คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) รายงานสุนทรพจน์นายกรัฐมนตรีในโอกาสการประชุมสมัชชาสภาคริสเตียนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 12 ณ โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2548 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "การสร้างชุมชนเพื่อสันติภาพของโลก" มีสาระสำคัญคือ
ก่อนอื่น ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย ต่อการสิ้นพระชนม์ของพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ผู้ซึ่งได้ทรงปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่เพื่อสันติภาพ ความรู้ ความเข้าใจและความสามัคคีของโลก ไม่เพียงแต่คริสตศาสนิกชน นิกายโรมันคาธอลิกเท่านั้นที่รู้สึกเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ของพระสันตปาปาในครั้งนี้ แต่ผู้คนทุกศาสนาล้วนแล้วแต่เศร้าโศกเสียใจด้วยกันทั้งสิ้น
ชุมชนเพื่อสันติภาพกำลังถูกสร้างขึ้นในวันนี้ และในห้องประชุมแห่งนี้ ที่ซึ่งแขกผู้มีเกียรติทั้งหลายได้มาร่วมประชุมกันในการประชุมสมัชชาสภาคริสเตียน แห่งเอเชีย ครั้งที่ 12 และได้ทราบว่ามีผู้นำและคณะต่างๆมาร่วมประชุมถึง 18 ประเทศ จากกลุ่มนิกายและองค์กรกว่าร้อยแห่ง ทั้งนี้ หลายท่านได้เดินทางไกลมาประเทศไทย ผมจึงมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษที่ได้ต้อนรับท่านทั้งหลายสู่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดที่ได้เติบโตมา
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ผมเพิ่งได้กล่าวปาฐกถาพิเศษต่อที่ประชุมระดับโลก ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์สื่อมวลชนคาทอลิกนานาชาติ และวันนี้ผมได้รับเกียรติอีกครั้งที่ได้มีโอกาสมากล่าวปาฐกถาต่อที่ประชุมคริสเตียนที่สำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัยมองค์ฟอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ จึงทำให้ผมได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคริสเตียนในการสนับสนุนระบบการศึกษาของไทย หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า ภรรยาและบุตรของผมได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนคริสเตียนด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งได้ให้ทั้งความรู้และความสำนึกถึงหลักคำสั่งสอนอันมีค่าของศาสนาคริสต์ ในส่วนของผม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการได้ค้นพบว่าทุกศาสนานั้นล้วนแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือการสั่งสอนศาสนานิกชนให้ทำดีและเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมการประชุมครั้งนี้ ทำให้ระลึกถึงหนังสือที่เคยอ่านเมื่อหลายปีมาแล้ว ชื่อ A History of God (ประวัติศาสตร์ของพระเจ้า ) เขียนโดยนางสาว Karen Armstrong ซึ่งได้กล่าวถึงมุมมองของมนุษยชาติต่อพระเจ้าในอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน และพัฒนาการของศาสนาที่สำคัญของโลก ผู้เขียนซึ่งเป็นอดีตแม่ชีในลัทธิโรมันคาทอลิกได้ชี้ให้เห็นว่า ทุกศาสนานั้นล้วนแต่สอนให้ทุกคนรักสันติภาพและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อมนุษยชาติด้วยกัน ทั้งนี้ หลักศาสนาทุกศาสนามีความคล้ายคลึง แต่มักจะถูกตีความให้ผิดเพี้ยนไป ก่อให้เกิดความไม่สงบ การตีความคำสอนของศาสนาที่บิดเบือนไปนี้ได้สร้างปัญหาอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป หัวข้อของการประชุมสมัชชาคริสเตียนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 12 นี้ได้แก่ “การสร้างชุมชนเพื่อสันติภาพของโลก” ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่งและสอดคล้องกับเรื่องหลักของศาสนาที่ผมได้กล่าวถึง ไว้ตอนต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สันติภาพนั้น ถือเป็นหัวใจและเป้าหมายที่สำคัญ ของทั้งผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ และทุกศาสนาในโลก พระเยซู คริสต์ เคยกล่าวว่า “ขอประสาทพรแด่ผู้สร้างสันติภาพทุกคน ท่านเหล่านี้นับเป็นบุตรของพระเจ้าที่แท้จริง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหน้าที่สองประการของคริสตศาสนิกชนคือ การสร้างสันติภาพ และการรักษาสันติภาพ ทั้งสองสิ่งนี้เป็นเป็นหัวใจสำคัญของการดำรงชีวิตและความศรัทธา ไม่เพียงแต่ของชาวคริสเตียนเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในคำสอนและแรงบันดาลใจของทุกศาสนาในโลก หลักคำสอนของศาสนาต่างๆ นั้นมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกัน เช่น สันติ เป็นหัวใจสำคัญสูงสุดของศาสนาฮินดู และเช่นเดียวกับผู้นับถือศาสนายิวและคริสเตียนที่เข้าใจในสันติว่าเป็นพรอันประเสริฐจากพระเจ้าที่เติมเต็มชีวิตมนุษย์ นอกจากนี้ ศาสนาอิสลามได้ยึดถือสันติภาพว่าเป็นของขวัญจากพระอัลเลาะห์ที่ทุกคนได้รับและต้องตระหนักไว้ในการดำรงชีวิต ทั้งปัจเจกบุคคลและชุมชน ในคัมภีร์โกหร่าน ได้จารึกไว้ว่า “ทุกครั้งที่มีผู้ใดจุดไฟสงคราม พระเจ้าจะต้องเป็นผู้ดับไฟดังกล่าว พระเจ้าไม่โปรดผู้สร้างความเดือดร้อน” นอกจากนั้น การฆ่าผู้บริสุทธิ์ ถือเป็นข้อห้ามตามคัมภีร์โกหร่าน และเป็น บาป มหันต์ เพราะเท่ากับเป็นการทำลายมวลมนุษยชาติ ทั้งนี้ ในส่วนของศาสนาพุทธนั้น เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนิกชน คือ นิพพาน ซึ่งเปรียบเสมือน ความสงบขั้นสูงสุด ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น พร้อมกับหลักสำคัญอีกสองประการคือ เมตตา และกรุณา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่รักษาให้ความสงบหรือสันติภาพดำรงอยู่ได้ด้วยเหตุนี้ หัวใจสำคัญของการประชุมครั้งนี้ มีความสำคัญต่อทุกศาสนา และเป็นเรื่องที่ประชาชนและรัฐบาลทุกประเทศเผชิญอยู่คือสันติภาพ สันติภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนหมายปอง และหวงแหน แต่ในบางครั้ง สันติภาพก็พยายามหนีพวกเราไป จนเราต้องพยายามไล่ตาม และไขว่คว้ามาให้ได้ ดังเห็นได้จากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก เป็นที่สังเกตว่าหัวข้อย่อยของการประชุมครั้งนี้ คือปัญหาการก่อการร้ายและผลร้ายที่เกิดจากโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ทุกประเทศไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เราจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ หรือจะปล่อยให้กระแสโลกาภิวัตน์พัดพาไป ในยุคโลกาภิวัตน์ การไหลเวียนของสินค้า บริการ แรงงาน เทคโนโลยี ข้อมูล และการเงิน ได้เกิดขึ้นอย่างอิสระไม่มีข้อจำกัด ทุกประเทศจึงต้องปรับตัวให้ทัน และเก็บเกี่ยวประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ ผลร้ายของโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลต่อ สังคมเศรษฐกิจ ก็คือ ปัญหาการใช้ความรุนแรง และ การก่อการร้าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาค ทั้งนี้ เหตุการณ์การก่อการร้ายได้เกิดขึ้นมานับทศวรรษ ดังนั้น เราจะต้องถามตัวเองว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การก่อการร้ายดำรงอยู่อย่างไม่จบสิ้นเช่นนี้ และการกระทำของพวกก่อการร้ายเหล่านี้เป็นผลมาจากความเชื่อผิดๆ หรือการตีความที่คลาดเคลื่อน เท่านั้น หรือมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันในชุมชน และสังคมต่างๆ
