ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรายงานสรุปผลการดำเนินงานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 3/2543 ซึ่งได้ดำเนินงานประสานการพิจารณาข้อร้องเรียนของภาคเอกชนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาด้าน Information Technology (IT) ของประเทศไทย
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เสนอ "ข้อเสนอการพัฒนาด้าน Information Technology (IT) ของประเทศไทย" ประกอบด้วย เป้าหมาย วิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ โดยขอให้ภาครัฐจัดตั้ง "คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ" และจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Techonlogy (ICT) Master Plan) ของประเทศ รวมทั้งให้ความสำคัญในการนำไปพิจารณาประกอบในรายละเอียดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545 - 2549)
คณะอนุกรรมการประสานฯ ได้พิจารณาเรื่องนี้แล้วมีความเห็น ดังนี้
1) ในเรื่องกลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศนั้น ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้ชี้แจงว่า รัฐบาลได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช.) มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเลขานุการ และมีผู้แทนจากภาคเอกชนทั้ง 3 สถาบัน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีหน้าที่เสนอแนะแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ปรับปรุงกฎหมายระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการผลิต การบริการ การวิจัยและพัฒนาให้มีขึ้นในประเทศไทย
2) ฝ่ายเลขานุการได้ชี้แจงเพิ่มเติมถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้มีการจัดทำ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ : ไอที 2000 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไปเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539 โดยได้เน้นกรอบการพัฒนา 3 ประการ คือ โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี และการมีบริการและบริหารของภาครัฐที่ดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (พ.ศ. 2543 - 2552) ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้งานด้านเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์และบริการ อีกทั้งรัฐบาลยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเพื่อพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) ขึ้น โดยแผนนี้มีเนื้อหาครอบคลุมสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย โทรสาร อินเตอร์เน็ต เครือข่ายข้อมูล และโทรคมนาคมที่เป็นพื้นฐานของการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารมวลชน และขณะเดียวกันรัฐบาลได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 78 ซึ่งมีเนื้อหาสาระครอบคลุมประเด็นในส่วนที่ภาคเอกชนเสนออยู่ด้วยอีกเช่นกัน
3) อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการประสานฯ มีความเห็นว่า ยังมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศเป็นไปอย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จึงมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการเป็นเจ้าของเรื่องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน มาร่วมหารือเพื่อหาแนวทางความร่วมมือระหว่างกันที่ชัดเจนและนำเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่อไป
2. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานผลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้ว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ได้จำนวนทั้งสิ้น 281,225 ราย และยังอยู่ระหว่างการเจรจา จำนวน 71,477 ราย นอกจากนี้ คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ได้มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายสูงถึงร้อยละ 92 ของมูลหนี้ทั้งหมด 2,589,287 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.97
คณะอนุกรรมการประสานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจุบันการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ มีการดำเนินงานมาโดยตลอดและต่อเนื่อง แต่ยังมีความล่าช้าและไม่มีประสิทธิผลได้มากเท่าที่ควร ดังนั้นลูกหนี้และเจ้าหนี้ คือ ผู้ประกอบการและสถาบันการเงินควรสร้างความเข้าใจร่วมกันและร่วมมือกันในการเปิดเผยข้อมูลที่มีความโปร่งใส และมีความจริงใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย และเพื่อให้การหารือระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้ โดยสมาคมธนาคารไทยและกลุ่มลูกหนี้ ได้แก่สมาชิกของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นไปอย่างมีผลปฏิบัติที่ขัดเจน เห็นควรให้มีการหารือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้เกิดผลต่อไป
3. การพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้พิจารณาโครงการ 4 โครการ ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คือ 1) โครงการฝึกอบรมพนักงานขับรถบรรทุกเพื่อลดอุบัติเหตุ 2) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 3) โครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีการตรวจสอบ และ 4) โครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรเป็นผู้เชี่ยวชาญ วงเงิน 35 ล้านบาท เสนอขอใช้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย แต่เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของโครงการไม่ตรงตามกรอบเงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างทางสังคมเพื่อสนับสนุนให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง จึงยังไม่ได้รับการพิจารณางบประมาณสนับสนุน
คณะอนุกรรมการประสานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการยกระดับและพัฒนาบุคลากรในภาคการผลิต ตามที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้ถือเป็นเรื่องสำคัญและมีมติสนับสนุนอยู่แล้ว จึงเห็นควรเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเป็นไปได้ของการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 4 โครงการ ในวงเงิน 35 ล้านบาท อีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรายงานสรุปผลการดำเนินงานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 3/2543 ซึ่งได้ดำเนินงานประสานการพิจารณาข้อร้องเรียนของภาคเอกชนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาด้าน Information Technology (IT) ของประเทศไทย
