คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการแผนทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมแห่งชาติ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ โดยรับข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปดำเนินการด้วย
แผนทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมแห่งชาติ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้พระพุทธศาสนาซึ่งประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ และศาสนาอื่นซึ่งทางราชการให้การรับรอง มีความมั่นคงเป็นหลักในการพัฒนาคนไทยและสังคมไทยสืบไป
1.2 เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และศาสนิกชนร่วมกันรับผิดชอบในการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม และการพัฒนาจิตใจ
1.3 เพื่อให้ประชาชนใช้ศาสนธรรมที่ตนนับถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
1.4 เพื่อให้ศาสนธรรมสนับสนุนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
1.5 เพื่อให้ศาสนาทุกศาสนาและคนไทยที่นับถือศาสนาต่างกันมีความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างกัน เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมและประเทศชาติ
2. แผนงานทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม
2.1 แผนงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นซึ่งทางราชการให้การรับรอง
2.2 แผนงานพัฒนาศักยภาพของวิทยากรและผู้นำทางด้านการพัฒนาจิตใจ
2.3 แผนงานส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
2.4 แผนงานส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนใช้ศาสนธรรมของศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
2.5 แผนงานสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.6 แผนงานส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาต่าง ๆ
2.7 แผนงานส่งเสริมสนับสนุนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น
3. การปฏิบัติตามแผน
3.1 ระยะเวลาของแผนปฏิบัติงาน ระยะเวลา 8 ปี จาก พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2550
3.2 องค์กรที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1) หน่วยราชการ อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม ทบวงมหาวิทยาลัย ฯลฯ
2) สถาบันทางสังคม อาทิ สถาบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ฯลฯ
3) องค์กรภาคเอกชน ได้แก่ สมาคม มูลนิธิเอกชน ชมรมและกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม
3.3 องค์การที่รับผิดชอบในการประสางาน คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมประสานงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนเป็นประจำ
ในอนาคตเมื่อสถานการณ์อำนวย ควรแต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของชาติในสำนักนายกรัฐมนตรี
3.4 การติดตามประเมินผล คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนเป็นประจำ
3.5 งบประมาณและบุคลากร รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบ ควรจัดสรรงบประมาณและบุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอแก่องค์กรและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้มีงบประมาณและบุคลากรในการดำเนินงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. ระยะเวลาของแผนที่กำหนดไว้ 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 - 2550 นั้น ระยะเวลาได้ล่วงเลยมา 2 ปีแล้วจึงเห็นสมควรเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยควรมีระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2545 - 2549
2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ได้ตั้งงบประมาณไว้เพื่อดำเนินการทางด้านศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมประมาณ 3,554 ล้านบาท สมควรนำมาบูรณาการเพื่อดำเนินการตามแผนดังกล่าว
3. แนวทางและมาตรการของแผน บางแนวทางสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีหลายหน่วยงานดำเนินการตามแนวทางนี้อยู่แล้ว จึงควรบูรณาการแผนให้สอดคล้องกับการดำเนินการของหน่วยงานนั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและมิให้เกิดความซ้ำซ้อน
4. มาตรการของแผนที่จัดตั้งองค์กรรับผิดชอบบริหารกิจการคณะสงฆ์นั้น โดยที่ปัจจุบันพุทธศาสนาบริหารงานโดยคณะสงค์ (มหาเถรสมาคม) ฉะนั้น การจะจัดตั้งองค์กรใหม่ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสมควรพิจารณาโดยรอบคอบ
5. มาตรการของแผน สมควรพิจารณาอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ มิให้ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการศาสนาและวัฒนธรรม ที่คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษากำหนดตามโครงสร้างใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-
แผนทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมแห่งชาติ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้พระพุทธศาสนาซึ่งประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ และศาสนาอื่นซึ่งทางราชการให้การรับรอง มีความมั่นคงเป็นหลักในการพัฒนาคนไทยและสังคมไทยสืบไป
1.2 เพื่อให้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และศาสนิกชนร่วมกันรับผิดชอบในการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม และการพัฒนาจิตใจ
1.3 เพื่อให้ประชาชนใช้ศาสนธรรมที่ตนนับถือเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
1.4 เพื่อให้ศาสนธรรมสนับสนุนเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
1.5 เพื่อให้ศาสนาทุกศาสนาและคนไทยที่นับถือศาสนาต่างกันมีความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างกัน เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมและประเทศชาติ
2. แผนงานทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม
2.1 แผนงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นซึ่งทางราชการให้การรับรอง
2.2 แผนงานพัฒนาศักยภาพของวิทยากรและผู้นำทางด้านการพัฒนาจิตใจ
2.3 แผนงานส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย
2.4 แผนงานส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนใช้ศาสนธรรมของศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
2.5 แผนงานสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.6 แผนงานส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาต่าง ๆ
2.7 แผนงานส่งเสริมสนับสนุนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น
3. การปฏิบัติตามแผน
3.1 ระยะเวลาของแผนปฏิบัติงาน ระยะเวลา 8 ปี จาก พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2550
3.2 องค์กรที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
1) หน่วยราชการ อาทิ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม ทบวงมหาวิทยาลัย ฯลฯ
2) สถาบันทางสังคม อาทิ สถาบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว ฯลฯ
3) องค์กรภาคเอกชน ได้แก่ สมาคม มูลนิธิเอกชน ชมรมและกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม
3.3 องค์การที่รับผิดชอบในการประสางาน คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ทำหน้าที่ส่งเสริมประสานงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนเป็นประจำ
ในอนาคตเมื่อสถานการณ์อำนวย ควรแต่งตั้งคณะกรรมการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของชาติในสำนักนายกรัฐมนตรี
3.4 การติดตามประเมินผล คณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานเกี่ยวกับการทำนุบำรุงส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนเป็นประจำ
3.5 งบประมาณและบุคลากร รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับผิดชอบ ควรจัดสรรงบประมาณและบุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอแก่องค์กรและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้มีงบประมาณและบุคลากรในการดำเนินงานอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้
1. ระยะเวลาของแผนที่กำหนดไว้ 8 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 - 2550 นั้น ระยะเวลาได้ล่วงเลยมา 2 ปีแล้วจึงเห็นสมควรเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยควรมีระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2545 - 2549
2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ได้ตั้งงบประมาณไว้เพื่อดำเนินการทางด้านศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมประมาณ 3,554 ล้านบาท สมควรนำมาบูรณาการเพื่อดำเนินการตามแผนดังกล่าว
3. แนวทางและมาตรการของแผน บางแนวทางสนับสนุนให้ประชาชนใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีหลายหน่วยงานดำเนินการตามแนวทางนี้อยู่แล้ว จึงควรบูรณาการแผนให้สอดคล้องกับการดำเนินการของหน่วยงานนั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและมิให้เกิดความซ้ำซ้อน
4. มาตรการของแผนที่จัดตั้งองค์กรรับผิดชอบบริหารกิจการคณะสงฆ์นั้น โดยที่ปัจจุบันพุทธศาสนาบริหารงานโดยคณะสงค์ (มหาเถรสมาคม) ฉะนั้น การจะจัดตั้งองค์กรใหม่ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนสมควรพิจารณาโดยรอบคอบ
5. มาตรการของแผน สมควรพิจารณาอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ มิให้ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการศาสนาและวัฒนธรรม ที่คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษากำหนดตามโครงสร้างใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 ก.ค.44--
-สส-