ปัจจุบัน โลกให้ความสนใจต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อต่อต้านและปราบปรามการก่อการร้ายและภัยคุกคามที่เกิดจากการก่อการร้าย แต่อาจจะละเลยคำถามสำคัญว่า ทำอย่างไรจึงจะกำจัดการก่อการร้ายและการใช้ความรุนแรงที่ต้นเหตุ ซึ่งอาจจะดำเนินการได้ โดยอาศัยกระบวนของความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและการเข้าถึง ทั้งนี้ “ความเข้าใจ” ที่กล่าวนี้ คือ ความพยายามในการเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสาเหตุและรากเหง้าของการใช้ความรุนแรง ตลอดจนความรู้สึกอยุติธรรมต่างๆ และด้วยแนวทางดังกล่าวนี้ จึงสามารถกำจัดปัญหาการใช้ความรุนแรงให้หมดไปจากโลกนี้ได้
หากจะพิจารณาให้ดีแล้ว การเป็นคน “หัวรุนแรง” ไม่ใช่สิ่งผิดเสมอไป หากเป็นความรุนแรงของความคิด มิใช่การกระทำ หลายๆ คนที่ถูกกล่าวว่าเป็นผู้มีความคิดหัวรุนแรง ในความเป็นจริงเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้า และมีส่วนสำคัญ ที่ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ปรัญชาและนวัตกรรมต่างๆ ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า พระเยซู นบีโมฮัมหมัด และพระพุทธเจ้า ล้วนแต่เป็นผู้มีความคิดก้าวหน้าในแต่ละยุคของแต่ละท่าน เนื่องจาก พวกท่านเหล่านี้ล้วน มีแนวความคิดที่ล้ำสมัยเกินยุคของแต่ละท่าน เช่นเดียวกับนักปราชญ์อื่นๆ อาทิ กาลิเลโอ ดาร์วิน และไอน์สไตน์ ซึ่งแนวความคิดของบุคคลสำคัญเหล่านี้ ล้วนเป็นการตีความถึง ความหมายของชีวิตอย่างก้าวหน้า รวมถึงการแสวงหาแนวทางต่างๆ ที่มนุษย์จะคงอยู่ร่วมกันได้ด้วยสันติวิธี ดังนั้น การมีความคิดหัวรุนแรง ในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากการตีความแนวทางคตินิยมอย่างแคบๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อมโยงความรู้สึก ถึงความอยุติธรรมในอดีต และนำไปสู่การใช้ความรุนแรงด้วยกำลัง
ปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องราวของการตีความคำสอนอันลึกซึ้งตามปรัญชาของแต่ละศาสดาซึ่งมักมีการตีความอย่างผิดๆ ซึ่งต้องยอมรับว่า ในโลกยุคปัจจุบัน การตีความตามความรู้สึกแต่ละคนนั้น อาจก่อให้เกิด “การตีความที่ผิดพลาด” นำไปสู่การใช้กำลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มต่างๆ
ประเทศไทยแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความขัดแย้งทางอุดมคติเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถรอดพ้นจากผลกระทบของปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งกลายเป็นความท้าทายสำหรับหลายๆ ประเทศ รวมทั้งไทย ในการเผชิญกับปรากฎการณ์ผู้ก่อความไม่สงบที่ใช้กำลังและความรุนแรงยุคใหม่ ซึ่งหลายครั้งเกิดจากการตีความหรือมีความเข้าใจในหลักศาสนาที่คลาดเคลื่อน นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า ศาสนานั้นสูงส่งเกินกว่าที่ จะถูกนำมาใช้ เป็นเครื่องมือ เพื่อผลประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
ประเทศไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปและอเมริกา ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงของโลกในปัจจุบันได้ เราจึงต้องพยายามเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นให้ถ่องแท้ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งจากความเข้าใจผิดหรือความไม่ไว้วางใจ เกิดขึ้นระหว่างกัน โดยเราต้องไม่วางเฉย หรือละเลย ปล่อยให้ผู้ก่อความไม่สงบได้มีโอกาสขยายกำลัง รวมทั้งขจัดการก่อความไม่สงบต่างๆ ด้วย การร่วมมือ พัฒนาและเจรจาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้แสดงความมุ่งมั่นในการบรรลุความสำเร็จในการบริหารประเทศในสมัยที่สอง โดยใช้แนวทางสันติ ประนีประนอม เพื่อให้สังคมไทยรุ่งเรื่อง เช่นเดี่ยวกับแนวคิดหลักของการประชุมที่ว่า การสร้างชุมชนแห่งสันติภาพเพื่อทุกคน” ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือทั่วโลกโดยรวม
