ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานผลการดำเนินงานมาตรการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สรุปได้ดังนี้
1. การผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. …. เพื่อเป็นกฎหมายพื้นฐานในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยล่าสุดได้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2542 แต่เนื่องจากมีการแก้ไข จึงส่งกลับให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน และหากสภาผู้แทนราษฎรเห็นด้วย ขั้นตอนต่อไป นายกรัฐมนตรีจะได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
2. มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางการเงิน
2.1 สินเชื่อ SMEs และการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ในปี 2542 ผ่านสถาบันการเงินพิเศษ 7 สถาบัน (ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารออมสิน และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
- กำหนดวงเงินสินเชื่อ 35,000 ล้านบาท ซึ่งจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 6,298 ราย เป็นเงิน 30,902.92 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.3 ของเป้าหมาย และเมื่อพิจารณาแยกตามสถาบันการเงินปรากฏว่า ธปท. และ ธสน. สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ร้อยละ 119.7 และ 122.3 ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนสถาบันการเงินพิเศษอื่นคือ IFCT ธนาคารออมสิน และ บอย. ยอดอนุมัติสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 78.1, 50.6 และ 18.6 ตามลำดับ ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย ขณะที่ ธกส. ยังไม่มีการอนุมัติสินเชื่อตามมาตรการนี้ เพราะมีขั้นตอนในการออกกฎกระทรวงมารองรับ และระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครือข่ายในเรื่องนี้ยังไม่สมบูรณ์
- กำหนดวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 500 ล้านบาท และจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 บสย. ได้อนุมัติการค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว 24 ราย วงเงิน 58.848 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 11.8 ของเป้าหมาย
2.2 โครงการร่วมพัฒนาทุน … เกื้อหนุน SMEs เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามข้อลงนามความร่วมมือเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2542 ได้กำหนดวงเงินสินเชื่อ 4,500 ล้านบาทในปี 2542 และอีก 5,500 ล้านบาทในปี 2543 ทั้งนี้ปี 2542 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤศจิกายน กระทรวงอุตสาหกรรมได้กลั่นกรองโครงการเสนอธนาคารกรุงไทยฯ ไปแล้ว 339 ราย วงเงิน 4,482.998 ล้านบาท และธนาคารกรุงไทยฯ ได้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อแล้ว 101 ราย เป็นเงิน 1,189.78 ล้านบาท ปฏิเสธสินเชื่อ 25 ราย ผู้ประกอบการ SMEs ถอนโครงการไปเอง 25 ราย และอยู่ในระหว่างการพิจารณาอีก 188 ราย
3. การปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่
3.1 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม และ5 เมษายน 2542 จากการติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดขึ้นพบว่าหลักสูตรต่าง ๆ เช่น การสร้างธุรกิจ SMEs การจัดการธุรกิจ SMEs การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ SMEs และการปรับเปลี่ยนการจัดการในสภาวะแวดล้อม ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความพอใจกับเนื้อหา ระยะเวลา และได้รับประโยชน์ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกิจการที่มีอยู่และการจัดตั้งกิจการใหม่ นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้เข้าอบรม ทำให้ทราบความต้องการที่แท้จริงและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่มคือ หลักสูตรการทำแผนธุรกิจ หลักสูตรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หลักสูตรระบบบัญชีและภาษี และหลักสูตรด้านการส่งออก เนื่องจากผู้เข้าฝึกอบรมส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าการทำธุรกิจในสหัสวรรษต่อไป มีความเป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้นจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
3.2 โครงการเร่งด่วนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 11 โครงการ ภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2543ประกอบด้วย
1) โครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ
2) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3) โครงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจาก Mass Production เป็น Small lot
4) โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม
5) โครงการเร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
6) โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
7) โครงการกระจายข้อมูลเพื่อการลงทุนและการค้าของ SMEs ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
8) โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
9) โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์
10) โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน
11) โครงการอุตสาหกรรมสู่ชนบท
4. การจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม ผลการดำเนินงานคือ คณะกรรมการคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ได้คัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด เพื่อจะแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเจรจาค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน และคณะกรรมการพิจารณานโยบายการลงทุน ได้จัดทำร่างนโยบายพื้นฐานของกองทุนรวมเพื่อใช้เป็นกรอบในการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ซึ่งจะได้นำเสนอนโยบายดังกล่าวขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป
5. มาตรการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านอื่น ๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม
5.1 การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (Industrial Estate for SMEs, นิคม SMEs) โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดทำโครงการนิคม SMEs เสนอต่อกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเชิญชวนให้กลุ่ม SMEs และผู้พัฒนานิคม SMEs เข้ามาร่วมโครงการและจนสิ้นเดือนธันวาคม 2542 กนอ. ได้มีการจัดทำโครงการนำร่องของนิคม SMEs จำนวน 3 นิคม ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง)นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ขณะเดียวกันได้มีนิคมของภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน5 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ นิคม SMEs หนองแค และนิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 สำหรับด้านเงินทุนที่จะสนับสนุนโครงการได้มีการประสานกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมส่วนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ขณะนี้อยู่ในระหว่างประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำหรับการสนับสนุนช่วยเหลือด้านการจัดการอื่น ๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ
5.2 โครงการจัดงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้านหัตถกรรม ณ ห้างแฮร์รอดส์ (Harrods) กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร โดยจัดงานแสดงสินค้าขึ้นในระหว่างวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน - อาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2542 รวม 14 วัน และได้รับความสนใจจากลูกค้าห้างแฮร์รอดส์เป็นอย่างดี จนทางห้างขยายการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าออกไปอีก 7 วัน เป็นวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2542
5.3 โครงการลดต้นทุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและสนับสนุนฐานการผลิตเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน(โครงการลดต้นทุน SMEs) ได้มีการดำเนินโครงการนำร่องไปก่อนแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2541 มีผู้เข้าร่วมโครงการและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานไปแล้ว 32 โรงงาน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 10 - 30 และจะสามารถคืนทุนในระยะเวลา 1 - 3 ปี โครงการเต็มรูปแบบได้เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 และจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 155 ราย
นอกจากนี้คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบมาตการสนับสนุน SMEs ทางการเงิน ดังนี้
1. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันการเงินพิเศษ ร่วมกันพิจารณากำหนดวงเงินเป้าหมายสินเชื่อ และค้ำประกันสินเชื่อ SMEs สำหรับปี 2543 โดยควรให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าปี 2542 เพื่อรองรับเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
2. มอบหมายให้สถาบันการเงินพิเศษ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ เน้นความสำคัญกับระบบพิจารณาสินเชื่อโดยการวิเคราะห์กระแสเงินสดและความเป็นไปได้ของโครงการ ให้มากกว่าการพิจารณาหลักประกัน และดำเนินการในทางปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เร่งดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้กรณีผู้ประกอบการ SMEs ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีโอกาสได้รับการพิจารณาสินเชื่อ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง บอย. และ บสย. เร่งดำเนินการในการเพิ่มทุน บอย. และ บสย. ตามมาตรการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ บอย. และ บสย. สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยให้กู้ และค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้อยู่ในอัตราที่เอื้ออำนวยมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานผลการดำเนินงานมาตรการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) สรุปได้ดังนี้
1. การผลักดันร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. …. เพื่อเป็นกฎหมายพื้นฐานในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยล่าสุดได้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2542 แต่เนื่องจากมีการแก้ไข จึงส่งกลับให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน และหากสภาผู้แทนราษฎรเห็นด้วย ขั้นตอนต่อไป นายกรัฐมนตรีจะได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
2. มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทางการเงิน
2.1 สินเชื่อ SMEs และการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs ในปี 2542 ผ่านสถาบันการเงินพิเศษ 7 สถาบัน (ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.)บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารออมสิน และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)
เป้าหมายและผลการดำเนินงาน
- กำหนดวงเงินสินเชื่อ 35,000 ล้านบาท ซึ่งจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 6,298 ราย เป็นเงิน 30,902.92 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.3 ของเป้าหมาย และเมื่อพิจารณาแยกตามสถาบันการเงินปรากฏว่า ธปท. และ ธสน. สามารถอนุมัติสินเชื่อได้ร้อยละ 119.7 และ 122.3 ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนสถาบันการเงินพิเศษอื่นคือ IFCT ธนาคารออมสิน และ บอย. ยอดอนุมัติสินเชื่ออยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 78.1, 50.6 และ 18.6 ตามลำดับ ซึ่งยังอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมาย ขณะที่ ธกส. ยังไม่มีการอนุมัติสินเชื่อตามมาตรการนี้ เพราะมีขั้นตอนในการออกกฎกระทรวงมารองรับ และระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครือข่ายในเรื่องนี้ยังไม่สมบูรณ์
- กำหนดวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 500 ล้านบาท และจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 บสย. ได้อนุมัติการค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว 24 ราย วงเงิน 58.848 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 11.8 ของเป้าหมาย
2.2 โครงการร่วมพัฒนาทุน … เกื้อหนุน SMEs เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามข้อลงนามความร่วมมือเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2542 ได้กำหนดวงเงินสินเชื่อ 4,500 ล้านบาทในปี 2542 และอีก 5,500 ล้านบาทในปี 2543 ทั้งนี้ปี 2542 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - พฤศจิกายน กระทรวงอุตสาหกรรมได้กลั่นกรองโครงการเสนอธนาคารกรุงไทยฯ ไปแล้ว 339 ราย วงเงิน 4,482.998 ล้านบาท และธนาคารกรุงไทยฯ ได้พิจารณาอนุมัติสินเชื่อแล้ว 101 ราย เป็นเงิน 1,189.78 ล้านบาท ปฏิเสธสินเชื่อ 25 ราย ผู้ประกอบการ SMEs ถอนโครงการไปเอง 25 ราย และอยู่ในระหว่างการพิจารณาอีก 188 ราย
3. การปรับปรุงประสิทธิภาพการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้แก่
