ทำเนียบรัฐบาล--1 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
18. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
2. ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า "โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)" มีสำนักงานใหญ่อยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และมีวัตถุประสงค์ในด้านการรักษาพยาบาลและต้องไม่เป็นการดำเนินการที่มุ่งแสวงหากำไรเป็นหลัก
3. กำหนดให้โรงพยาบาลฯ มีทุน รายได้ ทรัพย์สิน และการจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ ของโรงพยาบาล พร้อมทั้งรายได้ของโรงพยาบาลไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4. ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
5. ให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีผู้อำนวยการหนึ่งคน โดยคณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอน
6. ผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลมีสามประเภท คือ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานของโรงพยาบาลฯ เป็นการชั่วคราว
7. เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของโรงพยาบาล รัฐมนตรีอาจขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างในโรงพยาบาลฯ เป็นการชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้นแล้ว และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างนี้ ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใด ๆ และใหันับเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลฯ สำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นทำนองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว และเมื่อขอกลับเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานในสังกัดเดิมภายในกำหนดเวลาที่อนุมัติ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าตำแหน่งและเงินเดือนเดิมตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติ
8. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายและให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงพยาบาลฯ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลฯ
9. เมื่อพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้รัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้มีการโอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ รายได้ และเงินงบประมาณของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นของโรงพยาบาลบ้านแพ้วตามพระราชกฤษฎีกานี้ และเพื่อเป็นทุนในการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลบ้านแพ้วในระยะเริ่มแรกให้รัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงพยาบาลบ้านแพ้วตามพระราชกฤษฎีกานี้ ภายในวงเงินที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร เพื่อให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้
10. ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้วเป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร นายอำเภอบ้านแพ้ว นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว เป็นกรรมการ
11. ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งจะต้องดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-
18. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักงาน ก.พ. เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
2. ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า "โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)" มีสำนักงานใหญ่อยู่ในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร และมีวัตถุประสงค์ในด้านการรักษาพยาบาลและต้องไม่เป็นการดำเนินการที่มุ่งแสวงหากำไรเป็นหลัก
3. กำหนดให้โรงพยาบาลฯ มีทุน รายได้ ทรัพย์สิน และการจัดการทรัพย์สินต่าง ๆ ของโรงพยาบาล พร้อมทั้งรายได้ของโรงพยาบาลไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4. ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา และอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
5. ให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วมีผู้อำนวยการหนึ่งคน โดยคณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอน
6. ผู้ปฏิบัติงานของโรงพยาบาลมีสามประเภท คือ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานของโรงพยาบาลฯ เป็นการชั่วคราว
7. เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของโรงพยาบาล รัฐมนตรีอาจขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างในโรงพยาบาลฯ เป็นการชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้นแล้ว และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างนี้ ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใด ๆ และใหันับเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลฯ สำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นทำนองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว และเมื่อขอกลับเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานในสังกัดเดิมภายในกำหนดเวลาที่อนุมัติ ให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าตำแหน่งและเงินเดือนเดิมตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติ
8. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายและให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโรงพยาบาลฯ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลฯ
9. เมื่อพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้รัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้มีการโอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ รายได้ และเงินงบประมาณของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ไปเป็นของโรงพยาบาลบ้านแพ้วตามพระราชกฤษฎีกานี้ และเพื่อเป็นทุนในการดำเนินกิจการของโรงพยาบาลบ้านแพ้วในระยะเริ่มแรกให้รัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงพยาบาลบ้านแพ้วตามพระราชกฤษฎีกานี้ ภายในวงเงินที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควร เพื่อให้โรงพยาบาลบ้านแพ้วสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้
10. ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้วเป็นการชั่วคราว ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน เลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร นายอำเภอบ้านแพ้ว นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านแพ้ว เป็นกรรมการ
11. ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งจะต้องดำเนินการภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-