ดังนั้น งานสมัชชาครั้งนี้ จึงมีความเกี่ยวข้องกับอนาคตของภูมิภาคนี้และภูมิภาคอื่นๆ โดยที่ประชุม จะได้มีการพูดคุยและหารือในประเด็นต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ความขัดแย้ง และความรุนแรงระหว่างเผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมของกลุ่มต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสังคมและชุมชนสันติ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยคริสตจักรแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยพายับ จะได้มีการหารือในหัวข้อเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาต่างๆ” รวมทั้งยังได้มีสถาบันเฉพาะ ที่อุทิศให้กับการสร้างและการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนต่างศาสนาและวัฒนธรรมต่างๆ ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางที่เปิดกว้างและควรค่าแก่การสนับสนุน
นิยามของ “สันติภาพ” ที่ระบุไว้ในปฎิญาญแห่งองค์การยูเนสโกว่าด้วยวัฒนธรรมของสันติภาพ นั้น ระบุว่าสันติภาพไม่ได้หมายความเฉพาะการไม่มีความขัดแย้ง แต่ยังรวมถึงการใช้กระบวนการอย่างมีส่วนร่วม อย่างสร้างสรรค์และหลากหลาย ในการแก้ไขความขัดแย้ง โดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจและความร่วมมืออย่างเท่าเทียมซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า หากผู้คนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรมประเพณี ได้พบปะ พูดคุยเกี่ยวกับความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างกันแล้ว ท้ายสุดจะนำมาซึ่งสังคมแห่งความปรองดองและสันติภาพ อย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
ก่อนอื่น ผมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทย ต่อการสิ้นพระชนม์ของพระสันตปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 ผู้ซึ่งได้ทรงปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่เพื่อสันติภาพ ความรู้ ความเข้าใจและความสามัคคีของโลก ไม่เพียงแต่คริสตศาสนิกชน นิกายโรมันคาธอลิกเท่านั้นที่รู้สึกเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ของพระสันตปาปาในครั้งนี้ แต่ผู้คนทุกศาสนาล้วนแล้วแต่เศร้าโศกเสียใจด้วยกันทั้งสิ้น
ชุมชนเพื่อสันติภาพกำลังถูกสร้างขึ้นในวันนี้ และในห้องประชุมแห่งนี้ ที่ซึ่งแขกผู้มีเกียรติทั้งหลายได้มาร่วมประชุมกันในการประชุมสมัชชาสภาคริสเตียน แห่งเอเชีย ครั้งที่ 12 และได้ทราบว่ามีผู้นำและคณะต่างๆมาร่วมประชุมถึง 18 ประเทศ จากกลุ่มนิกายและองค์กรกว่าร้อยแห่ง ทั้งนี้ หลายท่านได้เดินทางไกลมาประเทศไทย ผมจึงมีความภาคภูมิใจเป็นพิเศษที่ได้ต้อนรับท่านทั้งหลายสู่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดที่ได้เติบโตมา
