ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ เดือนกรกฎาคม 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ได้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 281,225 ราย มูลหนี้รวม 1,656,768 ล้านบาท โดยในเดือนกรกฎาคม สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้สำเร็จ จำนวน 12,355 ราย เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 67,399 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้อีก 71,477 รายมูลหนี้รวม 772,950 ล้านบาท ทั้งนี้ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 จำนวน 22,950 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 47.16 สำหรับลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จในเดือนกรกฎาคมส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจคือ อุตสาหกรรมรองลงมาคือ สาธารณูปโภค และการค้าส่งค้าปลีก ตามลำดับ โดยเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานครและภาคกลางเป็นสำคัญ
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 9,593 ราย มูลหนี้ 2,589,287 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 2,760 ราย มูลหนี้ 2,296,575 ล้านบาท ที่เหลือเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 6,833 ราย มูลหนี้ 292,712 ล้านบาท โดยสรุปความคืบหน้าได้ ดังนี้
1) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 8,778 ราย มูลหนี้ 2,441,029 ล้านบาท หรือร้อยละ 92 ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,147 ราย มูลหนี้รวม 1,070,970 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76 ของลูกหนี้ที่ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในขบวนการทั้งสิ้น ที่เหลือ 3,571 ราย หรือประมาณร้อยละ 37 ของลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น เป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการหรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ ซึ่งสถาบันการเงินนำเข้าสู่กระบวนการทางศาลในจำนวนนี้แนวโน้มส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะนำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลแพ่ง ทั้งนี้ คาดว่าการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาลแพ่งจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ได้ข้อยุติระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
2) สำหรับลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. ซึ่งต้องเร่งรัดการดำเนินการต่อไปนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 788 ราย มูลหนี้ 142,177 ล้านบาท (เป็นลูกหนี้รายใหญ่ 370 ราย มูลหนี้ 108,641 ล้านบาท และลูกหนี้รายย่อย 418 ราย มูลหนี้ 33,536 ล้านบาท) โดยลูกหนี้ดังกล่าวจะทยอยมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามกรอบระยะเวลาของกระบวนการโดยต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2544 โดยส่วนใหญ่จะมีข้อสรุปภายในปี 2543
อนึ่ง ยังมีลูกหนี้รายย่อยกลุ่มสุดท้ายอีกจำนวน 27 ราย มูลหนี้ 6,081 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างพิจารณาลงนามเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3) จำนวนลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่อยู่ในภาคการพาณิชย์คิดเป็นร้อยละ 25.30 ของจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และการอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จร้อยละ 24.11 และ 17.00 ตามลำดับ
ทั้งนี้หากพิจารณาถึงมูลหนี้รวมของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ปรากฎว่าภาคธุรกิจที่มีผลสำเร็จสูงสุดจะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.97 ของมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้นรองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการสาธารณูปโภค มีสัดส่วนร้อยละ 16.81 และ 9.84 ตามลำดับ โดยลูกนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนไฟฟ้า สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ พลาสติก อาหาร น้ำตาล ฯลฯ ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้เป็นธุรกิจที่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงานธุรกิจ และเป็นลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยดี
4) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ประสานงานกับสถาบันการเงินเพื่อเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งจะได้ส่งเสริมให้สถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีความพร้อมที่จะดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มากขึ้น โดยจัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมด้วย
สรุป NPL เดือนกรกฎาคม 2543
1. ยอด NPL คงค้าง
1.1 ระบบสถาบันการเงินมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 ทั้งสิ้น 1,597.4 พันล้านบาทและสินเชื่อรวม 5,107.1 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 31.28
1.2 กลุ่มสถาบันการเงินมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 แยกแสดงรายกลุ่มได้ ดังนี้
1) ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 572.7 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 26,651.8 พันล้านบาท NOL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 21.59
2) ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 918.8 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 1,663.8 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 55.23
3) สาขาธนาคารต่างประเทศ มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 47.2 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 634.4 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 7.44
4)บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 58.8 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 157.1 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 37.41