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เสนอ "ข้อเสนอการพัฒนาด้าน Information Technology (IT) ของประเทศไทย" ประกอบด้วย เป้าหมาย วิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ โดยขอให้ภาครัฐจัดตั้ง "คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ" และจัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Techonlogy (ICT) Master Plan) ของประเทศ รวมทั้งให้ความสำคัญในการนำไปพิจารณาประกอบในรายละเอียดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (2545 - 2549)
คณะอนุกรรมการประสานฯ ได้พิจารณาเรื่องนี้แล้วมีความเห็น ดังนี้
1) ในเรื่องกลไกคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศนั้น ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้ชี้แจงว่า รัฐบาลได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช.) มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเลขานุการ และมีผู้แทนจากภาคเอกชนทั้ง 3 สถาบัน (สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย) ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะมีหน้าที่เสนอแนะแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ปรับปรุงกฎหมายระเบียบข้อบังคับให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการผลิต การบริการ การวิจัยและพัฒนาให้มีขึ้นในประเทศไทย
2) ฝ่ายเลขานุการได้ชี้แจงเพิ่มเติมถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้มีการจัดทำ นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ : ไอที 2000 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไปเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539 โดยได้เน้นกรอบการพัฒนา 3 ประการ คือ โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี และการมีบริการและบริหารของภาครัฐที่ดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (พ.ศ. 2543 - 2552) ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้งานด้านเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์และบริการ อีกทั้งรัฐบาลยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำแผนพัฒนาสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเพื่อพัฒนาคนและสังคม (พ.ศ. 2542 - 2551) ขึ้น โดยแผนนี้มีเนื้อหาครอบคลุมสื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย โทรสาร อินเตอร์เน็ต เครือข่ายข้อมูล และโทรคมนาคมที่เป็นพื้นฐานของการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารมวลชน และขณะเดียวกันรัฐบาลได้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 78 ซึ่งมีเนื้อหาสาระครอบคลุมประเด็นในส่วนที่ภาคเอกชนเสนออยู่ด้วยอีกเช่นกัน
3) อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการประสานฯ มีความเห็นว่า ยังมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศเป็นไปอย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง จึงมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการเป็นเจ้าของเรื่องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน มาร่วมหารือเพื่อหาแนวทางความร่วมมือระหว่างกันที่ชัดเจนและนำเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจต่อไป
2. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานผลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และประนอมหนี้ว่า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ได้จำนวนทั้งสิ้น 281,225 ราย และยังอยู่ระหว่างการเจรจา จำนวน 71,477 ราย นอกจากนี้ คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) ได้มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายสูงถึงร้อยละ 92 ของมูลหนี้ทั้งหมด 2,589,287 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.97
คณะอนุกรรมการประสานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าปัจจุบันการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ มีการดำเนินงานมาโดยตลอดและต่อเนื่อง แต่ยังมีความล่าช้าและไม่มีประสิทธิผลได้มากเท่าที่ควร ดังนั้นลูกหนี้และเจ้าหนี้ คือ ผู้ประกอบการและสถาบันการเงินควรสร้างความเข้าใจร่วมกันและร่วมมือกันในการเปิดเผยข้อมูลที่มีความโปร่งใส และมีความจริงใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย และเพื่อให้การหารือระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้ โดยสมาคมธนาคารไทยและกลุ่มลูกหนี้ ได้แก่สมาชิกของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นไปอย่างมีผลปฏิบัติที่ขัดเจน เห็นควรให้มีการหารือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้เกิดผลต่อไป
3. การพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้พิจารณาโครงการ 4 โครการ ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คือ 1) โครงการฝึกอบรมพนักงานขับรถบรรทุกเพื่อลดอุบัติเหตุ 2) โครงการพัฒนาประสิทธิภาพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 3) โครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีการตรวจสอบ และ 4) โครงการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของเภสัชกรเป็นผู้เชี่ยวชาญ วงเงิน 35 ล้านบาท เสนอขอใช้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย แต่เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของโครงการไม่ตรงตามกรอบเงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างทางสังคมเพื่อสนับสนุนให้องค์กรชุมชนเข้มแข็ง จึงยังไม่ได้รับการพิจารณางบประมาณสนับสนุน
คณะอนุกรรมการประสานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการยกระดับและพัฒนาบุคลากรในภาคการผลิต ตามที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้ถือเป็นเรื่องสำคัญและมีมติสนับสนุนอยู่แล้ว จึงเห็นควรเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเป็นไปได้ของการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 4 โครงการ ในวงเงิน 35 ล้านบาท อีกครั้งหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 ต.ค. 2543--
-สส-