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ผมเพิ่งได้กล่าวปาฐกถาพิเศษต่อที่ประชุมระดับโลก ซึ่งจัดโดยสมาพันธ์สื่อมวลชนคาทอลิกนานาชาติ และวันนี้ผมได้รับเกียรติอีกครั้งที่ได้มีโอกาสมากล่าวปาฐกถาต่อที่ประชุมคริสเตียนที่สำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัยมองค์ฟอร์ท จังหวัดเชียงใหม่ จึงทำให้ผมได้ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยคริสเตียนในการสนับสนุนระบบการศึกษาของไทย หลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า ภรรยาและบุตรของผมได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนคริสเตียนด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งได้ให้ทั้งความรู้และความสำนึกถึงหลักคำสั่งสอนอันมีค่าของศาสนาคริสต์ ในส่วนของผม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการได้ค้นพบว่าทุกศาสนานั้นล้วนแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือการสั่งสอนศาสนานิกชนให้ทำดีและเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคมการประชุมครั้งนี้ ทำให้ระลึกถึงหนังสือที่เคยอ่านเมื่อหลายปีมาแล้ว ชื่อ A History of God (ประวัติศาสตร์ของพระเจ้า ) เขียนโดยนางสาว Karen Armstrong ซึ่งได้กล่าวถึงมุมมองของมนุษยชาติต่อพระเจ้าในอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน และพัฒนาการของศาสนาที่สำคัญของโลก ผู้เขียนซึ่งเป็นอดีตแม่ชีในลัทธิโรมันคาทอลิกได้ชี้ให้เห็นว่า ทุกศาสนานั้นล้วนแต่สอนให้ทุกคนรักสันติภาพและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อมนุษยชาติด้วยกัน ทั้งนี้ หลักศาสนาทุกศาสนามีความคล้ายคลึง แต่มักจะถูกตีความให้ผิดเพี้ยนไป ก่อให้เกิดความไม่สงบ การตีความคำสอนของศาสนาที่บิดเบือนไปนี้ได้สร้างปัญหาอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป หัวข้อของการประชุมสมัชชาคริสเตียนแห่งเอเชีย ครั้งที่ 12 นี้ได้แก่ “การสร้างชุมชนเพื่อสันติภาพของโลก” ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่งและสอดคล้องกับเรื่องหลักของศาสนาที่ผมได้กล่าวถึง ไว้ตอนต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สันติภาพนั้น ถือเป็นหัวใจและเป้าหมายที่สำคัญ ของทั้งผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ และทุกศาสนาในโลก พระเยซู คริสต์ เคยกล่าวว่า “ขอประสาทพรแด่ผู้สร้างสันติภาพทุกคน ท่านเหล่านี้นับเป็นบุตรของพระเจ้าที่แท้จริง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงหน้าที่สองประการของคริสตศาสนิกชนคือ การสร้างสันติภาพ และการรักษาสันติภาพ ทั้งสองสิ่งนี้เป็นเป็นหัวใจสำคัญของการดำรงชีวิตและความศรัทธา ไม่เพียงแต่ของชาวคริสเตียนเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญในคำสอนและแรงบันดาลใจของทุกศาสนาในโลก หลักคำสอนของศาสนาต่างๆ นั้นมีหลักคำสอนที่คล้ายคลึงกัน เช่น สันติ เป็นหัวใจสำคัญสูงสุดของศาสนาฮินดู และเช่นเดียวกับผู้นับถือศาสนายิวและคริสเตียนที่เข้าใจในสันติว่าเป็นพรอันประเสริฐจากพระเจ้าที่เติมเต็มชีวิตมนุษย์ นอกจากนี้ ศาสนาอิสลามได้ยึดถือสันติภาพว่าเป็นของขวัญจากพระอัลเลาะห์ที่ทุกคนได้รับและต้องตระหนักไว้ในการดำรงชีวิต ทั้งปัจเจกบุคคลและชุมชน ในคัมภีร์โกหร่าน ได้จารึกไว้ว่า “ทุกครั้งที่มีผู้ใดจุดไฟสงคราม พระเจ้าจะต้องเป็นผู้ดับไฟดังกล่าว พระเจ้าไม่โปรดผู้สร้างความเดือดร้อน” นอกจากนั้น การฆ่าผู้บริสุทธิ์ ถือเป็นข้อห้ามตามคัมภีร์โกหร่าน และเป็น บาป มหันต์ เพราะเท่ากับเป็นการทำลายมวลมนุษยชาติ ทั้งนี้ ในส่วนของศาสนาพุทธนั้น เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนิกชน คือ นิพพาน ซึ่งเปรียบเสมือน ความสงบขั้นสูงสุด ทั้งต่อตนเอง และผู้อื่น พร้อมกับหลักสำคัญอีกสองประการคือ เมตตา และกรุณา ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่รักษาให้ความสงบหรือสันติภาพดำรงอยู่ได้ด้วยเหตุนี้ หัวใจสำคัญของการประชุมครั้งนี้ มีความสำคัญต่อทุกศาสนา และเป็นเรื่องที่ประชาชนและรัฐบาลทุกประเทศเผชิญอยู่คือสันติภาพ สันติภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนหมายปอง และหวงแหน แต่ในบางครั้ง สันติภาพก็พยายามหนีพวกเราไป จนเราต้องพยายามไล่ตาม และไขว่คว้ามาให้ได้ ดังเห็นได้จากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงและการก่อการร้ายขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก เป็นที่สังเกตว่าหัวข้อย่อยของการประชุมครั้งนี้ คือปัญหาการก่อการร้ายและผลร้ายที่เกิดจากโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่ทุกประเทศไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เราจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ หรือจะปล่อยให้กระแสโลกาภิวัตน์พัดพาไป ในยุคโลกาภิวัตน์ การไหลเวียนของสินค้า บริการ แรงงาน เทคโนโลยี ข้อมูล และการเงิน ได้เกิดขึ้นอย่างอิสระไม่มีข้อจำกัด ทุกประเทศจึงต้องปรับตัวให้ทัน และเก็บเกี่ยวประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ ผลร้ายของโลกาภิวัตน์ที่ส่งผลต่อ สังคมเศรษฐกิจ ก็คือ ปัญหาการใช้ความรุนแรง และ การก่อการร้าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาค ทั้งนี้ เหตุการณ์การก่อการร้ายได้เกิดขึ้นมานับทศวรรษ ดังนั้น เราจะต้องถามตัวเองว่า อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การก่อการร้ายดำรงอยู่อย่างไม่จบสิ้นเช่นนี้ และการกระทำของพวกก่อการร้ายเหล่านี้เป็นผลมาจากความเชื่อผิดๆ หรือการตีความที่คลาดเคลื่อน เท่านั้น หรือมีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกันในชุมชน และสังคมต่างๆ
ปัจจุบัน โลกให้ความสนใจต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อต่อต้านและปราบปรามการก่อการร้ายและภัยคุกคามที่เกิดจากการก่อการร้าย แต่อาจจะละเลยคำถามสำคัญว่า ทำอย่างไรจึงจะกำจัดการก่อการร้ายและการใช้ความรุนแรงที่ต้นเหตุ ซึ่งอาจจะดำเนินการได้ โดยอาศัยกระบวนของความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจและการเข้าถึง ทั้งนี้ “ความเข้าใจ” ที่กล่าวนี้ คือ ความพยายามในการเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงสาเหตุและรากเหง้าของการใช้ความรุนแรง ตลอดจนความรู้สึกอยุติธรรมต่างๆ และด้วยแนวทางดังกล่าวนี้ จึงสามารถกำจัดปัญหาการใช้ความรุนแรงให้หมดไปจากโลกนี้ได้
หากจะพิจารณาให้ดีแล้ว การเป็นคน “หัวรุนแรง” ไม่ใช่สิ่งผิดเสมอไป หากเป็นความรุนแรงของความคิด มิใช่การกระทำ หลายๆ คนที่ถูกกล่าวว่าเป็นผู้มีความคิดหัวรุนแรง ในความเป็นจริงเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้า และมีส่วนสำคัญ ที่ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ปรัญชาและนวัตกรรมต่างๆ ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า พระเยซู นบีโมฮัมหมัด และพระพุทธเจ้า ล้วนแต่เป็นผู้มีความคิดก้าวหน้าในแต่ละยุคของแต่ละท่าน เนื่องจาก พวกท่านเหล่านี้ล้วน มีแนวความคิดที่ล้ำสมัยเกินยุคของแต่ละท่าน เช่นเดียวกับนักปราชญ์อื่นๆ อาทิ กาลิเลโอ ดาร์วิน และไอน์สไตน์ ซึ่งแนวความคิดของบุคคลสำคัญเหล่านี้ ล้วนเป็นการตีความถึง ความหมายของชีวิตอย่างก้าวหน้า รวมถึงการแสวงหาแนวทางต่างๆ ที่มนุษย์จะคงอยู่ร่วมกันได้ด้วยสันติวิธี ดังนั้น การมีความคิดหัวรุนแรง ในที่นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังแต่อย่างใด ซึ่งแตกต่างจากการตีความแนวทางคตินิยมอย่างแคบๆ ในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อมโยงความรู้สึก ถึงความอยุติธรรมในอดีต และนำไปสู่การใช้ความรุนแรงด้วยกำลัง
ปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องราวของการตีความคำสอนอันลึกซึ้งตามปรัญชาของแต่ละศาสดาซึ่งมักมีการตีความอย่างผิดๆ ซึ่งต้องยอมรับว่า ในโลกยุคปัจจุบัน การตีความตามความรู้สึกแต่ละคนนั้น อาจก่อให้เกิด “การตีความที่ผิดพลาด” นำไปสู่การใช้กำลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มต่างๆ
ประเทศไทยแม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความขัดแย้งทางอุดมคติเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถรอดพ้นจากผลกระทบของปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งกลายเป็นความท้าทายสำหรับหลายๆ ประเทศ รวมทั้งไทย ในการเผชิญกับปรากฎการณ์ผู้ก่อความไม่สงบที่ใช้กำลังและความรุนแรงยุคใหม่ ซึ่งหลายครั้งเกิดจากการตีความหรือมีความเข้าใจในหลักศาสนาที่คลาดเคลื่อน นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า ศาสนานั้นสูงส่งเกินกว่าที่ จะถูกนำมาใช้ เป็นเครื่องมือ เพื่อผลประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด
ประเทศไทย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปและอเมริกา ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเป็นจริงของโลกในปัจจุบันได้ เราจึงต้องพยายามเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นให้ถ่องแท้ เพื่อไม่ให้ความขัดแย้งจากความเข้าใจผิดหรือความไม่ไว้วางใจ เกิดขึ้นระหว่างกัน โดยเราต้องไม่วางเฉย หรือละเลย ปล่อยให้ผู้ก่อความไม่สงบได้มีโอกาสขยายกำลัง รวมทั้งขจัดการก่อความไม่สงบต่างๆ ด้วย การร่วมมือ พัฒนาและเจรจาอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีได้แสดงความมุ่งมั่นในการบรรลุความสำเร็จในการบริหารประเทศในสมัยที่สอง โดยใช้แนวทางสันติ ประนีประนอม เพื่อให้สังคมไทยรุ่งเรื่อง เช่นเดี่ยวกับแนวคิดหลักของการประชุมที่ว่า การสร้างชุมชนแห่งสันติภาพเพื่อทุกคน” ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือทั่วโลกโดยรวม
ดังนั้น งานสมัชชาครั้งนี้ จึงมีความเกี่ยวข้องกับอนาคตของภูมิภาคนี้และภูมิภาคอื่นๆ โดยที่ประชุม จะได้มีการพูดคุยและหารือในประเด็นต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ความขัดแย้ง และความรุนแรงระหว่างเผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมของกลุ่มต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสังคมและชุมชนสันติ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยคริสตจักรแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยพายับ จะได้มีการหารือในหัวข้อเกี่ยวกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาต่างๆ” รวมทั้งยังได้มีสถาบันเฉพาะ ที่อุทิศให้กับการสร้างและการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชนต่างศาสนาและวัฒนธรรมต่างๆ ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางที่เปิดกว้างและควรค่าแก่การสนับสนุน
นิยามของ “สันติภาพ” ที่ระบุไว้ในปฎิญาญแห่งองค์การยูเนสโกว่าด้วยวัฒนธรรมของสันติภาพ นั้น ระบุว่าสันติภาพไม่ได้หมายความเฉพาะการไม่มีความขัดแย้ง แต่ยังรวมถึงการใช้กระบวนการอย่างมีส่วนร่วม อย่างสร้างสรรค์และหลากหลาย ในการแก้ไขความขัดแย้ง โดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจและความร่วมมืออย่างเท่าเทียมซึ่งกันและกัน
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า หากผู้คนต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรมประเพณี ได้พบปะ พูดคุยเกี่ยวกับความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างกันแล้ว ท้ายสุดจะนำมาซึ่งสังคมแห่งความปรองดองและสันติภาพ อย่างแท้จริง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--