ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีนในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีน และเรื่องต่างๆ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พาณิชภักดิ์) ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พาณิชภักดิ์) เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะหารือกับนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว ยังได้มีการลงนามความตกลงสองฝ่ายการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนกับรัฐมนตรีกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจของจีน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543 สำหรับสาระสำคัญของการดำเนินการโดยสรุป มีดังนี้
1. ผลที่คาดว่าไทยจะได้รับจากข้อตกลงสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีน
1.1 ถ้าใช้การค้าในปี 2542 เป็นฐาน จีนลดภาษีนำเข้าให้กับสินค้าส่งออกของไทย ลดลงจาก 37.6% เหลือ 13.1 % ทั้งนี้ ทำให้ไทยสามารถส่งสินค้าไปขายในจีนโดยเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม 65.1% คิดเป็นมูลค่าภาษีที่ลดลงประมาณ 88.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,363 ล้านบาท
1.2 ไทยมีโอกาสขยายการส่งออกสินค้าสำคัญ อาทิ
- ข้าว มีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้นอีกมาก จากเดิมที่ได้รับโควตาเพียง 200,000 ตัน จีนเปิดโควตาทั่วไปสำหรับข้าวเมล็ดยาว (ซึ่งเป็นข้าวที่ไทยผลิตและส่งออกรายสำคัญ) 1.33 ล้านตัน ในปี 2543
- น้ำตาล มีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้นอีกมาก จากเดิมที่จีนจำกัดปริมาณนำเข้าจากไทยในปี 2542 ที่ 0.048 ล้านตัน ในข้อตกลงฯ จีนเปิดโควตาน้ำตาลในปี 2543 ที่ 1.6 ล้านตัน และเพิ่มขึ้น 3% ทุกปี จนถึงปี 2547
- ยางพารา มีโอกาสส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น จากโควตาที่กำหนดให้ไทยนส่งออกในปี 2542 ประมาณ 244,997 ตัน ในข้อตกลงฯ จีนเปิดโควตาทั่วไปที่ 429,000 ตัน ในปี 2543 และขยายโควตาเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 15% และยกเลิกโควตานำเข้าในปี 2547
1.3 ผู้ส่งออกของไทยสามารถติดต่อค้าขายกับผู้นำเข้าของจีนโดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านรัฐ
1.4 นักลงทุนของไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าไปร่วมลงทุนในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวไทยที่เข้าไปเที่ยวในจีนประมาณปีละ 99,000 คน ยังไม่รวมนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ
1.5 การที่จีนเปิดให้ต่างชาติเข้าไปเปิดบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวและประกอบธุรกิจทอ่งเที่ยวในจีน เป็นโอกาสดีที่สามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนจีนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
1.6 นอกจากผลประโยชน์ทีได้รับโดยตรงแล้ว เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จีนยังต้องปฏิบัติตามกฎ กติกา ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก ดังนั้น ผลประโยชน์จากการเจรจาลดภาษีหรือเปิดตลาดในด้านการค้าสินค้าและบริการให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกอื่นๆ ไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังกล่าวด้วย
2. ขณะนี้ จีนได้สรุปผลการเจรจาสองฝ่ายกับ 26 ประเทศแล้ว (รวมทั้งไทย) และยังอยู่ระหว่างการสรุปผลกับอีก 11 ประเทศ หลังจากจีนสรุปผลการเจรจากับประเทศสมาชิกทั้งหมดแล้ว จะนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะทำงานการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนเพื่อสรุปผลการพิจารณาร่างพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกฯ รวมทั้ง ตารางข้อมูลผูกพันภาษีสินค้าและบริการ ก่อนเสนอให้คณะมนตรีทั่วไปขององค์การการค้าโลกพิจารณาให้การรับรองการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนอย่างเป็นทางการต่อไป
3. ในระหว่างการเยือน คณะผู้แทนไทยได้มีการหารือทวิภาคีกับจีนในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ความคืบหน้าในโครงการปลูกป่าและโรงงานเยื่อกระดาษ โครงการแร่โปรแตซ โครงการความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง สำหรับความร่วมมือทางการบิน จีนแจ้งว่าหน่วยงานทางการบินของจีนได้เห็นชอบในหลักการให้สายการบินไทยทำการบินในเส้นทางเชียงราย-จิ่งหง (เชียงรุ้ง) ในขณะเดียวกัน ไทยได้ขอให้จีนพิจารณาอนุมัติสายการบินไทยทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ - ซัวเถา และขอให้สนับสนุนโครงการเชื่อมโยงทางด้านไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อ (Energy Grid) ในการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศในภูมิภาค และกระจายไฟฟ้าไปยังประเทศอื่นๆ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้า สำหรับสินค้าเกษตร ได้ขอให้จีนแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดสรรโควตา ข้าว ยางพาราให้แน่นอน ภายในเวลาอันควร เพื่อให้การส่งออกและนำเข้าเป็นไปอย่างคล่องตัว สำหรับเรื่องมันสำปะหลัง ขอให้จีนพิจารณาใช้ภาษีนำเข้าในขณะนี้ ระดับเดียวกับที่จีนให้การลดหย่อนอัตราภาษีภายใต้กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก รวมทั้งเรื่องตะพาบน้ำ ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ต้องมีการหารือต่อไปเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีนในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีน และเรื่องต่างๆ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พาณิชภักดิ์) ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเสนอ
