ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการจัดประชุมการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญภายใต้กรอบเอเปค (APEC Regional Forum on Pension Fund Reform) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2543 ณ กรุงเทพมหานคร สรุปสาระสำคัได้ ดังนี้
1. ระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญที่ใช้ปฏิบัติในปัจจุบันมี 3 ระบบ คือ
ระบบที่ 1 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญแบบกำหนดเงินสมทบ (Defined Benefits) ลูกจ้างและนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบในขณะทำงาน และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการบำนาญนำไปลงทุน การลงทุนและรายได้จะมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเกษียณอายุ ผู้ส่งเงินสมทบจะได้รับประโยชน์เป็นเงินก้อน (Lump Sum) อัตราเงินสมทบจะมีการกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่เนื่องจากบำนาญที่จะได้รับจะขึ้นอยู่กับภาวะของตลาดเงิน ดังนั้น จึงอาจไม่มีความแน่นอนว่าได้รับเงินบำนาญจำนวนเท่าใด
ระบบที่ 2 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญแบบกำหนดประโยชน์ทดแทน (Defined Contribution) รัฐบังคับให้ประชาชนออมเพื่อไว้ใช้ในยามชรา ผู้ส่งเงินสมทบจะได้รับคำมั่นว่าเมื่อเกษียณอายุจะได้รับบำนาญตามสัดส่วนของรายได้ในระหว่างทำงาน ระบบนี้มีการกำหนดอัตราเงินทดแทนไว้ล่วงหน้าแต่ก็มีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง คือ จะเก็บเงินสมทบอย่างไรจึงจะเพียงพอต่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน ประเทศที่ใช้ระบบนี้ ได้แก่ ชิลี สิงคโปร์ และฮ่องกง สำหรับประเทศไทย กำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูประบบฯ โดยมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการดำเนินการด้วยรูปแบบที่ใกล้เคียงกับระบบนี้มากที่สุด
ระบบที่ 3 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญที่ให้ออมโดยสมัครใจ (Voluntary Savings) เช่น การฝากเงินธนาคารในระยะยาว การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น รัฐจะให้การสนับสนุนด้วยประโยชน์ทางภาษีในบางประเทศ เช่น ชิลี ใช้ระบบนี้ควบคู่กับระบบที่ 2 คือ ให้แต่ละคนสามารถออมเพิ่มได้โดยสมัครใจ ซึ่งในส่วนของไทยมีสมาชิกในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สนใจเสนอที่จะออกเพิ่มฝ่ายเดียว แต่ยังไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย
2. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การปฏิรูปกองทุนฯ ในแต่ละประเทศมี ดังนี้
2.1 ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี การปฏิรูปจะต้องเริ่มจากการให้การศึกษาในระดับล่างโดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เพื่อให้ความต้องการในการปฏิรูปเริ่มจากระดับปฏิบัติมากกว่าจากระดับนโยบาย
2.2 บทบาทของภาครัฐทางด้านภาษี และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเห็นว่าระบบภาษีเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปกองทุนฯ การส่งเสริมให้มีแรงจูงใจทางภาษี ได้แก่ การยกเว้นให้แก่ผู้ที่จ่ายเงินสะสม/สททบเข้ากองทุน ผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุน และผลประโยชน์ที่ผู้ออมจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ อย่างไรก็ตาม การยกเว้นภาษีดังกล่าวอาจไม่เป็นธรรมต่อสังคม เนื่องจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายซึ่งมีรายได้น้อย เช่น เกษตรกร เป็นต้น ประเด็นภาษีจึงยังหาข้อสรุปไม่ได้ ในส่วนนี้ผู้อภิปรายบางท่านเสนอทางแก้ไขความสูญเสียรายได้จากภาษีอากรของรัฐ โดยส่งเสริมการออมผ่านระบบธนาคารหรือระบบประกันสังคม
สำหรับกรณีประเทศไทยการปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญเป็นเพียงการเริ่มต้น สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือ จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มบุคคลที่จะมีส่วนได้ส่วนเสีย ฉะนั้น จึงสมควรเร่งหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดจากข้อเสนอ 3 ระบบข้างต้น และส่งเสริมให้มีการปฏิรูปใช้ระบบที่ดีที่สุดโดยเร็ว
