แท็ก
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อสังหาริมทรัพย์
ดอกเบี้ยเงินกู้
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบมาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. การให้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อใช้ซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มาตรการนี้จะให้ข้าราชการที่มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มาเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ กบข. มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินและแหล่งอื่นแล้ว จะต้องไม่เกิน 50,000 บาท
2. การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้กับ กบข.
ในกรณี กบข. ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากข้าราชการเพื่อนำไปซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยที่ได้รับจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และจะต้องมีภาระในการเสียอากรแสตมป์ จากสัญญาการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการกู้ยืมเงินข้างต้น จะมีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับ กบข. และจะมีการยกเว้นการเสียอากรแสตมป์จากสัญญาการกู้ยืมเงินดังกล่าว สำหรับกรณีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับ กบข. นั้น จะยกเว้นให้กับกิจการของกบข. เป็นการทั่วไป ตั้งแต่มีการจัดตั้ง กบข. เช่นเดียวกับกรณีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4)
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยกองทุนนี้เป็นการจัดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีการจัดตั้งกองทุนฯ ในลักษณะนี้มาแล้ว 3 กองทุน คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการให้สิทธิในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้กับทั้ง 3 กองทุนฯ ข้างต้นแล้ว ดังนั้นจึงสมควรมีการให้สิทธิยกเว้นภาษีกับกอง 4 เช่นเดียวกัน
4. การขยายสิทธิประโยชน์การให้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กระทรวงการคลังจะให้สิทธิในการนำดอกเบี้ยจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยหลังใดก็ได้ไม่ว่าจะมีอาคารที่อยู่อาศัยเดิมอยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจากการซื้อที่อยู่อาศัยทุกแห่งแล้ว จะต้องไม่เกิน 50,000 บาท กรณีนี้กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรจะต้องมีการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรในการให้สิทธิตามเสนอ
5. การขยายเวลาการยกเว้นภาษี สำหรับสิทธิประโยชน์ภาษีตามกฎหมายต่าง ๆ ที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544
เนื่องจากสิทธิประโยชน์ที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในหลายประการอันครอบคลุมถึงกรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ด้วย จะสิ้นสุดระยะเวลาในปี พ.ศ. 2544 นี้ จึงเห็นสมควรขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ต่อไปอีก 1 ปี ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการยกเว้นภาษีสรรพากร กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2545 และในส่วนนี้กระทรวงมหาดไทยจะต้องมีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อขยายเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จากกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้คงเหลือร้อยละ 0.01 ออกไปจากที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544 ให้เป็นสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2545 ด้วย ทั้งนี้จะเป็นการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย สำหรับกรณีนี้ทั้งสิ้น จำนวน 4 ฉบับ
2) กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการยกเว้นภาษีสรรพากร กรณีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน ไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2545 และในส่วนนี้กระทรวงมหาดไทยจะมีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อขยายเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้คงเหลือในอัตราร้อยละ 0.01 ออกไปจากที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544 ให้เป็นสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2545 ด้วย และกรณีนี้จะต้องมีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ฉบับ
3) กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ (รวมภาษีท้องถิ่น) กรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร จากอัตราร้อยละ 3.3 ให้คงเหลือร้อยละ 0.11 จากที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544ให้เป็นสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2545
การให้สิทธิประโยชน์ภาษีข้างต้น จะต้องมีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จำนวน 6 ฉบับ ออกเป็นกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ และประกาศกระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 ฉบับ รวมทั้งภายหลังจากกฎหมายดังกล่าว มีผลใช้บังคับแล้ว กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากร จะต้องมีการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทางปฏิบัติให้สอดคล้องกันไปด้วย
มาตรการข้างต้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ข้าราชการที่ประสงค์มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผลจากมาตรการดังกล่าวจะมีส่วนช่วยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญโดยตรงแล้ว ยังจะมีส่วนช่วยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ อันจะมีผลต่อเนื่องถึงการลงทุน การจ้างงานและการแก้ไขฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้านหนึ่งด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1. การให้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อใช้ซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มาตรการนี้จะให้ข้าราชการที่มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) มาเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สามารถนำดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่จ่ายให้แก่ กบข. มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินและแหล่งอื่นแล้ว จะต้องไม่เกิน 50,000 บาท
2. การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้กับ กบข.
