คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 2 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นเงินสกุลเยนในวงเงินไม่เกิน 4,079 ล้านเยน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 2 ในส่วนของประเทศไทย
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องในนามราชอาณาจักรไทย
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงการคลัง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้เงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นงวดพิเศษ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งกระทรวงการคลังได้รายงานผลการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2544แล้ว นั้น
กระทรวงการคลังร่วมกับกรมทางหลวงได้เจรจารายละเอียดและเงื่อนไขเงินกู้กับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation - JBIC) เรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสำคัญของร่างสัญญาสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นเงินกู้สกุลเยนในวงเงินไม่เกิน 4,079 ล้านเยน
2. เงินกู้ดังกล่าวแยกเป็นหมวดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1) งานก่อสร้าง 3,495 ล้านเยน
2) งานจ้างที่ปรึกษา 235 ล้านเยน
3) เงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 349 ล้านเยน
4,079 ล้านเยน
3. ระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้ 6 ปี
4. ระยะเงินกู้และอัตราดอกเบี้ย
4.1 เงินกู้ในหมวดงานก่อสร้างและค่าสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด มีระยะเงินกู้ 30 ปี รวมระยะปลอดหนี้10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
4.2 เงินกู้ในหมวดงานจ้างที่ปรึกษา มีระยะเงินกู้ 40 ปี รวมระยะปลอดหนี้ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ0.75 ต่อปี
5. เงื่อนไขการจัดซื้อสินค้าและบริการให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของ JBIC โดยจัดซื้อจัดจ้างได้จากทุกประเทศ
6. ในกรณีมีเหตุการณ์ที่ JBIC จะต้องระงับการเบิกจ่ายเงินกู้ทั้งหมด หรือบางส่วนของ สปปล. ตามสัญญากู้เงินระหว่าง สปปล. และ JBIC จนถึงขั้นการยกเลิกการเบิกจ่ายเงินกู้และกำหนดให้มีการชำระหนี้เงินกู้ รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดทันทีแล้ว ทาง JBIC อาจจะใช้สิทธิขอระงับการเบิกจ่ายเงินกู้ของประเทศไทยทั้งหมดหรือบางส่วนด้วย โดย JBIC จะได้หารือกับประเทศไทย เพื่อพิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ไขที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จตาม Section 6.06 (9) ของ General Terms and Conditions (GTC) ถ้ายังไม่สามารถหาข้อยุติได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง JBIC และประเทศไทยจะต้องหารือ เกี่ยวกับการยกเลิกการเบิกจ่ายเงินกู้และการชำระหนี้ในส่วนที่เบิกจ่ายแล้ว รวมทั้งดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่พึงมี ซึ่งเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติมจาก General Terms andConditions for ODA Loan เนื่องจากเป็นเงินกู้ลักษณะพิเศษ สำหรับโครงการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและ สปปล. ทั้งนี้ ในสัญญากู้เงินระหว่าง JBIC กับ สปปล. ก็ได้กำหนดเงื่อนไขในลักษณะเดียวกัน
7. เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานสัญญากู้เงิน JBIC ที่กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีได้ผูกพัน
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ชี้แจงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. การดำเนินการกู้เงินรายนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและกระทรวงการคลังได้รายงานผลการลงนามให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วยแล้ว ตามนัยหนังสือที่อ้างถึง
2. โครงการดังกล่าวคณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้เห็นชอบให้บรรจุไว้เป็นโครงการหลักในแผนการก่อหนี้ประจำปีงบประมาณ 2545 โดยใช้เงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่นงวดพิเศษ โดยผ่าน JBIC ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการก่อหนี้ฯ
3. การดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่งตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ระหว่างไทย - สปปล. - เวียดนาม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่ของทั้งสามประเทศ รวมทั้งการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ เมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จก็จะช่วยสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างไทย สปปล. เวียดนาม และช่วยขยายโอกาสด้านการตลาดให้กับสินค้าไทยต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
