ทำเนียบรัฐบาล--3 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปสถานะระดับเครดิตของประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งขณะนี้สถาบันจัดระดับเครดิตต่างประเทศที่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้มีการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2543 แล้ว ซึ่งการประเมินดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
รายงานสรุปสถานะระดับเครดิตของประเทศไทยของสถาบันจัดระดับเครดิต 4 แห่ง มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. บริษัท Japan Bond Research Institute (ปัจจุบัน Japan Rating Investment Information, R&I) ยังคงระดับเครดิตของประเทศไทยตามประกาศวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ที่ระดับ BBB/A-2 สำหรับตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาว/ระยะสั้น ตามลำดับ ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและบริษัท R&I ได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางมารวบรวมข้อมูลล่าสุดแล้วเมื่อวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2543
2. บริษัท Fitch IBCA เป็นบริษัทจัดระดับเครดิตที่กระทรวงการคลังได้ว่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 บริษัทได้จัดอันดับล่าสุดให้ประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2542 จากระดับที่ต่ำกว่าระดับการลงทุนหรือ BB+/B เป็นระดับการลงทุนหรือ BBB-/F3 สำหรับตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาว/ระยะสั้นตามลำดับและคาดว่าจะมีการประกาศผลการจัดระดับอีกครั้งหนึ่งในราวปลายเดือนกรกฎาคม 2543
3. บริษัท Standard & Poor's (S&P) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2542 ได้ประกาศเปลี่ยนสถานะเครดิตของประเทศไทยจากที่มีแนวโน้มเป็นลบ (Negative) เป็นมีเสถียรภาพ (Stable) และระดับเครดิตยังคงอยู่ที่ระดับ BBB-/A-3 สำหรับตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาว/ระยะสั้นตามลำดับ ซึ่งบริษัทจะได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางมารวบรวมข้อมูลอีกครั้งประมาณเดือนกรกฎาคม 2543
4. บริษัท Moody's Investor Service ได้ประกาศเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2543 ปรับระดับเครดิตของประเทศไทยให้สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับการลงทุน โดยปรับระดับตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ จากระดับ Ba1 เป็น Baa3 และเงินฝากธนาคารสกุลเงินต่างประเทศ จากระดับ B1 เป็น Ba1 ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศยังคงจัดให้อยู่ที่ระดับเดิม คือ Not Prime หรือ NP และแนวโน้มมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดย Moody's ได้ให้เหตุผลในการปรับเพิ่มระดับเครดิตในครั้งนี้ว่า
1) ประเทศไทยมีดุลการชำระเงินดุลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีสภาพคล่องในรูปเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ไทยอาจจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอก
2) มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้างและการให้ความสำคัญในการปรับสมรรถนะขององค์กรจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สถาบันการเงินในประเทศมีความมั่นคงขึ้น
3) การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีความคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายและองค์กรจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาคเอกชนไทยสามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะทำให้ภาคการเงินสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้ในระยะปานกลาง
นอกจากนี้ บริษัท Moody's ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ในการปรับระดับเครดิตของประเทศในครั้งต่อไปปัจจัยที่จะใช้ในการพิจารณา คือ ความสามารถของหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินนโยบายที่จะช่วยป้องกันประเทศจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานเพิ่มเติม ดังนี้
1. การปรับเพิ่มระดับเครดิตของบริษัท Moody's ในครั้งนี้ ทำให้สถานะระดับเครดิตระยะยาวของประเทศอยู่ในระดับการลงทุน (Triple B Range) เช่นเดียวกับที่บริษัท S&P บริษัท Fitch IBCA และบริษัท R&I จัดให้ กล่าวคือ ที่ระดับ Baa3 ของบริษัท Moody's เทียบเท่ากับระดับ BBB- ของบริษัท S&P และ Fitch IBCA ส่วนบริษัท R&I จะอยู่ที่ระดับ BBB ซึ่งสูงกว่า 1 ขั้น จึงทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น และจะส่งผลทำให้ประเทศไทยสามารถระดมเงินทุนในตลาดเงินทุนต่างประเทศ โดยมีต้นทุนที่ต่ำลง และนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนประเภทสถาบันจะสามารถปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนทั้งในตราสารหนี้และตราสารทุนของประเทศไทยได้มากขึ้น
2. การปรับระดับเครดิตของประเทศไทยโดยบริษัท Moody's ในครั้งนี้ ทำให้ไทยมีระดับเครดิตระยะยาวเท่ากับประเทศมาเลเซีย แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเครดิตของเกาหลีใต้อยู่ 1 ขั้น โดยเกาหลีใต้มีระดับเครดิตระยะยาวอยู่ที่ Baa2
ความหมาย
1. ระดับ BBB- (จาก S&P) หมายถึง ระดับที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ความสามารถดังกล่าวจะถูกกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและผลกระทบจากภายนอกประเทศ
2. ระดับ Baa3 (จาก Moody's) หมายถึง ระดับที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ความสามารถดังกล่าวอาจถูกกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจในทางลบ
3. ระดับ BBB (จาก R&I) หมายถึง ระดับที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย แต่บริษัทวิเคราะห์เครดิตจะจับตามองและติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. ระดับ BBB- (จาก Fitch IBCA) หมายถึง ระดับเครดิตซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงต่ำ ตราสารที่ได้รับการจัดระดับนี้ถือว่ายังมีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด อย่างไรก็ดี ความผันผวนภายนอกที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบมากต่อความสามารถในการชำระหนี้ ระดับ BBB- นี้ เป็นระดับต่ำที่สุดในระดับการลงทุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปสถานะระดับเครดิตของประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งขณะนี้สถาบันจัดระดับเครดิตต่างประเทศที่มีชื่อเสียงหลายแห่งได้มีการประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2543 แล้ว ซึ่งการประเมินดังกล่าวมีความสำคัญต่อการสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
