คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตรของกระทรวงการคลัง ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ที่เห็นควรยืนยันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตร โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปศึกษาเพิ่มเติมรายละเอียดเพื่อให้เกิดความรอบคอบ แล้วนำเข้าคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตรจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และช่วยให้เกษตรกรสามารถรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินในฤดูการผลิตใหม่ได้ สำหรับเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานของกองทุนฯ ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณา โดยให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 เรื่อง การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ต่อไปทั้งนี้ ให้รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 ไปพิจารณาด้วย
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543 คือ อนุมัติตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ (คศก.) ให้จัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตรขึ้นที่กรมบัญชีกลาง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินงานกองทุนเป็นประจำทุกปี โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานดำเนินงานกองทุน
กองทุนฯ มีรูปแบบการดำเนินงานในการกำหนดประเภทของพืช กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย และภัยธรรมชาติไว้ในระบบประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกรดังต่อไปนี้
1. พืชผลที่คุ้มครอง ในช่วงแรกกำหนดไว้ 3 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
2. ภัยที่คุ้มครองมี 3 ภัย คือ อุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง
3. เกษตรกรเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. เกษตรกรสมาชิกสถาบันเกษตรกร และเกษตรกรทั่วไปที่ปลูกข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 2.25 ล้านครัวเรือน
4. พื้นที่เป้าหมาย ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ประมาณ 35.41 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
5. กำหนดวงเงินคุ้มครองข้าวนาปี จำนวน 800 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง จำนวน 1,000 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 900 บาทต่อไร่
6. อัตราเงินนำเข้ากองทุน รวม 1,656.80 ล้านบาท เป็นเงินที่เกษตรกรและรัฐบาลจ่ายสมทบฝ่ายละ828.40 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินงานกองทุน จำนวน 1,268.58 ล้านบาท จำแนกเป็น3 ส่วน ดังนี้
รายการ งบประมาณ (ล้านบาท)
1. เงินอุดหนุนนำเข้ากองทุน (ร้อยละ 50 ของเงินกองทุนฯ) 828.40
2. เงินสำรองสำหรับมหันตภัย (ช่วงความเสียหายเกินร้อยละ 95 - ร้อยละ 110) 248.52
3. ค่าเบี้ยประกันภัยต่อ (ช่วงความเสียหายเกินร้อยละ 100 - ร้อยละ 160) 191.66
รวมงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล 1,268.58
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-
เนื่องจากการจัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตรจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ และช่วยให้เกษตรกรสามารถรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินในฤดูการผลิตใหม่ได้ สำหรับเงินค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานของกองทุนฯ ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณา โดยให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2544 เรื่อง การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ต่อไปทั้งนี้ ให้รับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 ไปพิจารณาด้วย
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543 คือ อนุมัติตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ (คศก.) ให้จัดตั้งกองทุนร่วมบรรเทาความเสียหายทางการเกษตรขึ้นที่กรมบัญชีกลาง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินงานกองทุนเป็นประจำทุกปี โดยมอบหมายให้ ธ.ก.ส. เป็นหน่วยงานดำเนินงานกองทุน
กองทุนฯ มีรูปแบบการดำเนินงานในการกำหนดประเภทของพืช กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย และภัยธรรมชาติไว้ในระบบประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่เกษตรกรดังต่อไปนี้
1. พืชผลที่คุ้มครอง ในช่วงแรกกำหนดไว้ 3 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
2. ภัยที่คุ้มครองมี 3 ภัย คือ อุทกภัย วาตภัย และภัยแล้ง
3. เกษตรกรเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. เกษตรกรสมาชิกสถาบันเกษตรกร และเกษตรกรทั่วไปที่ปลูกข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประมาณ 2.25 ล้านครัวเรือน
4. พื้นที่เป้าหมาย ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ประมาณ 35.41 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 50 ของพื้นที่ปลูกข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
5. กำหนดวงเงินคุ้มครองข้าวนาปี จำนวน 800 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง จำนวน 1,000 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 900 บาทต่อไร่
6. อัตราเงินนำเข้ากองทุน รวม 1,656.80 ล้านบาท เป็นเงินที่เกษตรกรและรัฐบาลจ่ายสมทบฝ่ายละ828.40 ล้านบาท
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินงานกองทุน จำนวน 1,268.58 ล้านบาท จำแนกเป็น3 ส่วน ดังนี้
รายการ งบประมาณ (ล้านบาท)
1. เงินอุดหนุนนำเข้ากองทุน (ร้อยละ 50 ของเงินกองทุนฯ) 828.40
2. เงินสำรองสำหรับมหันตภัย (ช่วงความเสียหายเกินร้อยละ 95 - ร้อยละ 110) 248.52
3. ค่าเบี้ยประกันภัยต่อ (ช่วงความเสียหายเกินร้อยละ 100 - ร้อยละ 160) 191.66
รวมงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล 1,268.58
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 22 พ.ค.2544
-สส-