3.1 โครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม และ5 เมษายน 2542 จากการติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดขึ้นพบว่าหลักสูตรต่าง ๆ เช่น การสร้างธุรกิจ SMEs การจัดการธุรกิจ SMEs การพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ SMEs และการปรับเปลี่ยนการจัดการในสภาวะแวดล้อม ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความพอใจกับเนื้อหา ระยะเวลา และได้รับประโยชน์ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกิจการที่มีอยู่และการจัดตั้งกิจการใหม่ นอกจากนี้ จากผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของผู้เข้าอบรม ทำให้ทราบความต้องการที่แท้จริงและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 2 กลุ่มคือ หลักสูตรการทำแผนธุรกิจ หลักสูตรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หลักสูตรระบบบัญชีและภาษี และหลักสูตรด้านการส่งออก เนื่องจากผู้เข้าฝึกอบรมส่วนใหญ่ตระหนักดีว่าการทำธุรกิจในสหัสวรรษต่อไป มีความเป็นโลกาภิวัฒน์มากขึ้นจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
3.2 โครงการเร่งด่วนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 11 โครงการ ภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2543ประกอบด้วย
1) โครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการ
2) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3) โครงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจาก Mass Production เป็น Small lot
4) โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรม
5) โครงการเร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
6) โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
7) โครงการกระจายข้อมูลเพื่อการลงทุนและการค้าของ SMEs ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
8) โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
9) โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์
10) โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน
11) โครงการอุตสาหกรรมสู่ชนบท
4. การจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 1,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม ผลการดำเนินงานคือ คณะกรรมการคัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ได้คัดเลือกบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด เพื่อจะแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการกองทุนรวม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเจรจาค่าธรรมเนียมการจัดการกองทุน และคณะกรรมการพิจารณานโยบายการลงทุน ได้จัดทำร่างนโยบายพื้นฐานของกองทุนรวมเพื่อใช้เป็นกรอบในการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ซึ่งจะได้นำเสนอนโยบายดังกล่าวขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป
5. มาตรการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้านอื่น ๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม
5.1 การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (Industrial Estate for SMEs, นิคม SMEs) โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้จัดทำโครงการนิคม SMEs เสนอต่อกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542 ขณะนี้อยู่ระหว่างการเชิญชวนให้กลุ่ม SMEs และผู้พัฒนานิคม SMEs เข้ามาร่วมโครงการและจนสิ้นเดือนธันวาคม 2542 กนอ. ได้มีการจัดทำโครงการนำร่องของนิคม SMEs จำนวน 3 นิคม ที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ (ฉลุง)นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร และนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ขณะเดียวกันได้มีนิคมของภาคเอกชนสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วจำนวน5 นิคม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ นิคม SMEs หนองแค และนิคมอุตสาหกรรมทีเอส 21 สำหรับด้านเงินทุนที่จะสนับสนุนโครงการได้มีการประสานกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมส่วนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ขณะนี้อยู่ในระหว่างประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำหรับการสนับสนุนช่วยเหลือด้านการจัดการอื่น ๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ
5.2 โครงการจัดงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมด้านหัตถกรรม ณ ห้างแฮร์รอดส์ (Harrods) กรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร โดยจัดงานแสดงสินค้าขึ้นในระหว่างวันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน - อาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2542 รวม 14 วัน และได้รับความสนใจจากลูกค้าห้างแฮร์รอดส์เป็นอย่างดี จนทางห้างขยายการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าออกไปอีก 7 วัน เป็นวันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม 2542
5.3 โครงการลดต้นทุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและสนับสนุนฐานการผลิตเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน(โครงการลดต้นทุน SMEs) ได้มีการดำเนินโครงการนำร่องไปก่อนแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2541 มีผู้เข้าร่วมโครงการและติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานไปแล้ว 32 โรงงาน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 10 - 30 และจะสามารถคืนทุนในระยะเวลา 1 - 3 ปี โครงการเต็มรูปแบบได้เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 และจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการแล้ว 155 ราย
นอกจากนี้คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบมาตการสนับสนุน SMEs ทางการเงิน ดังนี้
1. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันการเงินพิเศษ ร่วมกันพิจารณากำหนดวงเงินเป้าหมายสินเชื่อ และค้ำประกันสินเชื่อ SMEs สำหรับปี 2543 โดยควรให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าปี 2542 เพื่อรองรับเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว
2. มอบหมายให้สถาบันการเงินพิเศษ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ เน้นความสำคัญกับระบบพิจารณาสินเชื่อโดยการวิเคราะห์กระแสเงินสดและความเป็นไปได้ของโครงการ ให้มากกว่าการพิจารณาหลักประกัน และดำเนินการในทางปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
3. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เร่งดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้กรณีผู้ประกอบการ SMEs ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มีโอกาสได้รับการพิจารณาสินเชื่อ
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง บอย. และ บสย. เร่งดำเนินการในการเพิ่มทุน บอย. และ บสย. ตามมาตรการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 ให้เสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ บอย. และ บสย. สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยให้กู้ และค่าธรรมเนียมการค้ำประกันให้อยู่ในอัตราที่เอื้ออำนวยมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--