ในกรณี กบข. ได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากข้าราชการเพื่อนำไปซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยที่ได้รับจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และจะต้องมีภาระในการเสียอากรแสตมป์ จากสัญญาการกู้ยืมเงินด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการกู้ยืมเงินข้างต้น จะมีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับ กบข. และจะมีการยกเว้นการเสียอากรแสตมป์จากสัญญาการกู้ยืมเงินดังกล่าว สำหรับกรณีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับ กบข. นั้น จะยกเว้นให้กับกิจการของกบข. เป็นการทั่วไป ตั้งแต่มีการจัดตั้ง กบข. เช่นเดียวกับกรณีการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3. การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4)
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิเรียกร้อง (กอง 4) เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยกองทุนนี้เป็นการจัดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีการจัดตั้งกองทุนฯ ในลักษณะนี้มาแล้ว 3 กองทุน คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 2) และกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน (กอง 3) ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการให้สิทธิในการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้กับทั้ง 3 กองทุนฯ ข้างต้นแล้ว ดังนั้นจึงสมควรมีการให้สิทธิยกเว้นภาษีกับกอง 4 เช่นเดียวกัน
4. การขยายสิทธิประโยชน์การให้นำดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กระทรวงการคลังจะให้สิทธิในการนำดอกเบี้ยจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยหลังใดก็ได้ไม่ว่าจะมีอาคารที่อยู่อาศัยเดิมอยู่แล้วหรือไม่ก็ตาม มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับดอกเบี้ยจากการซื้อที่อยู่อาศัยทุกแห่งแล้ว จะต้องไม่เกิน 50,000 บาท กรณีนี้กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรจะต้องมีการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรในการให้สิทธิตามเสนอ
5. การขยายเวลาการยกเว้นภาษี สำหรับสิทธิประโยชน์ภาษีตามกฎหมายต่าง ๆ ที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544
เนื่องจากสิทธิประโยชน์ที่กระทรวงการคลังได้ดำเนินการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในหลายประการอันครอบคลุมถึงกรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ด้วย จะสิ้นสุดระยะเวลาในปี พ.ศ. 2544 นี้ จึงเห็นสมควรขยายเวลาการให้สิทธิประโยชน์ต่อไปอีก 1 ปี ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการยกเว้นภาษีสรรพากร กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2545 และในส่วนนี้กระทรวงมหาดไทยจะต้องมีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อขยายเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จากกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้คงเหลือร้อยละ 0.01 ออกไปจากที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544 ให้เป็นสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2545 ด้วย ทั้งนี้จะเป็นการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย สำหรับกรณีนี้ทั้งสิ้น จำนวน 4 ฉบับ
2) กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการยกเว้นภาษีสรรพากร กรณีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร โดยการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน ไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2545 และในส่วนนี้กระทรวงมหาดไทยจะมีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อขยายเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรณีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้คงเหลือในอัตราร้อยละ 0.01 ออกไปจากที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544 ให้เป็นสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2545 ด้วย และกรณีนี้จะต้องมีการออกประกาศกระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ฉบับ
3) กระทรวงการคลังจะขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ (รวมภาษีท้องถิ่น) กรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร จากอัตราร้อยละ 3.3 ให้คงเหลือร้อยละ 0.11 จากที่จะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544ให้เป็นสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2545
การให้สิทธิประโยชน์ภาษีข้างต้น จะต้องมีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จำนวน 6 ฉบับ ออกเป็นกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ และประกาศกระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 ฉบับ รวมทั้งภายหลังจากกฎหมายดังกล่าว มีผลใช้บังคับแล้ว กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากร จะต้องมีการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทางปฏิบัติให้สอดคล้องกันไปด้วย
มาตรการข้างต้นจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ข้าราชการที่ประสงค์มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผลจากมาตรการดังกล่าวจะมีส่วนช่วยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจสำคัญโดยตรงแล้ว ยังจะมีส่วนช่วยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ อันจะมีผลต่อเนื่องถึงการลงทุน การจ้างงานและการแก้ไขฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้านหนึ่งด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-