1.3 ประเภทธุรกิจที่มี NPL คงค้า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 จำนวนสูงแสดงได้ ดังนี้
1) ภาคอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 396.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.81 ของ NPL ทั้งสิ้น
2) ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มี NPL คงค้าง 291.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.25 ของ NPL ทั้งสิ้น
3) ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 257.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.12 ขอ
NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL
2.1 การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงินในเดือนกรกฎาคม 2543 แสดงรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
1) NPL คงค้าง ณ สิ้นมิถุนายน 2543 1,615.9
2) NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543
-จำนวนใหม่ 23.6
-รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.1 41.7
3) NPL ที่ลดลงในเดือนกรกฎาคม 2543
-ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (45.6)
-เหตุผลอื่น (แสดงรายละเอียดในหมายเหตุ) (14.6) (60.2)
4) NPL ลดลงสุทธิในเดือนกรกฎาคม 2543 (18.5)
5) NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 1,597.4
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
(1) NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 8.0 ล้านบาท
(2) การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่สำรองครลร้อยละ 100 แล้ว จำนวน ประมาณ 1.0 พันล้านบาท
(3) อื่น ๆ เช่นจำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิ์เรียกร้องการขายหนี้เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 5.6 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกรกฎาคม 2543 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงินได้ ดังนี้
1) ธนาคารเอกชนมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 1.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 570.9 พันล้านบาท
2) ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 22.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.37 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 941.1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3) สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 4.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.17 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 43.2 พันล้านบาท
4) บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 1.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.08 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 60.6 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกรกฎาคม 2543 พิจารณาตามประเภทธุรกิจแสดงได้ ดังนี้
1) NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 23.6 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสหกรรม 12.2 พันล้านบาทธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 2.5 พันล้านบาท และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 2.4 พันล้านบาท
2) NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 18.1 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 5.9 พันล้านบาท ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 2.8 พันล้านบาท และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 2.1 พันล้านบาท
3. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จของระบบสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 67.4 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนั้ NPL จำนวน 45.6 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
4. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ข้อมูล NPL และสินเชื่อรวมของระบบสถาบันการเงินที่ได้รายงานไว้ข้างต้นและที่ได้เคยรายงานในเดือนก่อน ๆ มาโดยตลอดนั้น เป็นข้อมูล NPL และสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างประเทศและบริษัทเงินทุนเท่านั้น แต่เริ่มจากข้อมูลสิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้เริ่มมีการเปิดเผยข้อมูลยอดคงค้าง NPL ซึ่งรายละเอียดแสดงได้ ดังนี้
4.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 4.6 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 72.1 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 6.41
4.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 1.9 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 3.5 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 54.78
4.3 ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 1,604.0 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 5,182.8 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 30.95
5. ยอด NPL คงค้างหลังหักเงินสำรอง
5.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับจำนวน 603.0 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงเท่ากับ 994.4 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,504.1 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหักเงินสำรองเท้ากับร้อยละ 22.08
5.2 ระบบสถาบันการเงิน (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับจำนวน 607.0 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงเท่ากับ 997.0 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักสำรองเท่ากับ 4,575.8 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 21.79