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายศุภชัย พาณิชภักดิ์) เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะหารือกับนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว ยังได้มีการลงนามความตกลงสองฝ่ายการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนกับรัฐมนตรีกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจของจีน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543 สำหรับสาระสำคัญของการดำเนินการโดยสรุป มีดังนี้
1. ผลที่คาดว่าไทยจะได้รับจากข้อตกลงสองฝ่ายระหว่างไทยกับจีน
1.1 ถ้าใช้การค้าในปี 2542 เป็นฐาน จีนลดภาษีนำเข้าให้กับสินค้าส่งออกของไทย ลดลงจาก 37.6% เหลือ 13.1 % ทั้งนี้ ทำให้ไทยสามารถส่งสินค้าไปขายในจีนโดยเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม 65.1% คิดเป็นมูลค่าภาษีที่ลดลงประมาณ 88.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,363 ล้านบาท
1.2 ไทยมีโอกาสขยายการส่งออกสินค้าสำคัญ อาทิ
- ข้าว มีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้นอีกมาก จากเดิมที่ได้รับโควตาเพียง 200,000 ตัน จีนเปิดโควตาทั่วไปสำหรับข้าวเมล็ดยาว (ซึ่งเป็นข้าวที่ไทยผลิตและส่งออกรายสำคัญ) 1.33 ล้านตัน ในปี 2543
- น้ำตาล มีโอกาสส่งออกเพิ่มขึ้นอีกมาก จากเดิมที่จีนจำกัดปริมาณนำเข้าจากไทยในปี 2542 ที่ 0.048 ล้านตัน ในข้อตกลงฯ จีนเปิดโควตาน้ำตาลในปี 2543 ที่ 1.6 ล้านตัน และเพิ่มขึ้น 3% ทุกปี จนถึงปี 2547
- ยางพารา มีโอกาสส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น จากโควตาที่กำหนดให้ไทยนส่งออกในปี 2542 ประมาณ 244,997 ตัน ในข้อตกลงฯ จีนเปิดโควตาทั่วไปที่ 429,000 ตัน ในปี 2543 และขยายโควตาเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 15% และยกเลิกโควตานำเข้าในปี 2547
1.3 ผู้ส่งออกของไทยสามารถติดต่อค้าขายกับผู้นำเข้าของจีนโดยตรงได้ โดยไม่ต้องผ่านรัฐ
1.4 นักลงทุนของไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าไปร่วมลงทุนในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวไทยที่เข้าไปเที่ยวในจีนประมาณปีละ 99,000 คน ยังไม่รวมนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ
1.5 การที่จีนเปิดให้ต่างชาติเข้าไปเปิดบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวและประกอบธุรกิจทอ่งเที่ยวในจีน เป็นโอกาสดีที่สามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนจีนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น
1.6 นอกจากผลประโยชน์ทีได้รับโดยตรงแล้ว เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จีนยังต้องปฏิบัติตามกฎ กติกา ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก ดังนั้น ผลประโยชน์จากการเจรจาลดภาษีหรือเปิดตลาดในด้านการค้าสินค้าและบริการให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกอื่นๆ ไทยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังกล่าวด้วย
2. ขณะนี้ จีนได้สรุปผลการเจรจาสองฝ่ายกับ 26 ประเทศแล้ว (รวมทั้งไทย) และยังอยู่ระหว่างการสรุปผลกับอีก 11 ประเทศ หลังจากจีนสรุปผลการเจรจากับประเทศสมาชิกทั้งหมดแล้ว จะนำเรื่องเข้าพิจารณาในคณะทำงานการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนเพื่อสรุปผลการพิจารณาร่างพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกฯ รวมทั้ง ตารางข้อมูลผูกพันภาษีสินค้าและบริการ ก่อนเสนอให้คณะมนตรีทั่วไปขององค์การการค้าโลกพิจารณาให้การรับรองการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนอย่างเป็นทางการต่อไป
3. ในระหว่างการเยือน คณะผู้แทนไทยได้มีการหารือทวิภาคีกับจีนในเรื่องต่างๆ ได้แก่ ความคืบหน้าในโครงการปลูกป่าและโรงงานเยื่อกระดาษ โครงการแร่โปรแตซ โครงการความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง สำหรับความร่วมมือทางการบิน จีนแจ้งว่าหน่วยงานทางการบินของจีนได้เห็นชอบในหลักการให้สายการบินไทยทำการบินในเส้นทางเชียงราย-จิ่งหง (เชียงรุ้ง) ในขณะเดียวกัน ไทยได้ขอให้จีนพิจารณาอนุมัติสายการบินไทยทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ - ซัวเถา และขอให้สนับสนุนโครงการเชื่อมโยงทางด้านไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งไทยกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อ (Energy Grid) ในการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศในภูมิภาค และกระจายไฟฟ้าไปยังประเทศอื่นๆ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้า สำหรับสินค้าเกษตร ได้ขอให้จีนแก้ไขปัญหาเรื่องการจัดสรรโควตา ข้าว ยางพาราให้แน่นอน ภายในเวลาอันควร เพื่อให้การส่งออกและนำเข้าเป็นไปอย่างคล่องตัว สำหรับเรื่องมันสำปะหลัง ขอให้จีนพิจารณาใช้ภาษีนำเข้าในขณะนี้ ระดับเดียวกับที่จีนให้การลดหย่อนอัตราภาษีภายใต้กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก รวมทั้งเรื่องตะพาบน้ำ ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้ต้องมีการหารือต่อไปเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 21 มีนาคม 2543--