2.3 ประเด็นเกี่ยวกับธรรมรัฐของผู้บริหาร คือ การบริหารจัดการที่ดีในองค์กร (Corporate Governance) ควรจัดขั้นตอนของการปฏิรูปอย่างเป็นระบบ และได้แนะนำหลักการเพื่อเสริมสร้างธรรมรัฐของผู้บริหารในองค์กร ดังนี้
1) การมีข่ายงานที่ชัดเจน (Proper Framcwork of Separution) ในด้านต่างๆ เช่น การแบ่งแยกการใช้เงินทุนให้ชัดเจน กำหนดให้มีข้อจำกัดในการลงทุนของผู้บริหาร
2) ความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสในการลงทุน โดยให้มีนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน ได้แก่ การเปิดเผยตัวเลขทางบัญชี เช่น ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ (Fees and charges) การยินยอมให้หน่วยงานที่กำกับดูแลทำการตรวจสอบได้
3) หลักปฏิบัติ Man's rules โดยผู้บริหารต้องยึดหลักปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ด้วยความสามารถ และใช้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
4) ความต่อเนื่องในการตรวจสอบ ได้แก่ การจัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับตรวจสอบเป็นประจำ
3. การประเมินผล ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้กรอกแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการจัดประชุม สรุปได้ ดังนี้
3.1 ผลของการประชุมที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในองค์กร ได้แก่ การใช้กระบวนการทางการเมืองเพื่อช่วยกำหนดรูปแบบการปฏิรูปกองทุนฯ และการจัดตั้งหน่วยงานที่จะร่วมกันกำหนดรูปแบบที่จะใช้ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นความสำคัญของการจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากกว่าการบริหารกองทุนรวมและกองทุนของภาคเอกชน สิ่งที่ภาครัฐควรจะดำเนินการต่อไปคือ การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน การนำเครื่องมือต่างๆ สำหรับการบริหารกองทุนไปใช้ปฏิบัติ การผลักดันให้มีการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค การเพิ่มช่องทางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีและไม่ดี รวมถึงการศึกษาบทบาทด้านภาษีที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้แผนการดำเนินงานของกองทุนประสบความสำเร็จ
3.2 ควรขยายระยะเวลาของการประชุม และควรเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์จากประเทศต่างๆ ให้มากขึ้นด้วย
3.3 หัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งสมควรจัดการประชุม/สัมมนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ แนวทางการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนายของไทย นโยบายเกี่ยวกับระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและการนำไปปฏิบัติ การจัดสรรทรัพย์สินการบริหารทรัพย์สิน และการแนะนำการลงทุน การกำหนดแผนการเรื่องการจ่ายชดเชยค่าจ้างให้มากขึ้น ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินที่มีอยู่เพื่อการปฏิรูประบบกองทุนฯ แผนการรองรับกลุ่มผู้เกษียณอายุในการดำรงชีพหลังออกจากงาน บทบาทของกองทุนฯ ให้การส่งเสริมธรรมรัฐของผู้บริหารในองค์กร การจัดสรรเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม (Transaction Costs) การขยายของเขตเรื่องการประกันสังคมในวัยชราภาพไปสู่ Informal Sector และบทบาทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ
4. สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมมิได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณเนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสำนักเลขาธิการเอเปค วงเงิน 57,530 เหรียญสหรัฐฯ ธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 78,000 เหรียญสหรัฐฯ และเอกชนของไทย ได้แก่ สมาคมผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและสมาคมบริษัทจัดการลงทุนช่วยสนับสนุนค่าจัดเลี้ยง เป็นเงิน 100,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-รก/สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการจัดประชุมการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญภายใต้กรอบเอเปค (APEC Regional Forum on Pension Fund Reform) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2543 ณ กรุงเทพมหานคร สรุปสาระสำคัได้ ดังนี้
1. ระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญที่ใช้ปฏิบัติในปัจจุบันมี 3 ระบบ คือ
ระบบที่ 1 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญแบบกำหนดเงินสมทบ (Defined Benefits) ลูกจ้างและนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบในขณะทำงาน และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการบำนาญนำไปลงทุน การลงทุนและรายได้จะมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อเกษียณอายุ ผู้ส่งเงินสมทบจะได้รับประโยชน์เป็นเงินก้อน (Lump Sum) อัตราเงินสมทบจะมีการกำหนดไว้ล่วงหน้า แต่เนื่องจากบำนาญที่จะได้รับจะขึ้นอยู่กับภาวะของตลาดเงิน ดังนั้น จึงอาจไม่มีความแน่นอนว่าได้รับเงินบำนาญจำนวนเท่าใด
ระบบที่ 2 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญแบบกำหนดประโยชน์ทดแทน (Defined Contribution) รัฐบังคับให้ประชาชนออมเพื่อไว้ใช้ในยามชรา ผู้ส่งเงินสมทบจะได้รับคำมั่นว่าเมื่อเกษียณอายุจะได้รับบำนาญตามสัดส่วนของรายได้ในระหว่างทำงาน ระบบนี้มีการกำหนดอัตราเงินทดแทนไว้ล่วงหน้าแต่ก็มีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง คือ จะเก็บเงินสมทบอย่างไรจึงจะเพียงพอต่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน ประเทศที่ใช้ระบบนี้ ได้แก่ ชิลี สิงคโปร์ และฮ่องกง สำหรับประเทศไทย กำลังอยู่ในระหว่างการปฏิรูประบบฯ โดยมีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการดำเนินการด้วยรูปแบบที่ใกล้เคียงกับระบบนี้มากที่สุด
ระบบที่ 3 เป็นระบบบำเหน็จบำนาญที่ให้ออมโดยสมัครใจ (Voluntary Savings) เช่น การฝากเงินธนาคารในระยะยาว การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น รัฐจะให้การสนับสนุนด้วยประโยชน์ทางภาษีในบางประเทศ เช่น ชิลี ใช้ระบบนี้ควบคู่กับระบบที่ 2 คือ ให้แต่ละคนสามารถออมเพิ่มได้โดยสมัครใจ ซึ่งในส่วนของไทยมีสมาชิกในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สนใจเสนอที่จะออกเพิ่มฝ่ายเดียว แต่ยังไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย
2. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การปฏิรูปกองทุนฯ ในแต่ละประเทศมี ดังนี้
2.1 ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี การปฏิรูปจะต้องเริ่มจากการให้การศึกษาในระดับล่างโดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เพื่อให้ความต้องการในการปฏิรูปเริ่มจากระดับปฏิบัติมากกว่าจากระดับนโยบาย
2.2 บทบาทของภาครัฐทางด้านภาษี และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเห็นว่าระบบภาษีเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการปฏิรูปกองทุนฯ การส่งเสริมให้มีแรงจูงใจทางภาษี ได้แก่ การยกเว้นให้แก่ผู้ที่จ่ายเงินสะสม/สททบเข้ากองทุน ผลตอบแทนที่เกิดจากการลงทุน และผลประโยชน์ที่ผู้ออมจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ อย่างไรก็ตาม การยกเว้นภาษีดังกล่าวอาจไม่เป็นธรรมต่อสังคม เนื่องจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายซึ่งมีรายได้น้อย เช่น เกษตรกร เป็นต้น ประเด็นภาษีจึงยังหาข้อสรุปไม่ได้ ในส่วนนี้ผู้อภิปรายบางท่านเสนอทางแก้ไขความสูญเสียรายได้จากภาษีอากรของรัฐ โดยส่งเสริมการออมผ่านระบบธนาคารหรือระบบประกันสังคม
สำหรับกรณีประเทศไทยการปฏิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญเป็นเพียงการเริ่มต้น สิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือ จะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับกลุ่มบุคคลที่จะมีส่วนได้ส่วนเสีย ฉะนั้น จึงสมควรเร่งหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดจากข้อเสนอ 3 ระบบข้างต้น และส่งเสริมให้มีการปฏิรูปใช้ระบบที่ดีที่สุดโดยเร็ว
