คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบสถานะการเบิกจ่ายลงทุนปี 2544 ของภาครัฐ ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544
ซึ่งเห็นชอบให้แต่ละกระทรวงกำหนดเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
และใช้อัตราการเบิกจ่ายเงินเป็นเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของส่วนราชการ ดังนี้
1. ภาพรวมการจ่ายลงทุนปี 2544 ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมายทั้งปี เบิกจ่ายถึง วงเงินคงเหลือ ประมาณจ่าย รวมเบิกจ่าย ร้อยละของเป้าหมาย วงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
พ.ค.44 มิ.ย. ก.ย.44
ส่วนราชการ* 207,055 69,687 137,368 70,794 140,481 67.9 66,574
รัฐวิสาหกิจ 227,817 84,272 143,545 88,500 172,772 75.8 55,045
รวม 434,872 153,959 280,913 159,294 313,253 72 121,619
* เฉพาะเงินงบประมาณแผ่นดิน
โดยที่การจัดสรรงบลงทุนให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้จ่ายของภาครัฐเป็นตัวกระตุ้นและ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่จากผลการเบิกจ่ายจริง 8 เดือน และประมาณการ 4 เดือน ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจคาดว่าในปี 2544
จะมีการเบิกจ่ายลงทุนได้เป็นเงินทั้งสิ้น 313,253 ล้านบาท หรือร้อยละ 72 ของเป้าหมาย (ส่วนราชการ ร้อยละ 67.9 รัฐวิสาหกิจร้อยละ 75.8)
ซึ่งเหลือเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายอีกเป็นจำนวน 121,619 ล้านบาท หรือร้อยละ 28 โดยเป็นของส่วนราชการ 66,574 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ
55,045 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินที่มิได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวน 121,619 ล้านบาทนี้ นอกจากจะไม่ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟู
เศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังเป็นภาระในการจัดหางบประมาณอีกด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายเงินลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย
2. ปัญหาสำคัญที่ทำให้การเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย
2.1 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 มีผลทำให้ต้องใช้เวลาในขั้นตอนการ
เซ็นสัญญา ต้องใช้เวลาในการเจรจาต่อรองและ/หรือการจัดการประกวดราคาใหม่
2.2 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ
เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องรอการอนุมัติก่อนดำเนินการ
2.3 ขาดความพร้อมในการดำเนินโครงการ ทั้งหน่วยงานเจ้าของโครงการ สะระของโครงการ นโยบายและพื้นที่
ดำเนินโครงการ การออกแบบในรายละเอียดและการประกวดราคา ทำให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อม
เกิดความล่าช้าในการพิจารณาอนุมัติ หรือเกิดอุปสรรคในขั้นตอนการดำเนินโครงการ
2.4 ในกรณีที่ใช้เงินกู้ต่างประเทศ ระยะเวลาการพิจารณาอนุมัติในแต่ละขั้นตอนของสถาบันการเงิน
ต่างประเทศ เช่น JBIC ใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนนอกเหนือจากข้างต้นยังมีประเด็นปัญหาอุปสรรค
ที่กระทบต่อการเบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจอีก ดังนี้
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
2.5 มาตรการปรับลดงบประมาณ ปี 2544 ถึง มีการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย ทำให้ต้อง
2 ครั้ง ทำให้หน่วยงานที่ถูกปรับลด ทบทวนโครงการและไม่สามารถดำเนินการได้
งบประมาณต้องชะลอการดำเนินงานใน ตามแผน
หลายโครงการในช่วงเดือนมีนาคม |
เมษายน 2544
2.6 การจัดสรรงบประมาณโครงการถ่ายโอนงาน/ ผู้รับเหมามีปัญหาในการดำเนินงานหรือขาด
กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วน สภาพคล่อง ทำให้ไม่สามารถส่งมอบงานได้ตาม
ท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีศักยภาพและความพร้อม กำหนด
เพียงพอ ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณของ
โครงการถ่ายโอนฯ ต่ำกว่าเป้าหมายมาก
2.7 -การจัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสำนักมาตรฐานคอมพิวเตอร์
สำนักงบประมาณ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการ
จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มขึ้นเพราะเมื่อประกวดราคาได้แล้ว
ต้องเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาก่อน จึงจะเซ็นสัญญาได้
