ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติฯ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติฯ) ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. 2541 เป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการ แต่อยู่ในกำกับทบวงมหาวิทยาลัย มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ แต่มิได้เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ดังนั้น มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งจึงไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลทำให้พนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการสมควรที่รัฐจะให้ความคุ้มครองบุคลากรของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ด้วย
สำหรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีคือ โดยที่ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 หลายองค์กร ซึ่งต่อไปองค์กรอิสระต่าง ๆ ก็อาจจะต้องกำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เช่นกัน เพื่อให้พนักงานและลูกจ้างขององค์กรดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น จึงเห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาร่วมกับองค์กรอิสระที่ได้จัดตั้งเรียบร้อยแล้วว่าองค์กรอิสระใดประสงค์จะกำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ก็ยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เสียในคราวเดียวกัน เพื่อว่าองค์กรอิสระดังกล่าวจะได้ไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายองค์กรอีก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติฯ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติฯ) ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ทั้งนี้ ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอว่า เนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. 2541 เป็นมหาวิทยาลัยนอกระบบราชการ แต่อยู่ในกำกับทบวงมหาวิทยาลัย มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระ แต่มิได้เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ดังนั้น มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งจึงไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีผลทำให้พนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการสมควรที่รัฐจะให้ความคุ้มครองบุคลากรของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ด้วย
สำหรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีคือ โดยที่ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 หลายองค์กร ซึ่งต่อไปองค์กรอิสระต่าง ๆ ก็อาจจะต้องกำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เช่นกัน เพื่อให้พนักงานและลูกจ้างขององค์กรดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้น จึงเห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปพิจารณาร่วมกับองค์กรอิสระที่ได้จัดตั้งเรียบร้อยแล้วว่าองค์กรอิสระใดประสงค์จะกำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ก็ยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้เสียในคราวเดียวกัน เพื่อว่าองค์กรอิสระดังกล่าวจะได้ไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายองค์กรอีก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-