2.3 ประเด็นเกี่ยวกับธรรมรัฐของผู้บริหาร คือ การบริหารจัดการที่ดีในองค์กร (Corporate Governance) ควรจัดขั้นตอนของการปฏิรูปอย่างเป็นระบบ และได้แนะนำหลักการเพื่อเสริมสร้างธรรมรัฐของผู้บริหารในองค์กร ดังนี้
1) การมีข่ายงานที่ชัดเจน (Proper Framcwork of Separution) ในด้านต่างๆ เช่น การแบ่งแยกการใช้เงินทุนให้ชัดเจน กำหนดให้มีข้อจำกัดในการลงทุนของผู้บริหาร
2) ความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสในการลงทุน โดยให้มีนโยบายการลงทุนที่ชัดเจน ได้แก่ การเปิดเผยตัวเลขทางบัญชี เช่น ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ (Fees and charges) การยินยอมให้หน่วยงานที่กำกับดูแลทำการตรวจสอบได้
3) หลักปฏิบัติ Man's rules โดยผู้บริหารต้องยึดหลักปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ด้วยความสามารถ และใช้ความรู้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร
4) ความต่อเนื่องในการตรวจสอบ ได้แก่ การจัดทำรายงานเสนอต่อหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับตรวจสอบเป็นประจำ
3. การประเมินผล ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้กรอกแบบสอบถามเพื่อประเมินผลการจัดประชุม สรุปได้ ดังนี้
3.1 ผลของการประชุมที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในองค์กร ได้แก่ การใช้กระบวนการทางการเมืองเพื่อช่วยกำหนดรูปแบบการปฏิรูปกองทุนฯ และการจัดตั้งหน่วยงานที่จะร่วมกันกำหนดรูปแบบที่จะใช้ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นความสำคัญของการจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากกว่าการบริหารกองทุนรวมและกองทุนของภาคเอกชน สิ่งที่ภาครัฐควรจะดำเนินการต่อไปคือ การฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน การนำเครื่องมือต่างๆ สำหรับการบริหารกองทุนไปใช้ปฏิบัติ การผลักดันให้มีการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค การเพิ่มช่องทางในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีและไม่ดี รวมถึงการศึกษาบทบาทด้านภาษีที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้แผนการดำเนินงานของกองทุนประสบความสำเร็จ
3.2 ควรขยายระยะเวลาของการประชุม และควรเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์จากประเทศต่างๆ ให้มากขึ้นด้วย
3.3 หัวข้อที่น่าสนใจ ซึ่งสมควรจัดการประชุม/สัมมนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ แนวทางการปฏิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนายของไทย นโยบายเกี่ยวกับระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและการนำไปปฏิบัติ การจัดสรรทรัพย์สินการบริหารทรัพย์สิน และการแนะนำการลงทุน การกำหนดแผนการเรื่องการจ่ายชดเชยค่าจ้างให้มากขึ้น ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินที่มีอยู่เพื่อการปฏิรูประบบกองทุนฯ แผนการรองรับกลุ่มผู้เกษียณอายุในการดำรงชีพหลังออกจากงาน บทบาทของกองทุนฯ ให้การส่งเสริมธรรมรัฐของผู้บริหารในองค์กร การจัดสรรเงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม (Transaction Costs) การขยายของเขตเรื่องการประกันสังคมในวัยชราภาพไปสู่ Informal Sector และบทบาทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญ
4. สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมมิได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณเนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสำนักเลขาธิการเอเปค วงเงิน 57,530 เหรียญสหรัฐฯ ธนาคารพัฒนาเอเชีย วงเงิน 78,000 เหรียญสหรัฐฯ และเอกชนของไทย ได้แก่ สมาคมผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและสมาคมบริษัทจัดการลงทุนช่วยสนับสนุนค่าจัดเลี้ยง เป็นเงิน 100,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-รก/สส-