2.8 -การจัดซื้อครุภัณฑ์ที่มีราคามาตรฐาน สำนัก
งบประมาณ หากประกวดราคาได้สูงกว่าราคา
มาตรฐาน ต้องขออนุมัติจากสำนักงบประมาณ
ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการจัดซื้อเพิ่มขึ้น
3. แนวทางแก้ไข เพื่อให้การเบิกจ่ายลงทุนของภาครัฐในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2544
เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม เห็นควรให้ส่วนราชการและ
รัฐวิสาหกิจดำเนินการตามมาตรการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติดำเนินการแล้ว รวมทั้งที่เสนอเพิ่มเติมในครั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาที่
เกิดขึ้น ดังนี้
3.1 มาตรการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแล้ว
1) มาตรการในการแก้ไขปัญหาที่คณะรัฐมนตรีมีมติสั่งการตามที่กระทรวงการคลังและหน่วยงาน
กลางที่เกี่ยวข้องเสนอแล้ว ดังนี้
(1) กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินให้ส่วนราชการใช้เป็นเกณฑ์ในการเร่งรัดการดำเนินงาน
และการใช้จ่ายเงิน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
(2) ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงกำชับหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเร่งรัดการ
ดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ โดยเร็ว และให้มีระบบการติดตามและรายงานผลความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ
(3) เห็นชอบให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีที่เข้มงวดขึ้น
(4) ให้กระทรวงมหาดไทยยกเว้นหรือผ่อนผันการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(5) ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2544
โครงการถ่ายโอนฯ โดยเร็ว
(6) ให้สำนักงบประมาณพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับ
ความสามารถและความพร้อมในการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ และทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับคณะกรรมการกระจายอำนาจ
2) มาตรการเร่งด่วนและมาตรการระยะต่อไปเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติสั่งการให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
(1) มาตรการเร่งด่วน
(1.1) ให้ปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินลงทุนตามแผนการลงทุน
ในช่วง 4 เดือนที่เหลือ ให้ได้ตามเป้าหมาย
(1.2) ให้รวบรวมรายการลงทุนที่เป็นเงินเก่า/ต่อเนื่อง ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุจาก
ต่างประเทศ (Import Content) เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบในคราวเดียวกัน
(1.3) สำหรับงานใหม่ให้แจ้งสถาปนิกและวิศวกรให้การออกแบบสอดคล้องกับนโยบาย
การใช้พัสดุในประเทศ
(2) มาตรการระยะต่อไป
(2.1) ให้พิจารณาดำเนินการแบ่งงวดงานใหม่เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วยิ่งขึ้น
(2.2) ให้รัฐวิสาหกิจปรับแผนวิสาหกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และเชื่อมโยงกับ
นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ
3.2 มาตรการที่เห็นควรเสนอเพิ่มเติม เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนในปี 2544
1) มาตรการเร่งด่วน
หน่วยงานอนุมัติ
(1) ให้กระทรวงเจ้าสังกัดเร่งรัดการพิจารณาอนุมัติจัดซื้อพัสดุจากต่างประเทศให้แล้วเสร็จ
ภายใน 10 วัน
(2) ให้กระทรวงการคลังเจรจากับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เพื่อลดขั้นตอน เงื่อนไข
และเวลาในการพิจารณาให้เร็วขึ้น
(3) ให้สำนักงบประมาณพิจารณาลดขั้นตอนการอนุมัติจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
หลังจากที่หน่วยงานประกวดราคาได้แล้ว
(4) ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจในการอนุญาตการเข้าใช้พื้นที่ เร่งพิจารณาการขออนุญาตของ
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
หน่วยงานปฏิบัติ
(1) ให้เร่งรัดปรับปรุงวิธีการบริหารงบลงทุนในส่วนที่อยู่ในอำนาจบริหารของหน่วยงานให้
สามารถเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2544 เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ในปี 2544
2) มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะต่อไป
หน่วยงานอนุมัติ
(1) ให้สำนักงบประมาณมอบอำนาจการอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการตามใบอนุมัติเงิน
ประจำงวดให้แก่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและลดขั้นตอน/ระยะเวลา