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-นช/สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานข้อมูลการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ เดือนกรกฎาคม 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 สถาบันการเงินทั้งระบบได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ได้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 281,225 ราย มูลหนี้รวม 1,656,768 ล้านบาท โดยในเดือนกรกฎาคม สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่ลูกหนี้สำเร็จ จำนวน 12,355 ราย เป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 67,399 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้อีก 71,477 รายมูลหนี้รวม 772,950 ล้านบาท ทั้งนี้ลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนมิถุนายน 2543 จำนวน 22,950 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 47.16 สำหรับลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จในเดือนกรกฎาคมส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจคือ อุตสาหกรรมรองลงมาคือ สาธารณูปโภค และการค้าส่งค้าปลีก ตามลำดับ โดยเป็นลูกหนี้ในเขตกรุงเทพมหานครและภาคกลางเป็นสำคัญ
2. ความคืบหน้าในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2543 ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในความดูแลของ คปน. มีจำนวนทั้งสิ้น 9,593 ราย มูลหนี้ 2,589,287 ล้านบาท เป็นลูกหนี้รายใหญ่ จำนวน 2,760 ราย มูลหนี้ 2,296,575 ล้านบาท ที่เหลือเป็นลูกหนี้รายกลางรายย่อย จำนวน 6,833 ราย มูลหนี้ 292,712 ล้านบาท โดยสรุปความคืบหน้าได้ ดังนี้
1) ลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายที่มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วจำนวนทั้งสิ้น 8,778 ราย มูลหนี้ 2,441,029 ล้านบาท หรือร้อยละ 92 ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น ในจำนวนนี้เป็นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 5,147 ราย มูลหนี้รวม 1,070,970 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 76 ของลูกหนี้ที่ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในขบวนการทั้งสิ้น ที่เหลือ 3,571 ราย หรือประมาณร้อยละ 37 ของลูกหนี้เป้าหมายทั้งสิ้น เป็นลูกหนี้ที่ไม่ลงนามผูกพันตนเข้าสู่กระบวนการหรือเป็นลูกหนี้ที่ไม่สามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้ได้ ซึ่งสถาบันการเงินนำเข้าสู่กระบวนการทางศาลในจำนวนนี้แนวโน้มส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะนำลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลแพ่ง ทั้งนี้ คาดว่าการจัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาลแพ่งจะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ได้ข้อยุติระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้อีกทางหนึ่งด้วย
2) สำหรับลูกหนี้ที่ยังคงเหลืออยู่ในกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของ คปน. ซึ่งต้องเร่งรัดการดำเนินการต่อไปนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 788 ราย มูลหนี้ 142,177 ล้านบาท (เป็นลูกหนี้รายใหญ่ 370 ราย มูลหนี้ 108,641 ล้านบาท และลูกหนี้รายย่อย 418 ราย มูลหนี้ 33,536 ล้านบาท) โดยลูกหนี้ดังกล่าวจะทยอยมีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามกรอบระยะเวลาของกระบวนการโดยต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2544 โดยส่วนใหญ่จะมีข้อสรุปภายในปี 2543
อนึ่ง ยังมีลูกหนี้รายย่อยกลุ่มสุดท้ายอีกจำนวน 27 ราย มูลหนี้ 6,081 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างพิจารณาลงนามเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3) จำนวนลูกหนี้เป้าหมายที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จส่วนใหญ่อยู่ในภาคการพาณิชย์คิดเป็นร้อยละ 25.30 ของจำนวนลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้น รองลงมาคือ การอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล และการอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จร้อยละ 24.11 และ 17.00 ตามลำดับ
ทั้งนี้หากพิจารณาถึงมูลหนี้รวมของลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ ปรากฎว่าภาคธุรกิจที่มีผลสำเร็จสูงสุดจะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 52.97 ของมูลหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จทั้งสิ้นรองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการสาธารณูปโภค มีสัดส่วนร้อยละ 16.81 และ 9.84 ตามลำดับ โดยลูกนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จในภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนไฟฟ้า สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ เวชภัณฑ์ พลาสติก อาหาร น้ำตาล ฯลฯ ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้เป็นธุรกิจที่ยังมีศักยภาพในการดำเนินงานธุรกิจ และเป็นลูกหนี้ที่ให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ด้วยดี
4) ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ประสานงานกับสถาบันการเงินเพื่อเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งจะได้ส่งเสริมให้สถาบันการเงินและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีความพร้อมที่จะดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้มากขึ้น โดยจัดให้มีการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมด้วย
สรุป NPL เดือนกรกฎาคม 2543
1. ยอด NPL คงค้าง
1.1 ระบบสถาบันการเงินมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 ทั้งสิ้น 1,597.4 พันล้านบาทและสินเชื่อรวม 5,107.1 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 31.28
1.2 กลุ่มสถาบันการเงินมี NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 แยกแสดงรายกลุ่มได้ ดังนี้
1) ธนาคารเอกชนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 572.7 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 26,651.8 พันล้านบาท NOL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 21.59
2) ธนาคารของรัฐมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 918.8 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 1,663.8 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 55.23
3) สาขาธนาคารต่างประเทศ มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 47.2 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 634.4 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 7.44
