ทำเนียบรัฐบาล--7 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. …. ตามที่คณะกรรมการนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ และความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำจำกัดความและกำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. องค์ประกอบและที่มา
2.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยมีนายก-รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง 5 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 7 คน
2.2 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ โดยให้มีหน้าที่กำกับ ดูแลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
2.3 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
2.4 กำหนดองค์ประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาด
3. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
3.1 กำหนดโครงการของรัฐที่อาจจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์คือ โครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับประชาชนหรือชุมชนท้องถิ่น
3.2 การร้องขอให้หน่วยงานของรัฐทำประชาพิจารณ์ ประชาชนสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- การเข้าชื่อเรียกร้องจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 คน
- ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อวินิจฉัย
4. คณะกรรมการประชาพิจารณ์
4.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการประชาพิจารณ์จำนวนไม่เกิน 11 คน และให้มีบุคลากรของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้เป็นเจ้าของโครงการอย่างน้อย 3 คน
4.2 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
4.3 หลักเกณฑ์การจัดทำประชาพิจารณ์
4.4 วิธีการจัดทำประชาพิจารณ์
5. การยื่นอุทธรณ์ผลการตัดสินของหน่วยงานของรัฐ
6. บทเฉพาะกาล
- ให้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2518 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. …. ตามที่คณะกรรมการนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ และความเห็นและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดคำจำกัดความและกำหนดให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. องค์ประกอบและที่มา
2.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยมีนายก-รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง 5 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 7 คน
2.2 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ โดยให้มีหน้าที่กำกับ ดูแลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
2.3 กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
2.4 กำหนดองค์ประชุมและการวินิจฉัยชี้ขาด
3. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
3.1 กำหนดโครงการของรัฐที่อาจจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์คือ โครงการของรัฐที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับประชาชนหรือชุมชนท้องถิ่น
3.2 การร้องขอให้หน่วยงานของรัฐทำประชาพิจารณ์ ประชาชนสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- การเข้าชื่อเรียกร้องจำนวนไม่น้อยกว่า 1,000 คน
- ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อวินิจฉัย
4. คณะกรรมการประชาพิจารณ์
4.1 กำหนดให้มีคณะกรรมการประชาพิจารณ์จำนวนไม่เกิน 11 คน และให้มีบุคลากรของหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้เป็นเจ้าของโครงการอย่างน้อย 3 คน
4.2 กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประชาพิจารณ์
4.3 หลักเกณฑ์การจัดทำประชาพิจารณ์
4.4 วิธีการจัดทำประชาพิจารณ์
5. การยื่นอุทธรณ์ผลการตัดสินของหน่วยงานของรัฐ
6. บทเฉพาะกาล
- ให้ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการผังเมือง พ.ศ. 2518 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอให้แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังเมืองใช้บังคับต่อไปได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัตินี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 มีนาคม 2543--