คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ได้ปรับปรุงตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติอนุมัติหลักการร่างระเบียบดังกล่าวตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง)เป็นประธานกรรมการฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตและความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงมหาดไทย และสำนักนายกรัฐมนตรี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2532 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายบริหารจัดการ การอนุรักษ์ และบำรุงรักษาทรัพยากรน้ำในระดับชาติและระดับท้องถิ่น จึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม "ลุ่มน้ำ" "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" และ "องค์กรผู้ใช้น้ำ"
2. ให้อำนาจคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละลุ่มน้ำที่กำหนด โดยคัดเลือกจากบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่หรือผู้อาศัยในเขตลุ่มน้ำ โดยเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ ผู้มีส่วนได้เสียกับการใช้ทรัพยากรน้ำ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และผลงาน หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีสัดส่วนและจำนวนตามความเหมาะสมในแต่ละลุ่มน้ำ
3. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กทช.) เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ แนวทางแก้ไขปัญหา จัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ฯลฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานว่า คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2532 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายการกระจายอำนาจของรัฐจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น รวมทั้งให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายบริหารจัดการ การอนุรักษ์ และบำรุงรักษาทรัพยากรน้ำในระดับชาติและระดับท้องถิ่น จึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำนิยาม "ลุ่มน้ำ" "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" และ "องค์กรผู้ใช้น้ำ"
2. ให้อำนาจคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละลุ่มน้ำที่กำหนด โดยคัดเลือกจากบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่หรือผู้อาศัยในเขตลุ่มน้ำ โดยเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ ผู้มีส่วนได้เสียกับการใช้ทรัพยากรน้ำ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และผลงาน หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีสัดส่วนและจำนวนตามความเหมาะสมในแต่ละลุ่มน้ำ
3. กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กทช.) เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ แนวทางแก้ไขปัญหา จัดทำแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำ ฯลฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-