รายงานสรุปสถานะระดับเครดิตของประเทศไทยของสถาบันจัดระดับเครดิต 4 แห่ง มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. บริษัท Japan Bond Research Institute (ปัจจุบัน Japan Rating Investment Information, R&I) ยังคงระดับเครดิตของประเทศไทยตามประกาศวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ที่ระดับ BBB/A-2 สำหรับตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาว/ระยะสั้น ตามลำดับ ขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงและบริษัท R&I ได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางมารวบรวมข้อมูลล่าสุดแล้วเมื่อวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2543
2. บริษัท Fitch IBCA เป็นบริษัทจัดระดับเครดิตที่กระทรวงการคลังได้ว่าจ้างเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่งเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 บริษัทได้จัดอันดับล่าสุดให้ประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2542 จากระดับที่ต่ำกว่าระดับการลงทุนหรือ BB+/B เป็นระดับการลงทุนหรือ BBB-/F3 สำหรับตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาว/ระยะสั้นตามลำดับและคาดว่าจะมีการประกาศผลการจัดระดับอีกครั้งหนึ่งในราวปลายเดือนกรกฎาคม 2543
3. บริษัท Standard & Poor's (S&P) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2542 ได้ประกาศเปลี่ยนสถานะเครดิตของประเทศไทยจากที่มีแนวโน้มเป็นลบ (Negative) เป็นมีเสถียรภาพ (Stable) และระดับเครดิตยังคงอยู่ที่ระดับ BBB-/A-3 สำหรับตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศระยะยาว/ระยะสั้นตามลำดับ ซึ่งบริษัทจะได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางมารวบรวมข้อมูลอีกครั้งประมาณเดือนกรกฎาคม 2543
4. บริษัท Moody's Investor Service ได้ประกาศเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2543 ปรับระดับเครดิตของประเทศไทยให้สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับการลงทุน โดยปรับระดับตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ จากระดับ Ba1 เป็น Baa3 และเงินฝากธนาคารสกุลเงินต่างประเทศ จากระดับ B1 เป็น Ba1 ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศยังคงจัดให้อยู่ที่ระดับเดิม คือ Not Prime หรือ NP และแนวโน้มมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) โดย Moody's ได้ให้เหตุผลในการปรับเพิ่มระดับเครดิตในครั้งนี้ว่า
1) ประเทศไทยมีดุลการชำระเงินดุลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีสภาพคล่องในรูปเงินตราต่างประเทศสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ไทยอาจจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอก
2) มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้างและการให้ความสำคัญในการปรับสมรรถนะขององค์กรจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สถาบันการเงินในประเทศมีความมั่นคงขึ้น
3) การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีความคืบหน้าอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายและองค์กรจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ภาคเอกชนไทยสามารถแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะทำให้ภาคการเงินสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนได้ในระยะปานกลาง
นอกจากนี้ บริษัท Moody's ยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ในการปรับระดับเครดิตของประเทศในครั้งต่อไปปัจจัยที่จะใช้ในการพิจารณา คือ ความสามารถของหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินนโยบายที่จะช่วยป้องกันประเทศจากวิกฤตทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานเพิ่มเติม ดังนี้
1. การปรับเพิ่มระดับเครดิตของบริษัท Moody's ในครั้งนี้ ทำให้สถานะระดับเครดิตระยะยาวของประเทศอยู่ในระดับการลงทุน (Triple B Range) เช่นเดียวกับที่บริษัท S&P บริษัท Fitch IBCA และบริษัท R&I จัดให้ กล่าวคือ ที่ระดับ Baa3 ของบริษัท Moody's เทียบเท่ากับระดับ BBB- ของบริษัท S&P และ Fitch IBCA ส่วนบริษัท R&I จะอยู่ที่ระดับ BBB ซึ่งสูงกว่า 1 ขั้น จึงทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น และจะส่งผลทำให้ประเทศไทยสามารถระดมเงินทุนในตลาดเงินทุนต่างประเทศ โดยมีต้นทุนที่ต่ำลง และนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนประเภทสถาบันจะสามารถปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนทั้งในตราสารหนี้และตราสารทุนของประเทศไทยได้มากขึ้น
2. การปรับระดับเครดิตของประเทศไทยโดยบริษัท Moody's ในครั้งนี้ ทำให้ไทยมีระดับเครดิตระยะยาวเท่ากับประเทศมาเลเซีย แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับเครดิตของเกาหลีใต้อยู่ 1 ขั้น โดยเกาหลีใต้มีระดับเครดิตระยะยาวอยู่ที่ Baa2
ความหมาย
1. ระดับ BBB- (จาก S&P) หมายถึง ระดับที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ความสามารถดังกล่าวจะถูกกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและผลกระทบจากภายนอกประเทศ
2. ระดับ Baa3 (จาก Moody's) หมายถึง ระดับที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ความสามารถดังกล่าวอาจถูกกระทบหากมีการเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจในทางลบ
3. ระดับ BBB (จาก R&I) หมายถึง ระดับที่มีความสามารถในการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย แต่บริษัทวิเคราะห์เครดิตจะจับตามองและติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศอย่างต่อเนื่อง
4. ระดับ BBB- (จาก Fitch IBCA) หมายถึง ระดับเครดิตซึ่งแสดงถึงความเสี่ยงต่ำ ตราสารที่ได้รับการจัดระดับนี้ถือว่ายังมีความสามารถเพียงพอที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนด อย่างไรก็ดี ความผันผวนภายนอกที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบมากต่อความสามารถในการชำระหนี้ ระดับ BBB- นี้ เป็นระดับต่ำที่สุดในระดับการลงทุน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ก.ค. 2543--
-สส-