คณะรัฐมนตรีรับทราบการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ของกระทรวงสาธารณสุข ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน2544 ได้ลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขปรับปรุงใหม่ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) ร่วมกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาในรายละเอียดต่อไป แล้วให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรโดยด่วน
บัดนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) ได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแล้ว กำหนดแนวทางให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. กรมบัญชีกลาง กรมการประกันภัย และสำนักงานประกันสังคม) และสำนักงานฯ ได้ปรับปรุงรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ….เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรก็ได้เห็นชอบในหลักการ และมีมติให้ส่งสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดส่งร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดเข้าวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรให้ทันการประชุมในวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน2544
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าในปัจจุบันมีประชากรในประเทศหลายกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ การรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นต้น ซึ่งทำให้การบริหารจัดการด้านสาธารณสุขของประเทศเป็นไปอย่างกระจัดกระจายและเกิดความซ้ำซ้อนกันในการใช้สิทธิ นอกจากนี้ ยังมีประชากรของประเทศอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีสิทธิใด ๆ ในการได้รับความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล จึงทำให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้ประสบปัญหาในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลความเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัย ซึ่งการที่ประชาชนของประเทศยังขาดหลักประกันสุขภาพหรือมีหลักประกันสุขภาพที่ไม่เพียงพอนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการจัดระบบด้านสุขภาพของประเทศให้เป็นระบบที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี ดังนั้น จึงควรให้มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นเพื่อรวมการบริหารจัดการด้านการรักษาพยาบาลตามกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการบริหารจัดการเป็นหน่วยงานเดียว ทั้งนี้ เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมด้านสาธารณสุขของประเทศมิให้มีการจัดการที่ซ้ำซ้อนกัน และให้การบริการสาธารณสุขที่ประชาชนจะได้รับมีคุณภาพและมาตรฐาน โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการให้บริการเป็นส่วนใหญ่ และผู้รับบริการจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงจำนวนน้อย และในส่วนของผู้ยากไร้จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ที่จะให้สิทธิแก่ประชาชนทั้งประเทศได้เข้ารับการรักษาพยาบาลโดยทั่วถึงกัน โดยรัฐจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ และผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงจำนวนน้อย (เช่น30 บาทต่อครั้ง) เว้นแต่ผู้ยากไร้จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในการดำเนินการจะรวมการจัดการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บุคคลหลายกลุ่มได้รับการช่วยเหลือตามกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายเข้าไว้ด้วยกันเพื่อลดรายจ่ายโดยรวมด้านสาธารณสุขของประเทศมิให้มีการจัดการที่ซ้ำซ้อนกันด้วย ทั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้
1. กำหนดสิทธิของบุคคลที่จะลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำเพื่อใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
2. กำหนดให้มีองค์กรเพื่อกำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ กำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน รวมทั้งกำหนดอัตราค่าบริการในการเข้ารับบริการสาธารณสุข
3. ให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข และมีเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการ
4. ให้มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และสนับสนุนการบริหารจัดการของสำนักงาน
5. กำหนดหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการเพื่อให้บริการสาธารณสุขตามร่างพระราชบัญญัตินี้รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของหน่วยบริการเพื่อให้มีมาตรฐานการบริการสาธารณสุข
6. ให้มีคณะกรรมการควบคุมกำกับมาตรฐานบริการสาธารณสุข เพื่อทำหน้าที่ควบคุมกำกับหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการให้มีมาตรฐาน รวมทั้งพิจารณาการร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
ในการดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการประมาณการว่าจะต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยมีแหล่งที่มาของเงินจากส่วนต่าง ๆ ดังนี้
แหล่งเงิน 2544
1. กระทรวงสาธารณสุข 35,966
2. กระทรวงอื่น ๆ 6,861
3. การปกครองส่วนท้องถิ่น 1,819
4. สวัสดิการข้าราชการ 16,440
5. สวัสดิการรัฐวิสาหกิจ 3,180
6. ประกันสังคม 8,700
7. กองทุนเงินทดแทน 712
8. ประสบภัยจากรถ 2,872
9. รวมการคลังสาธารณะ 76,550
10. ต้องการเงินเพิ่ม 23,450
11. รวมงบประมาณที่ต้องการ 100,000
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
บัดนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) ได้ปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแล้ว กำหนดแนวทางให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่วมกับส่วนราชการต่าง ๆ (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. กรมบัญชีกลาง กรมการประกันภัย และสำนักงานประกันสังคม) และสำนักงานฯ ได้ปรับปรุงรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ….เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรก็ได้เห็นชอบในหลักการ และมีมติให้ส่งสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้จัดส่งร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดเข้าวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรให้ทันการประชุมในวันพุธที่ 21 พฤศจิกายน2544
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าในปัจจุบันมีประชากรในประเทศหลายกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาลตามกฎหมายต่าง ๆ เช่น สวัสดิการการรักษาพยาบาลข้าราชการ การรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทนการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยจากรถตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นต้น ซึ่งทำให้การบริหารจัดการด้านสาธารณสุขของประเทศเป็นไปอย่างกระจัดกระจายและเกิดความซ้ำซ้อนกันในการใช้สิทธิ นอกจากนี้ ยังมีประชากรของประเทศอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีสิทธิใด ๆ ในการได้รับความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล จึงทำให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวนี้ประสบปัญหาในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลความเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคภัย ซึ่งการที่ประชาชนของประเทศยังขาดหลักประกันสุขภาพหรือมีหลักประกันสุขภาพที่ไม่เพียงพอนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการจัดระบบด้านสุขภาพของประเทศให้เป็นระบบที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี ดังนั้น จึงควรให้มีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นเพื่อรวมการบริหารจัดการด้านการรักษาพยาบาลตามกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการบริหารจัดการเป็นหน่วยงานเดียว ทั้งนี้ เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมด้านสาธารณสุขของประเทศมิให้มีการจัดการที่ซ้ำซ้อนกัน และให้การบริการสาธารณสุขที่ประชาชนจะได้รับมีคุณภาพและมาตรฐาน โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการให้บริการเป็นส่วนใหญ่ และผู้รับบริการจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงจำนวนน้อย และในส่วนของผู้ยากไร้จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ที่จะให้สิทธิแก่ประชาชนทั้งประเทศได้เข้ารับการรักษาพยาบาลโดยทั่วถึงกัน โดยรัฐจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ และผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงจำนวนน้อย (เช่น30 บาทต่อครั้ง) เว้นแต่ผู้ยากไร้จะได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในการดำเนินการจะรวมการจัดการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่บุคคลหลายกลุ่มได้รับการช่วยเหลือตามกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายเข้าไว้ด้วยกันเพื่อลดรายจ่ายโดยรวมด้านสาธารณสุขของประเทศมิให้มีการจัดการที่ซ้ำซ้อนกันด้วย ทั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้
1. กำหนดสิทธิของบุคคลที่จะลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำเพื่อใช้สิทธิรับบริการสาธารณสุขตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
2. กำหนดให้มีองค์กรเพื่อกำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ กำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุข กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน รวมทั้งกำหนดอัตราค่าบริการในการเข้ารับบริการสาธารณสุข
3. ให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทั่วไปของคณะกรรมการและกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข และมีเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งมาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการ
4. ให้มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติขึ้นในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และสนับสนุนการบริหารจัดการของสำนักงาน
5. กำหนดหลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการเพื่อให้บริการสาธารณสุขตามร่างพระราชบัญญัตินี้รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของหน่วยบริการเพื่อให้มีมาตรฐานการบริการสาธารณสุข
6. ให้มีคณะกรรมการควบคุมกำกับมาตรฐานบริการสาธารณสุข เพื่อทำหน้าที่ควบคุมกำกับหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการให้มีมาตรฐาน รวมทั้งพิจารณาการร้องเรียนเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนของหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
ในการดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการประมาณการว่าจะต้องใช้เงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยมีแหล่งที่มาของเงินจากส่วนต่าง ๆ ดังนี้
แหล่งเงิน 2544
1. กระทรวงสาธารณสุข 35,966
2. กระทรวงอื่น ๆ 6,861
3. การปกครองส่วนท้องถิ่น 1,819
4. สวัสดิการข้าราชการ 16,440
5. สวัสดิการรัฐวิสาหกิจ 3,180
6. ประกันสังคม 8,700
7. กองทุนเงินทดแทน 712
8. ประสบภัยจากรถ 2,872
9. รวมการคลังสาธารณะ 76,550
10. ต้องการเงินเพิ่ม 23,450
11. รวมงบประมาณที่ต้องการ 100,000
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-