4)บริษัทเงินทุนมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 58.8 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 157.1 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 37.41
1.3 ประเภทธุรกิจที่มี NPL คงค้า ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 จำนวนสูงแสดงได้ ดังนี้
1) ภาคอุตสาหกรรมมี NPL คงค้าง 396.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.81 ของ NPL ทั้งสิ้น
2) ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มี NPL คงค้าง 291.6 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.25 ของ NPL ทั้งสิ้น
3) ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีกมี NPL คงค้าง 257.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.12 ขอ
NPL ทั้งสิ้น
2. การเปลี่ยนแปลง NPL
2.1 การเปลี่ยนแปลง NPL ของระบบสถาบันการเงินในเดือนกรกฎาคม 2543 แสดงรายละเอียดได้ดังนี้
พันล้านบาท
1) NPL คงค้าง ณ สิ้นมิถุนายน 2543 1,615.9
2) NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543
-จำนวนใหม่ 23.6
-รายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 18.1 41.7
3) NPL ที่ลดลงในเดือนกรกฎาคม 2543
-ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (45.6)
-เหตุผลอื่น (แสดงรายละเอียดในหมายเหตุ) (14.6) (60.2)
4) NPL ลดลงสุทธิในเดือนกรกฎาคม 2543 (18.5)
5) NPL คงค้าง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 1,597.4
หมายเหตุ เหตุผลอื่น ประกอบด้วย
(1) NPL ที่มาชำระหนี้จนค้างไม่ถึง 3 เดือนจำนวน 8.0 ล้านบาท
(2) การตัดหนี้สูญจากสินเชื่อจัดชั้นสูญและสงสัยจะสูญที่สำรองครลร้อยละ 100 แล้ว จำนวน ประมาณ 1.0 พันล้านบาท
(3) อื่น ๆ เช่นจำนวนเงินที่รับชำระหนี้ การตัดหนี้สูญเนื่องจากหมดสิทธิ์เรียกร้องการขายหนี้เป็นต้น รวมเป็นจำนวน 5.6 พันล้านบาท
2.2 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกรกฎาคม 2543 พิจารณาตามกลุ่มสถาบันการเงินได้ ดังนี้
1) ธนาคารเอกชนมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 1.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 570.9 พันล้านบาท
2) ธนาคารของรัฐมี NPL ลดลงสุทธิ 22.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.37 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 941.1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3) สาขาธนาคารต่างประเทศมี NPL เพิ่มขึ้นสุทธิ 4.0 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.17 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 43.2 พันล้านบาท
4) บริษัทเงินทุนมี NPL ลดลงสุทธิ 1.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.08 ของ NPL ณ สิ้นเดือนก่อนซึ่งมีจำนวน 60.6 พันล้านบาท
2.3 การเปลี่ยนแปลง NPL ในเดือนกรกฎาคม 2543 พิจารณาตามประเภทธุรกิจแสดงได้ ดังนี้
1) NPL ที่เพิ่มขึ้นรายใหม่จำนวน 23.6 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสหกรรม 12.2 พันล้านบาทธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 2.5 พันล้านบาท และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 2.4 พันล้านบาท
2) NPL ที่เพิ่มขึ้นจากรายที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 18.1 พันล้านบาท อยู่ในภาคอุตสาหกรรม 5.9 พันล้านบาท ธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก 2.8 พันล้านบาท และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล 2.1 พันล้านบาท
3. การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จของระบบสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 67.4 พันล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนั้ NPL จำนวน 45.6 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จากหนี้ที่มีการค้างชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยไม่เกิน 3 เดือน
4. NPL ของสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ข้อมูล NPL และสินเชื่อรวมของระบบสถาบันการเงินที่ได้รายงานไว้ข้างต้นและที่ได้เคยรายงานในเดือนก่อน ๆ มาโดยตลอดนั้น เป็นข้อมูล NPL และสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างประเทศและบริษัทเงินทุนเท่านั้น แต่เริ่มจากข้อมูลสิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้เริ่มมีการเปิดเผยข้อมูลยอดคงค้าง NPL ซึ่งรายละเอียดแสดงได้ ดังนี้
4.1 สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศมี NPL คงค้างทั้งสิ้น 4.6 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 72.1 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 6.41
4.2 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 1.9 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 3.5 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 54.78
4.3 ระบบสถาบันการเงินรวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์มี NPL คงค้างทั้งสิ้น 1,604.0 พันล้านบาท และสินเชื่อรวม 5,182.8 พันล้านบาท NPL ต่อสินเชื่อรวมเท่ากับร้อยละ 30.95
5. ยอด NPL คงค้างหลังหักเงินสำรอง
5.1 ระบบสถาบันการเงิน (ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับจำนวน 603.0 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงเท่ากับ 994.4 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับ 4,504.1 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหักเงินสำรองเท้ากับร้อยละ 22.08
5.2 ระบบสถาบันการเงิน (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ได้กันเงินสำรองสำหรับ NPL ส่วนที่ไม่มีหลักประกันรองรับจำนวน 607.0 พันล้านบาท ดังนั้น NPL หลังหักเงินสำรองจึงเท่ากับ 997.0 พันล้านบาท และสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักสำรองเท่ากับ 4,575.8 พันล้านบาท NPL หลังหักเงินสำรองต่อสินเชื่อทั้งสิ้นหลังหักเงินสำรองเท่ากับร้อยละ 21.79
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ย. 2543--
-นช/สส-