ทำเนียบรัฐบาล--11 ม.ค.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1.1 แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาฯ โดยกำหนดวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และได้ตัดบทบัญญัติที่กำหนดให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจโอนทรัพย์สินและหนี้สินให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ออก เนื่องจากเมื่อยุบเลิกกิจการ ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของแผ่นดินซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่อาจโอนทรัพย์สินให้แก่ ธอส. โดยใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ รวมทั้งได้แก้ไขบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
1.2 มีความเห็นกรณีเกี่ยวกับการยุบเลิกองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (อบส.) ซึ่งถือเป็นการเลิกจ้างแล้ว อบส. จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่อาจตัดสิทธิพนักงานในการรับค่าชดเชยได้ ส่วนการที่ ธอส.จะพิจารณารับพนักงานของ อบส.หรือไม่เพียงใด และจะกำหนดค่าตอบแทนให้แก่พนักงานที่รับเข้าทำงานอย่างไรก็เป็นไปตามดุลพินิจของ ธอส. ที่จะดำเนินการต่อไป
2. รับทราบความเห็นและแนวทางปฏิบัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
2.1 ขณะนี้ภาระผูกพันของ อบส.มีเพียงพันธบัตรมูลค่า 1,000 ล้านบาท อายุ 7 ปี ออกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 ครบกำหนดวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 และลูกหนี้คงเหลือ 1 ราย คือ บริษัท ดุลิยาเฮาส์ จำกัด ซึ่งระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาจะสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2543 แต่คาดว่า บริษัทฯ จะขอขยายเวลาการชำระหนี้อกไปอีก 6-12 เดือน จึงเห็นสมควรให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของ อบส. ควบคุมดูแลจนกว่าจะรับชำระหนี้แล้วเสร็จ และส่งมอบทรัพย์สินที่เหลือทั้งหมดให้แก่กระทรวงการคลังรวมถึงพันธบัตรด้วย เพื่อกระทรวงการคลังรับดำเนินการต่อไป
2.2 หากต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน อบส.ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกฤษฎีกา ธอส.ก็ไม่จำเป็นต้องรับโอนพนักงาน อบส. หรือ หาก ธอส.รับเป็นพนักงานก็ไม่อาจนับอายุงานในขณะที่เป็นพนักงาน อบส. ต่อจากการเป็นพนักงาน ธอส. ได้ทั้งนี้ ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ อบส.ได้เลิกจ้างพนักงานทั้งหมดแล้ว โดยพนักงานที่โอนไป ธอส. ได้ยื่นเรื่องขอลาออกจาก อบส. จึงมิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย ส่วนพนักงานที่เหลือที่ไม่โอนไป ธอส.ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 มกราคม 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิกองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1.1 แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาฯ โดยกำหนดวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และได้ตัดบทบัญญัติที่กำหนดให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีด้วยความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีอำนาจโอนทรัพย์สินและหนี้สินให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ออก เนื่องจากเมื่อยุบเลิกกิจการ ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของแผ่นดินซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่อาจโอนทรัพย์สินให้แก่ ธอส. โดยใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้ รวมทั้งได้แก้ไขบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
1.2 มีความเห็นกรณีเกี่ยวกับการยุบเลิกองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (อบส.) ซึ่งถือเป็นการเลิกจ้างแล้ว อบส. จึงต้องปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่อาจตัดสิทธิพนักงานในการรับค่าชดเชยได้ ส่วนการที่ ธอส.จะพิจารณารับพนักงานของ อบส.หรือไม่เพียงใด และจะกำหนดค่าตอบแทนให้แก่พนักงานที่รับเข้าทำงานอย่างไรก็เป็นไปตามดุลพินิจของ ธอส. ที่จะดำเนินการต่อไป
2. รับทราบความเห็นและแนวทางปฏิบัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
2.1 ขณะนี้ภาระผูกพันของ อบส.มีเพียงพันธบัตรมูลค่า 1,000 ล้านบาท อายุ 7 ปี ออกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2540 ครบกำหนดวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 และลูกหนี้คงเหลือ 1 ราย คือ บริษัท ดุลิยาเฮาส์ จำกัด ซึ่งระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาจะสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2543 แต่คาดว่า บริษัทฯ จะขอขยายเวลาการชำระหนี้อกไปอีก 6-12 เดือน จึงเห็นสมควรให้คณะกรรมการผู้ชำระบัญชีของ อบส. ควบคุมดูแลจนกว่าจะรับชำระหนี้แล้วเสร็จ และส่งมอบทรัพย์สินที่เหลือทั้งหมดให้แก่กระทรวงการคลังรวมถึงพันธบัตรด้วย เพื่อกระทรวงการคลังรับดำเนินการต่อไป
2.2 หากต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน อบส.ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกฤษฎีกา ธอส.ก็ไม่จำเป็นต้องรับโอนพนักงาน อบส. หรือ หาก ธอส.รับเป็นพนักงานก็ไม่อาจนับอายุงานในขณะที่เป็นพนักงาน อบส. ต่อจากการเป็นพนักงาน ธอส. ได้ทั้งนี้ ได้รับรายงานว่า ขณะนี้ อบส.ได้เลิกจ้างพนักงานทั้งหมดแล้ว โดยพนักงานที่โอนไป ธอส. ได้ยื่นเรื่องขอลาออกจาก อบส. จึงมิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมาย ส่วนพนักงานที่เหลือที่ไม่โอนไป ธอส.ได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 มกราคม 2543--