ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่า การกำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจัดหาแพทย์ในกรณีมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอยู่ใกล้สถานประกอบกิจการ ซึ่งการกำหนดไว้เช่นนี้อาจก่อให้เกิดการแปลความหมายของคำว่า "อยู่ใกล้" ได้ว่า กรณีใดจะถือว่าใกล้ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ สมควรพิจารณากำหนดให้ชัดเจน โดยอาจกำหนดเป็นระยะทางโดยคำนึงถึงการคมนาคมด้วย
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า ปัจจุบันข้อกำหนดที่ให้นายจ้างต้องจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับโดยบทเฉพาะกาลตามมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ข้อกำหนดบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น และเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของลูกจ้างได้มากกว่าเดิม จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ โดยได้ปรับปรุงจากประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างแล้ว จึงเสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะ และมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง
2. สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีปัจจัยในการปฐมพยาบาลอย่างเพียงพอและถูกต้องตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด
3. สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป นอกเหนือจากปัจจัยในการปฐมพยาบาลแล้ว นายจ้างต้องจัดให้มีห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อย 1 เตียง พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาล เทคนิคไว้ประจำอย่างน้อย 1 คน แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมแล้วไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง
4. สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป นอกเหนือจากปัจจัยในการปฐมพยาบาลแล้ว นายจ้างต้องจัดให้มีห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อย 2 เตียง พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคอย่างน้อย 2 คน แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมแล้วไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง และยานพาหนะพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลได้โดยพลัน
5. สถานประกอบกิจการซึ่งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง นายจ้างอาจตกลงกับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลนั้นเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลแทนการจัดหาแพทย์ได้โดยขออนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
-ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่า การกำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจัดหาแพทย์ในกรณีมีโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอยู่ใกล้สถานประกอบกิจการ ซึ่งการกำหนดไว้เช่นนี้อาจก่อให้เกิดการแปลความหมายของคำว่า "อยู่ใกล้" ได้ว่า กรณีใดจะถือว่าใกล้ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ สมควรพิจารณากำหนดให้ชัดเจน โดยอาจกำหนดเป็นระยะทางโดยคำนึงถึงการคมนาคมด้วย
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า ปัจจุบันข้อกำหนดที่ให้นายจ้างต้องจัดสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ซึ่งใช้บังคับโดยบทเฉพาะกาลตามมาตรา 166 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ข้อกำหนดบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น และเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของลูกจ้างได้มากกว่าเดิม จึงได้ดำเนินการยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ โดยได้ปรับปรุงจากประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และได้เสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้างแล้ว จึงเสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วมที่ต้องด้วยสุขลักษณะ และมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง
2. สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีปัจจัยในการปฐมพยาบาลอย่างเพียงพอและถูกต้องตามมาตรฐานที่ทางราชการกำหนด
3. สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป นอกเหนือจากปัจจัยในการปฐมพยาบาลแล้ว นายจ้างต้องจัดให้มีห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อย 1 เตียง พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาล เทคนิคไว้ประจำอย่างน้อย 1 คน แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง รวมแล้วไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง
4. สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป นอกเหนือจากปัจจัยในการปฐมพยาบาลแล้ว นายจ้างต้องจัดให้มีห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อย 2 เตียง พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคอย่างน้อย 2 คน แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อย 1 คน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวมแล้วไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง และยานพาหนะพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลได้โดยพลัน
5. สถานประกอบกิจการซึ่งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง นายจ้างอาจตกลงกับโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลนั้นเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลแทนการจัดหาแพทย์ได้โดยขออนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
-ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-