คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีปกครอง กรณีบริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องร้องคณะรัฐมนตรีต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 ที่เห็นชอบมติคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ โดยให้หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาติดตั้งและใช้บริการโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) เป็นลำดับแรก ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
1. นำคำฟ้องเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ สาระสำคัญในคำฟ้องที่บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนางฐิตตะวัน เฟื่องฟู ผู้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ฟ้องคดี และคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดี กล่าวหาคณะรัฐมนตรีต่อศาลปกครองสูงสุด ดังนี้
1.1 ช่วงปี พ.ศ. 2532 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ได้กำหนดโครงการขยายเลขหมายโทรศัพท์ในเขตนครหลวง จำนวน 2 ล้านเลขหมาย โดยได้ขออนุมัติกระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการโดยให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน ซึ่งกระทรวงคมนาคมเห็นชอบให้ดำเนินการได้และได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนในการขยายเลขหมายโทรศัพท์ให้ ทศท. ทั้งนี้ เนื่องจาก ทศท. ไม่มีงบประมาณที่จะใช้ลงทุน และไม่สามารถยืมเงินลงทุนจากสถาบันการเงินในต่างประเทศได้ เพราะคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดเพดานเงินกู้ยืมไว้
1.2 บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เข้าร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์ จึงได้จัดตั้งบริษัทผู้ร้องขึ้นเพื่อเข้าทำสัญญาร่วมการงานฯ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2534 การทำสัญญาดังกล่าวเป็นการ ปฏิบัติตามมาตรา 9 (6) แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 ต่อมา ทศท. และผู้ร้องได้ตกลงขยายบริการโทรศัพท์ในเขตนครหลวงเพิ่มอีก 600,000 เลขหมาย ตามสัญญาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ 8 กันยายน 2538 โดยผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญาเป็นผู้ลงทุน เพียงฝ่ายเดียวในการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ระบบ โทรศัพท์ทั้งหมด รวมทั้งจัดหาที่ดินและอาคารสำหรับดำเนินการ แล้วต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ทศท. ภายใน 25 ปี นับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2535 หรือวันที่ ทศท. ได้รับมอบอุปกรณ์ในระบบงวดแรกจากผู้ร้องแล้วแต่วันใด จะถึงกำหนดก่อน ซึ่งตามสัญญาผู้ร้องมีสิทธิ ในการ ติดตั้งโทรศัพท์และให้บริการแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ และได้ความคุ้มครองที่จะเรียกเก็บค่าบริการอัตราเดียวกับ ทศท.
1.3 เนื่องจากการให้บริการของผู้ร้องมีประสิทธิภาพ ส่วนของ ทศท. ไม่ได้รับความนิยม ทศท. จึงเริ่มประกอบกิจการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับสัญญาร่วมการงาน โดยแสวงหาช่องทางจำกัดการขยายตัวการให้บริการของผู้ร้อง โดยให้บริการทางไกลราคาประหยัด (y-tel 1234) เฉพาะส่วนของ ทศท. นาทีละ 1 บาท และ 50 สตางค์ (แล้วแต่กรณี) ซึ่งเป็นอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่าทุนของผู้ร้อง จนไม่สามารถให้บริการอย่างเดียวกันได้ และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทศท. ได้ขอให้คณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสหกิจมีมติให้ ทศท.มีสิทธิพิเศษในการผูกขาดการติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์แก่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยให้ต้องขอหมายเลขโทรศัพท์จาก ทศท. เป็นลำดับแรก ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบด้วย และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติเห็นชอบมติคณะกรรมการดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
2. สำหรับการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดีในครั้งนี้ เป็นกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน จึงสมควรที่จะมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่รับผิดชอบดำเนินคดีในศาลปกครองโดยตรง ซึ่งในกรณีนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลาง รับผิดชอบ ในการประสานงาน กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ถูกฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อรวบรวมข้อมูลและดำเนินการต่อไปได้
3. ในโอกาสต่อไป หากมีกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องคดีปกครองและไม่มีหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรง หรือเป็นการฟ้องคดีปกครองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมติคณะรัฐมนตรี และไม่มีหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรง อีกทั้งไม่ใช้การโต้แย้งในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงคณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ดำเนินการตามแนวทางตามข้อ 1 และ 2 โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมความเห็นแล้วยกร่างคำให้การยื่นต่อศาลปกครอง และดำเนินการหรือประสานงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีต่อไปด้วย
4. สำหรับการดำเนินการในคดีนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอความเห็นและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงคมนาคมกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ เพื่อประกอบการพิจารณา ทำคำให้การโดยด่วนที่สุดด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้หารือเรื่องดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า เรื่องสิทธิพิเศษที่ให้กับทศท. มีเพียงสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอติดตั้งเลขหมายใหม่จาก ทศท. จำนวน 100 เลขหมายเท่านั้น และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 มีผลบังคับใช้กับหน่วยราชการที่จะขอเลขหมายใหม่ให้พิจารณาขอจาก ทศท. เป็นลำดับแรกเท่านั้น ไม่ได้ขอให้ยกเลิกการใช้บริการของบริษัทฯ ที่หน่วยราชการใช้อยู่แล้ว นอกจากนี้การดำเนินการให้บริการโทรศัพท์ในปัจจุบันยังดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 ซึ่ง ทศท. เป็นผู้มีอำนาจในการให้บริการเพียงรายเดียวเท่านั้น การที่บริษัทเอกชนมาให้บริการได้ในปัจจุบันเป็นการรับสัมปทานมาจาก ทศท. ซึ่งปัจจุบันกฎหมายผูกขาดนี้ยังไม่ได้ถูกยกเลิกจนกว่าจะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแล้ว ฉะนั้น จึงยังไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาที่จะอ้างว่าขัดกับมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ อีกทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 มีผลบังคับใช้จนกว่า ทศท. จะแปรรูปแล้วเสร็จเท่านั้น ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
1. นำคำฟ้องเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ สาระสำคัญในคำฟ้องที่บริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยนางฐิตตะวัน เฟื่องฟู ผู้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ฟ้องคดี และคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดี กล่าวหาคณะรัฐมนตรีต่อศาลปกครองสูงสุด ดังนี้
1.1 ช่วงปี พ.ศ. 2532 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ได้กำหนดโครงการขยายเลขหมายโทรศัพท์ในเขตนครหลวง จำนวน 2 ล้านเลขหมาย โดยได้ขออนุมัติกระทรวงคมนาคมดำเนินโครงการโดยให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน ซึ่งกระทรวงคมนาคมเห็นชอบให้ดำเนินการได้และได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนในการขยายเลขหมายโทรศัพท์ให้ ทศท. ทั้งนี้ เนื่องจาก ทศท. ไม่มีงบประมาณที่จะใช้ลงทุน และไม่สามารถยืมเงินลงทุนจากสถาบันการเงินในต่างประเทศได้ เพราะคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดเพดานเงินกู้ยืมไว้
1.2 บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงคมนาคม และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เข้าร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์ จึงได้จัดตั้งบริษัทผู้ร้องขึ้นเพื่อเข้าทำสัญญาร่วมการงานฯ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2534 การทำสัญญาดังกล่าวเป็นการ ปฏิบัติตามมาตรา 9 (6) แห่งพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 ต่อมา ทศท. และผู้ร้องได้ตกลงขยายบริการโทรศัพท์ในเขตนครหลวงเพิ่มอีก 600,000 เลขหมาย ตามสัญญาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ 8 กันยายน 2538 โดยผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญาเป็นผู้ลงทุน เพียงฝ่ายเดียวในการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ระบบ โทรศัพท์ทั้งหมด รวมทั้งจัดหาที่ดินและอาคารสำหรับดำเนินการ แล้วต้องโอนทรัพย์สินทั้งหมดให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ทศท. ภายใน 25 ปี นับแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2535 หรือวันที่ ทศท. ได้รับมอบอุปกรณ์ในระบบงวดแรกจากผู้ร้องแล้วแต่วันใด จะถึงกำหนดก่อน ซึ่งตามสัญญาผู้ร้องมีสิทธิ ในการ ติดตั้งโทรศัพท์และให้บริการแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ และได้ความคุ้มครองที่จะเรียกเก็บค่าบริการอัตราเดียวกับ ทศท.
