสนุนสันติภาพ ความยุติธรรมและความมั่นคง ร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 นาย Kofi Annan เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อประชาชนสหรัฐฯ ต่อเหตุการณ์ที่ World Trade Center และที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และระบุไว้ชัดเจนว่า การโจมตีดังกล่าวเป็นการกระทำที่จงใจของกลุ่มผู้ก่อการร้ายซึ่งได้มีการวางแผนมาอย่างดี พร้อมทั้งกล่าวประณามผู้กระทำการดังกล่าว
2. เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2544 ที่ประชุมสมัชชาฯ สมัยสามัญ ครั้งที่ 56 ได้รับรองข้อมติฉบับแรก เรื่องการประณามการก่อการร้ายในสหรัฐฯ (Condemnation of terrorist attacks in the United States of America) โดยฉันทามติ สาระสำคัญของข้อมติฯ มีดังนี้
2.1 ประณามอย่างรุนแรงต่อการกระทำอันเป็นการก่อการร้าย ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต และความเสียหายอย่างมหาศาลในนครนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในมลรัฐเพนซิลเวเนีย
2.2 แสดงความเสียใจร่วมกับประชาชนและรัฐบาลสหรัฐฯ ในสถานการณ์ที่น่าเศร้าสลดใจในครั้งนี้
2.3 เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิด ผู้ก่อการร้าย และผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าวมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยด่วน
2.4 เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและขจัดการกระทำอันเป็นการก่อการร้ายโดยด่วน และย้ำว่าผู้รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือให้การพักพิงแก่ผู้กระทำความผิด ผู้ก่อการร้าย และผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าว จะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย
3. ในการประชุมสมัชชาฯ เพื่อพิจารณาข้อมติในข้อ 2 เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความเสียใจต่อประชาชนและรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศร่วมมือกันเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและมุ่งมั่นที่จะดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้าย ผู้ที่สนับสนุน และผู้ที่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อการร้ายเหล่านั้น ขณะเดียวกันประธานกลุ่มภูมิภาคต่าง ๆ ได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความเสียใจต่อสหรัฐฯ ย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย และเน้นย้ำการสนับสนุนร่างข้อมติของที่ประชุมสมัชชาฯ
4. ในวันที่ 12 กันยายน 2544 คณะมนตรีความมั่นคงฯ ได้พิจารณารับรองข้อมติ ที่ 1368 เพื่อแสดงท่าทีและจุดยืนของคณะมนตรีความมั่นคงฯ เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าวโดยฉันทามติ สาระสำคัญของข้อมติ มีดังนี้
4.1 ในส่วนของวรรคอารัมภบท
1) แสดงความมุ่งมั่นในการต่อสู้ทุกวิถีทาง (by all means) ต่อภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้าย
2) ยอมรับถึงสิทธิในการป้องกันตนเอง ทั้งแบบร่วมกันและเฉพาะของแต่ละรัฐที่เป็นไปตามกฎบัตรสหประชาชาติ
4.2 ในส่วนของวรรคปฏิบัติการ
1) ประณามอย่างรุนแรงต่อการก่อการร้ายที่นครนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และมลรัฐเพนซิลวาเนีย เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 และพิจารณาว่า การกระทำดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
2) เรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมมือกันเพื่อให้สามารถนำตัวผู้กระทำความผิด ผู้สนับสนุน และผู้วางแผนมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุด และเน้นว่าใครก็ตามที่ช่วยเหลือ หรือให้ที่พักพิงกับบุคคลดังกล่าว จะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย (accountable)
3) เรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่มความพยายามที่จะร่วมมือกันในการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ถือว่าเป็นการก่อการร้ายมากขึ้น และปฏิบัติตามอนุสัญญาและข้อมติต่าง ๆ ของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการร้าย
4) แสดงความพร้อมในการดำเนินการใด ๆ ที่เหมาะสมเพื่อตอบโต้การก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544
ทั้งนี้ เลขาธิการสหประชาชาติได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงฯ กระตุ้นให้ทุกประเทศร่วมมือกันเพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ และถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการโจมตีมวลมนุษยชาติขณะเดียวกันเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า สหรัฐฯ จะไม่หวั่นไหวต่อการกระทำครั้งนี้ และเรียกร้องให้ประเทศที่สนับสนุนสันติภาพ ความยุติธรรมและความมั่นคง ร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามต่อสู้กับการก่อการร้าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-