ในการดำเนินการและเร่งรัดการปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโดยเร็ว เพื่อกระจายอำนาจและความรับผิดชอบ
ให้หัวหน้าส่วนราชการมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณเพิ่มขึ้น และใช้ผลสำเร็จของงาน
เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
(2) ในการอนุมัติงบประมาณประจำปีให้คำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของโครงการ และ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ ทั้งในด้านสาระของโครงการ การออกแบบ การทำประชาพิจารณ์ และการศึกษาผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผน
(3) ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจในการอนุญาตการเข้าใช้พื้นที่พิจารณากำหนดระยะเวลาในการ
อนุญาตเข้าใช้พื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อให้การวางแผน/ดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
(4) ให้ใช้ผลการเบิกจ่ายลงเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการ
และรัฐวิสาหกิจ
(5) ให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หารือเพื่อทำความตกลง
ร่วมกันให้ได้ระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานกลางในการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการเงินกู้ และประกาศให้ผู้ปฏิบัติและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
หน่วยงานปฏิบัติ
(1) ให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณปรับปรุงระบบบริหารงบลงทุน โดยเฉพาะขั้นตอนการ
ดำเนินงานภายในให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับสถานการณ์มากที่สุด เช่น การกำหนดแบบรายละเอียด การประสาน
แผนการดำเนินโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นการล่วงหน้า เป็นต้น
(2) ให้มีการติดตามประเมินผลการเบิกจ่ายลงทุนอย่างใกล้ชิดและหากเห็นว่าไม่สามารถ
เบิกจ่ายได้ตามแผน ให้แจ้งสำนักงานประมาณและ/หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทราบโดยเร็ว เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณและ/หรือกรอบเบิกจ่ายแล้วแต่กรณีให้หน่วยงานที่มีความพร้อมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544
ซึ่งเห็นชอบให้แต่ละกระทรวงกำหนดเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
และใช้อัตราการเบิกจ่ายเงินเป็นเกณฑ์ในการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของส่วนราชการ ดังนี้
1. ภาพรวมการจ่ายลงทุนปี 2544 ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
หน่วย : ล้านบาท
เป้าหมายทั้งปี เบิกจ่ายถึง วงเงินคงเหลือ ประมาณจ่าย รวมเบิกจ่าย ร้อยละของเป้าหมาย วงเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย
พ.ค.44 มิ.ย. ก.ย.44
ส่วนราชการ* 207,055 69,687 137,368 70,794 140,481 67.9 66,574
รัฐวิสาหกิจ 227,817 84,272 143,545 88,500 172,772 75.8 55,045
รวม 434,872 153,959 280,913 159,294 313,253 72 121,619
* เฉพาะเงินงบประมาณแผ่นดิน
โดยที่การจัดสรรงบลงทุนให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้จ่ายของภาครัฐเป็นตัวกระตุ้นและ
ฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่จากผลการเบิกจ่ายจริง 8 เดือน และประมาณการ 4 เดือน ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจคาดว่าในปี 2544
จะมีการเบิกจ่ายลงทุนได้เป็นเงินทั้งสิ้น 313,253 ล้านบาท หรือร้อยละ 72 ของเป้าหมาย (ส่วนราชการ ร้อยละ 67.9 รัฐวิสาหกิจร้อยละ 75.8)
ซึ่งเหลือเงินที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายอีกเป็นจำนวน 121,619 ล้านบาท หรือร้อยละ 28 โดยเป็นของส่วนราชการ 66,574 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจ
55,045 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินที่มิได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวน 121,619 ล้านบาทนี้ นอกจากจะไม่ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟู
เศรษฐกิจของประเทศแล้ว ยังเป็นภาระในการจัดหางบประมาณอีกด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายเงินลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย
2. ปัญหาสำคัญที่ทำให้การเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย
2.1 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 มีผลทำให้ต้องใช้เวลาในขั้นตอนการ