1.3 เนื่องจากการให้บริการของผู้ร้องมีประสิทธิภาพ ส่วนของ ทศท. ไม่ได้รับความนิยม ทศท. จึงเริ่มประกอบกิจการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม ไม่สอดคล้องกับสัญญาร่วมการงาน โดยแสวงหาช่องทางจำกัดการขยายตัวการให้บริการของผู้ร้อง โดยให้บริการทางไกลราคาประหยัด (y-tel 1234) เฉพาะส่วนของ ทศท. นาทีละ 1 บาท และ 50 สตางค์ (แล้วแต่กรณี) ซึ่งเป็นอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่าทุนของผู้ร้อง จนไม่สามารถให้บริการอย่างเดียวกันได้ และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทศท. ได้ขอให้คณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสหกิจมีมติให้ ทศท.มีสิทธิพิเศษในการผูกขาดการติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์แก่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยให้ต้องขอหมายเลขโทรศัพท์จาก ทศท. เป็นลำดับแรก ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นชอบด้วย และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติเห็นชอบมติคณะกรรมการดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
2. สำหรับการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกฟ้องคดีในครั้งนี้ เป็นกรณีที่เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรกและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน จึงสมควรที่จะมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่รับผิดชอบดำเนินคดีในศาลปกครองโดยตรง ซึ่งในกรณีนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลาง รับผิดชอบ ในการประสานงาน กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับกรณีที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ถูกฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อรวบรวมข้อมูลและดำเนินการต่อไปได้
3. ในโอกาสต่อไป หากมีกรณีที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกฟ้องคดีปกครองและไม่มีหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรง หรือเป็นการฟ้องคดีปกครองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมติคณะรัฐมนตรี และไม่มีหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรง อีกทั้งไม่ใช้การโต้แย้งในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงคณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ดำเนินการตามแนวทางตามข้อ 1 และ 2 โดยให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานกลางประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมความเห็นแล้วยกร่างคำให้การยื่นต่อศาลปกครอง และดำเนินการหรือประสานงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีต่อไปด้วย
4. สำหรับการดำเนินการในคดีนี้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอความเห็นและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงคมนาคมกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการพิจารณาสิทธิพิเศษของหน่วยงานและรัฐวิสาหกิจ เพื่อประกอบการพิจารณา ทำคำให้การโดยด่วนที่สุดด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้หารือเรื่องดังกล่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า เรื่องสิทธิพิเศษที่ให้กับทศท. มีเพียงสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอติดตั้งเลขหมายใหม่จาก ทศท. จำนวน 100 เลขหมายเท่านั้น และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 มีผลบังคับใช้กับหน่วยราชการที่จะขอเลขหมายใหม่ให้พิจารณาขอจาก ทศท. เป็นลำดับแรกเท่านั้น ไม่ได้ขอให้ยกเลิกการใช้บริการของบริษัทฯ ที่หน่วยราชการใช้อยู่แล้ว นอกจากนี้การดำเนินการให้บริการโทรศัพท์ในปัจจุบันยังดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 ซึ่ง ทศท. เป็นผู้มีอำนาจในการให้บริการเพียงรายเดียวเท่านั้น การที่บริษัทเอกชนมาให้บริการได้ในปัจจุบันเป็นการรับสัมปทานมาจาก ทศท. ซึ่งปัจจุบันกฎหมายผูกขาดนี้ยังไม่ได้ถูกยกเลิกจนกว่าจะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติแล้ว ฉะนั้น จึงยังไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาที่จะอ้างว่าขัดกับมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ อีกทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2543 มีผลบังคับใช้จนกว่า ทศท. จะแปรรูปแล้วเสร็จเท่านั้น ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-