1. ให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น เป็นเงินสกุลเยนในวงเงินไม่เกิน 4,079 ล้านเยน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 2 ในส่วนของประเทศไทย
2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายเป็นผู้ลงนามในสัญญากู้เงินและเอกสารที่เกี่ยวข้องในนามราชอาณาจักรไทย
ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงการคลัง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ภายใต้เงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นงวดพิเศษ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2544 ซึ่งกระทรวงการคลังได้รายงานผลการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2544แล้ว นั้น
กระทรวงการคลังร่วมกับกรมทางหลวงได้เจรจารายละเอียดและเงื่อนไขเงินกู้กับธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation - JBIC) เรียบร้อยแล้ว โดยมีสาระสำคัญของร่างสัญญาสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นเงินกู้สกุลเยนในวงเงินไม่เกิน 4,079 ล้านเยน
2. เงินกู้ดังกล่าวแยกเป็นหมวดค่าใช้จ่าย ดังนี้
1) งานก่อสร้าง 3,495 ล้านเยน
2) งานจ้างที่ปรึกษา 235 ล้านเยน
3) เงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 349 ล้านเยน
4,079 ล้านเยน
3. ระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้ 6 ปี
4. ระยะเงินกู้และอัตราดอกเบี้ย
4.1 เงินกู้ในหมวดงานก่อสร้างและค่าสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด มีระยะเงินกู้ 30 ปี รวมระยะปลอดหนี้10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี
4.2 เงินกู้ในหมวดงานจ้างที่ปรึกษา มีระยะเงินกู้ 40 ปี รวมระยะปลอดหนี้ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ0.75 ต่อปี
5. เงื่อนไขการจัดซื้อสินค้าและบริการให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของ JBIC โดยจัดซื้อจัดจ้างได้จากทุกประเทศ
6. ในกรณีมีเหตุการณ์ที่ JBIC จะต้องระงับการเบิกจ่ายเงินกู้ทั้งหมด หรือบางส่วนของ สปปล. ตามสัญญากู้เงินระหว่าง สปปล. และ JBIC จนถึงขั้นการยกเลิกการเบิกจ่ายเงินกู้และกำหนดให้มีการชำระหนี้เงินกู้ รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดทันทีแล้ว ทาง JBIC อาจจะใช้สิทธิขอระงับการเบิกจ่ายเงินกู้ของประเทศไทยทั้งหมดหรือบางส่วนด้วย โดย JBIC จะได้หารือกับประเทศไทย เพื่อพิจารณาปัญหาและแนวทางแก้ไขที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จตาม Section 6.06 (9) ของ General Terms and Conditions (GTC) ถ้ายังไม่สามารถหาข้อยุติได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้ง JBIC และประเทศไทยจะต้องหารือ เกี่ยวกับการยกเลิกการเบิกจ่ายเงินกู้และการชำระหนี้ในส่วนที่เบิกจ่ายแล้ว รวมทั้งดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่พึงมี ซึ่งเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติมจาก General Terms andConditions for ODA Loan เนื่องจากเป็นเงินกู้ลักษณะพิเศษ สำหรับโครงการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและ สปปล. ทั้งนี้ ในสัญญากู้เงินระหว่าง JBIC กับ สปปล. ก็ได้กำหนดเงื่อนไขในลักษณะเดียวกัน
7. เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามมาตรฐานสัญญากู้เงิน JBIC ที่กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบคณะรัฐมนตรีได้ผูกพัน
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้ชี้แจงความเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. การดำเนินการกู้เงินรายนี้ เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบและกระทรวงการคลังได้รายงานผลการลงนามให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วยแล้ว ตามนัยหนังสือที่อ้างถึง
2. โครงการดังกล่าวคณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้เห็นชอบให้บรรจุไว้เป็นโครงการหลักในแผนการก่อหนี้ประจำปีงบประมาณ 2545 โดยใช้เงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่นงวดพิเศษ โดยผ่าน JBIC ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการก่อหนี้ฯ
3. การดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 จะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่งตามแนวตะวันออก - ตะวันตก ระหว่างไทย - สปปล. - เวียดนาม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่ของทั้งสามประเทศ รวมทั้งการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ เมื่อการก่อสร้างสะพานแล้วเสร็จก็จะช่วยสนับสนุนการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างไทย สปปล. เวียดนาม และช่วยขยายโอกาสด้านการตลาดให้กับสินค้าไทยต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-