เซ็นสัญญา ต้องใช้เวลาในการเจรจาต่อรองและ/หรือการจัดการประกวดราคาใหม่
2.2 สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ
เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องรอการอนุมัติก่อนดำเนินการ
2.3 ขาดความพร้อมในการดำเนินโครงการ ทั้งหน่วยงานเจ้าของโครงการ สะระของโครงการ นโยบายและพื้นที่
ดำเนินโครงการ การออกแบบในรายละเอียดและการประกวดราคา ทำให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อม
เกิดความล่าช้าในการพิจารณาอนุมัติ หรือเกิดอุปสรรคในขั้นตอนการดำเนินโครงการ
2.4 ในกรณีที่ใช้เงินกู้ต่างประเทศ ระยะเวลาการพิจารณาอนุมัติในแต่ละขั้นตอนของสถาบันการเงิน
ต่างประเทศ เช่น JBIC ใช้เวลาค่อนข้างมาก ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนนอกเหนือจากข้างต้นยังมีประเด็นปัญหาอุปสรรค
ที่กระทบต่อการเบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจอีก ดังนี้
ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
2.5 มาตรการปรับลดงบประมาณ ปี 2544 ถึง มีการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย ทำให้ต้อง
2 ครั้ง ทำให้หน่วยงานที่ถูกปรับลด ทบทวนโครงการและไม่สามารถดำเนินการได้
งบประมาณต้องชะลอการดำเนินงานใน ตามแผน
หลายโครงการในช่วงเดือนมีนาคม |
เมษายน 2544
2.6 การจัดสรรงบประมาณโครงการถ่ายโอนงาน/ ผู้รับเหมามีปัญหาในการดำเนินงานหรือขาด
กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วน สภาพคล่อง ทำให้ไม่สามารถส่งมอบงานได้ตาม
ท้องถิ่น ซึ่งยังไม่มีศักยภาพและความพร้อม กำหนด
เพียงพอ ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณของ
โครงการถ่ายโอนฯ ต่ำกว่าเป้าหมายมาก
2.7 -การจัดซื้อจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องได้รับ
ความเห็นชอบจากสำนักมาตรฐานคอมพิวเตอร์
สำนักงบประมาณ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการ
จัดซื้อจัดจ้างเพิ่มขึ้นเพราะเมื่อประกวดราคาได้แล้ว
ต้องเสนอให้สำนักงบประมาณพิจารณาก่อน จึงจะเซ็นสัญญาได้
2.8 -การจัดซื้อครุภัณฑ์ที่มีราคามาตรฐาน สำนัก
งบประมาณ หากประกวดราคาได้สูงกว่าราคา
มาตรฐาน ต้องขออนุมัติจากสำนักงบประมาณ
ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการจัดซื้อเพิ่มขึ้น
3. แนวทางแก้ไข เพื่อให้การเบิกจ่ายลงทุนของภาครัฐในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีงบประมาณ 2544
เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม เห็นควรให้ส่วนราชการและ
รัฐวิสาหกิจดำเนินการตามมาตรการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติดำเนินการแล้ว รวมทั้งที่เสนอเพิ่มเติมในครั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาที่
เกิดขึ้น ดังนี้
3.1 มาตรการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแล้ว
1) มาตรการในการแก้ไขปัญหาที่คณะรัฐมนตรีมีมติสั่งการตามที่กระทรวงการคลังและหน่วยงาน
กลางที่เกี่ยวข้องเสนอแล้ว ดังนี้
(1) กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายเงินให้ส่วนราชการใช้เป็นเกณฑ์ในการเร่งรัดการดำเนินงาน
และการใช้จ่ายเงิน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
(2) ให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงกำชับหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดเร่งรัดการ
ดำเนินการตามโครงการต่าง ๆ โดยเร็ว และให้มีระบบการติดตามและรายงานผลความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ
(3) เห็นชอบให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีที่เข้มงวดขึ้น
(4) ให้กระทรวงมหาดไทยยกเว้นหรือผ่อนผันการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(5) ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2544
โครงการถ่ายโอนฯ โดยเร็ว
(6) ให้สำนักงบประมาณพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับ
ความสามารถและความพร้อมในการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการ และทบทวนหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับคณะกรรมการกระจายอำนาจ
2) มาตรการเร่งด่วนและมาตรการระยะต่อไปเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติสั่งการให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
(1) มาตรการเร่งด่วน
(1.1) ให้ปรับปรุงวิธีการดำเนินงาน เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินลงทุนตามแผนการลงทุน
ในช่วง 4 เดือนที่เหลือ ให้ได้ตามเป้าหมาย
(1.2) ให้รวบรวมรายการลงทุนที่เป็นเงินเก่า/ต่อเนื่อง ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้พัสดุจาก
ต่างประเทศ (Import Content) เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบในคราวเดียวกัน
(1.3) สำหรับงานใหม่ให้แจ้งสถาปนิกและวิศวกรให้การออกแบบสอดคล้องกับนโยบาย
การใช้พัสดุในประเทศ
(2) มาตรการระยะต่อไป
(2.1) ให้พิจารณาดำเนินการแบ่งงวดงานใหม่เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วยิ่งขึ้น
(2.2) ให้รัฐวิสาหกิจปรับแผนวิสาหกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และเชื่อมโยงกับ
นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ
3.2 มาตรการที่เห็นควรเสนอเพิ่มเติม เพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนในปี 2544
1) มาตรการเร่งด่วน
หน่วยงานอนุมัติ
(1) ให้กระทรวงเจ้าสังกัดเร่งรัดการพิจารณาอนุมัติจัดซื้อพัสดุจากต่างประเทศให้แล้วเสร็จ
ภายใน 10 วัน
(2) ให้กระทรวงการคลังเจรจากับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เพื่อลดขั้นตอน เงื่อนไข
และเวลาในการพิจารณาให้เร็วขึ้น
(3) ให้สำนักงบประมาณพิจารณาลดขั้นตอนการอนุมัติจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
หลังจากที่หน่วยงานประกวดราคาได้แล้ว
(4) ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจในการอนุญาตการเข้าใช้พื้นที่ เร่งพิจารณาการขออนุญาตของ
ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
หน่วยงานปฏิบัติ
(1) ให้เร่งรัดปรับปรุงวิธีการบริหารงบลงทุนในส่วนที่อยู่ในอำนาจบริหารของหน่วยงานให้
สามารถเซ็นสัญญาได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2544 เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ในปี 2544
2) มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาในระยะต่อไป
หน่วยงานอนุมัติ
(1) ให้สำนักงบประมาณมอบอำนาจการอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการตามใบอนุมัติเงิน
ประจำงวดให้แก่หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดได้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและลดขั้นตอน/ระยะเวลา
ในการดำเนินการและเร่งรัดการปฏิรูประบบงบประมาณไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโดยเร็ว เพื่อกระจายอำนาจและความรับผิดชอบ
ให้หัวหน้าส่วนราชการมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณเพิ่มขึ้น และใช้ผลสำเร็จของงาน
เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
(2) ในการอนุมัติงบประมาณประจำปีให้คำนึงถึงศักยภาพและความพร้อมของโครงการ และ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ ทั้งในด้านสาระของโครงการ การออกแบบ การทำประชาพิจารณ์ และการศึกษาผลกระทบด้าน
สิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผน
(3) ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจในการอนุญาตการเข้าใช้พื้นที่พิจารณากำหนดระยะเวลาในการ
อนุญาตเข้าใช้พื้นที่ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อให้การวางแผน/ดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
(4) ให้ใช้ผลการเบิกจ่ายลงเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการ
และรัฐวิสาหกิจ
(5) ให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หารือเพื่อทำความตกลง
ร่วมกันให้ได้ระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานกลางในการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการเงินกู้ และประกาศให้ผู้ปฏิบัติและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
หน่วยงานปฏิบัติ
(1) ให้หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณปรับปรุงระบบบริหารงบลงทุน โดยเฉพาะขั้นตอนการ
ดำเนินงานภายในให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับสถานการณ์มากที่สุด เช่น การกำหนดแบบรายละเอียด การประสาน
แผนการดำเนินโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นการล่วงหน้า เป็นต้น
(2) ให้มีการติดตามประเมินผลการเบิกจ่ายลงทุนอย่างใกล้ชิดและหากเห็นว่าไม่สามารถ
เบิกจ่ายได้ตามแผน ให้แจ้งสำนักงานประมาณและ/หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทราบโดยเร็ว เพื่อจะได้จัดสรรงบประมาณและ/หรือกรอบเบิกจ่ายแล้วแต่กรณีให้หน่วยงานที่มีความพร้อมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-