ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ประธานกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 เสนอ มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ในช่วงงบประมาณปี 2543 (มกราคม 2543 - สิงหาคม 2543) รวม 3 ครั้ง ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว โดยมีมติสรุปได้ ดังนี้
1. มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ครั้งที่ 1/2543 เห็นชอบให้บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 ให้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ในปี 2547 โดยขอให้ดำเนินการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ที่กำหนดการก่อสร้างให้เปิดสนามบินได้ 1 ทางวิ่ง ในปี 2547 และเต็มรูปแบบ 2 ทางวิ่งในปี 2548
2. มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ครั้งที่ 2/2543 ยืนยันให้ท่าอากาศยานหนองงูเห่าเป็นท่าอากาศยานระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพ เมื่อเปิดให้บริการ
3. มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ครั้งที่ 3/2543
3.1 บทบาทในการรองรับปริมาณการจราจรของท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ให้ดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ให้ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศทั้งหมด ผู้โดยสารภายในประเทศที่ต้อง Connecting Flight และเที่ยวบินขนส่งสินค้า เมื่อเปิดให้บริการในปี 2547
ระยะที่ 2 ให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพิจารณาโยกย้ายปริมาณการจราจรทั้งหมดไปที่ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ในปี 2548 รวมทั้งจัดทำรายละเอียดการลงทุนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคารผู้โดยสาร รวมถึงแผนปฏิบัติการโยกย้ายปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้น เพื่อให้การโยกย้ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้น ทั้งนี้มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จัดทำกรอบการทำงานและแผนปฏิบัติการโยกย้ายปริมาณการจราจร โดยให้ครอบคลุมถึงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาไว้ด้วย แล้วนำเสนอคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ในการประชุมครั้งต่อไป
3.2 บทบาทของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ให้ท่าอากาศยานกรุงเทพยังคงสภาพการเป็นท่าอากาศยานต่อไป ส่วนบทบาทในระยะยาวจะเป็นการให้บริการในเชิงผสมผสานหลายกิจกรรมควบคู่กันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพให้เป็นฐานอุตสาหกรรมการบิน เช่น ศูนย์ซ่อมอากาศยานขนาดเล็ก กิจการบินทั่วไป ศูนย์ฝึกการบิน ตลอดจนการพัฒนาศูนย์ประชุมหรืออาคารแสดงสินค้า ทั้งนี้มอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อไป และรายงานให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ทราบเป็นระยะ
3.3 เห็นควรให้ชะลอการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ระยะที่ 2 ออกไปก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) ประธานกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 เสนอ มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ในช่วงงบประมาณปี 2543 (มกราคม 2543 - สิงหาคม 2543) รวม 3 ครั้ง ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว โดยมีมติสรุปได้ ดังนี้
1. มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ครั้งที่ 1/2543 เห็นชอบให้บริษัทท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 2 ให้แล้วเสร็จ และเปิดให้บริการได้ในปี 2547 โดยขอให้ดำเนินการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 ที่กำหนดการก่อสร้างให้เปิดสนามบินได้ 1 ทางวิ่ง ในปี 2547 และเต็มรูปแบบ 2 ทางวิ่งในปี 2548
2. มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ครั้งที่ 2/2543 ยืนยันให้ท่าอากาศยานหนองงูเห่าเป็นท่าอากาศยานระหว่างประเทศเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพ เมื่อเปิดให้บริการ
3. มติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ครั้งที่ 3/2543
3.1 บทบาทในการรองรับปริมาณการจราจรของท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ให้ดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ให้ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 รองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศทั้งหมด ผู้โดยสารภายในประเทศที่ต้อง Connecting Flight และเที่ยวบินขนส่งสินค้า เมื่อเปิดให้บริการในปี 2547
ระยะที่ 2 ให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพิจารณาโยกย้ายปริมาณการจราจรทั้งหมดไปที่ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ในปี 2548 รวมทั้งจัดทำรายละเอียดการลงทุนปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคารผู้โดยสาร รวมถึงแผนปฏิบัติการโยกย้ายปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้น เพื่อให้การโยกย้ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้น ทั้งนี้มอบหมายให้บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย จัดทำกรอบการทำงานและแผนปฏิบัติการโยกย้ายปริมาณการจราจร โดยให้ครอบคลุมถึงการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาไว้ด้วย แล้วนำเสนอคณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ในการประชุมครั้งต่อไป
3.2 บทบาทของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง) ให้ท่าอากาศยานกรุงเทพยังคงสภาพการเป็นท่าอากาศยานต่อไป ส่วนบทบาทในระยะยาวจะเป็นการให้บริการในเชิงผสมผสานหลายกิจกรรมควบคู่กันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพให้เป็นฐานอุตสาหกรรมการบิน เช่น ศูนย์ซ่อมอากาศยานขนาดเล็ก กิจการบินทั่วไป ศูนย์ฝึกการบิน ตลอดจนการพัฒนาศูนย์ประชุมหรืออาคารแสดงสินค้า ทั้งนี้มอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ต่อไป และรายงานให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ทราบเป็นระยะ
3.3 เห็นควรให้ชะลอการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ระยะที่ 2 ออกไปก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-