ทำเนียบรัฐบาล--16 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนโยบายและแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และกำหนดให้ใช้เป็นนโยบายและแผนแห่งชาติ โดยใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานและประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) เสนอ โดยรับความเห็น ข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานว่า คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีเป็นปัญหาที่ต้องการความเข้าใจและควรให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน การป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานอย่างเป็นเครือข่ายสหวิชาชีพ โดยมีการประสานการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติจึงได้จัดทำร่างนโยบายและแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เพื่อใช้เป็นแผนสำหรับพัฒนาศักยภาพความรู้และทักษะของบุคลากรให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น และชุมชน และในคราวประชุมครั้งที่ 4/2542 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างนโยบายและแผนดังกล่าวด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. นโยบายระดับชาติ รัฐต้องส่งเสริมการคุ้มครองป้องกันและช่วยเหลือเด็กและสตรีจากความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองในเรื่องดังกล่าว รัฐต้องสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรและระบบข่าวสารข้อมูล นอกจากนี้รัฐต้องส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรี และสิทธิมนุษยชน รวมทั้งมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพร้อมกับสนับสนุนให้ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
2. แผนงานหลักมี 6 แผนงาน คือ
2.1 แผนงานป้องกันและส่งเสริม ได้แก่ การรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรม รวมทั้งส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ เช่น การศึกษา ศาสนา และคนในสังคมมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนจัดบริการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
2.2 แผนงานด้านกฎหมาย ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านกฎหมายให้ส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
2.3 แผนงานช่วยเหลือคุ้มครองและสวัสดิการ ได้แก่ การปรับปรุงระบบการบริการ และบุคลากรของหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองผู้ถูกกระทำรุนแรงทั้งในด้านการแพทย์ การบำบัดฟื้นฟู การให้คำปรึกษาแนะนำและให้จัดหาที่พักฉุกเฉิน
2.4 แผนงานด้านการศึกษาและวิจัย ได้แก่ การส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องสิทธิเด็ก สตรี และมนุษยชน รวมทั้งการปลูกฝังการไม่ใช้ความรุนแรง ตลอดจนส่งเสริมการทำวิจัยและเผยแพร่งานวิจัย
2.5 แผนงานพัฒนากลไก การประสานงานและบูรณาการ ได้แก่ การส่งเสริมให้มีกลไกระดับชาติจนถึงชุมชน เพื่อรับผิดชอบการป้องกันและแก้ไขปัญหา พัฒนากลไกและบุคลากรด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งการสร้างมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบ
2.6 แผนงานการติดตาม ประเมินผลและระบบฐานข้อมูล ได้แก่ การส่งเสริมการรวบรวมข้อมูล สถิติ และพัฒนาตัวบ่งชี้ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบนโยบายและแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และกำหนดให้ใช้เป็นนโยบายและแผนแห่งชาติ โดยใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานและประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) เสนอ โดยรับความเห็น ข้อเสนอแนะและข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานว่า คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่า ความรุนแรงต่อเด็กและสตรีเป็นปัญหาที่ต้องการความเข้าใจและควรให้ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความละเอียดอ่อน การป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินงานอย่างเป็นเครือข่ายสหวิชาชีพ โดยมีการประสานการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติจึงได้จัดทำร่างนโยบายและแผนขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เพื่อใช้เป็นแผนสำหรับพัฒนาศักยภาพความรู้และทักษะของบุคลากรให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น และชุมชน และในคราวประชุมครั้งที่ 4/2542 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542 คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างนโยบายและแผนดังกล่าวด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. นโยบายระดับชาติ รัฐต้องส่งเสริมการคุ้มครองป้องกันและช่วยเหลือเด็กและสตรีจากความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองในเรื่องดังกล่าว รัฐต้องสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรและระบบข่าวสารข้อมูล นอกจากนี้รัฐต้องส่งเสริมให้สมาชิกในสังคมมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักในเรื่องสิทธิเด็ก สิทธิสตรี และสิทธิมนุษยชน รวมทั้งมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพร้อมกับสนับสนุนให้ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
2. แผนงานหลักมี 6 แผนงาน คือ
2.1 แผนงานป้องกันและส่งเสริม ได้แก่ การรณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี และมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมและพฤติกรรม รวมทั้งส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ เช่น การศึกษา ศาสนา และคนในสังคมมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนจัดบริการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
2.2 แผนงานด้านกฎหมาย ได้แก่ การปรับปรุงกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านกฎหมายให้ส่งเสริมการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
2.3 แผนงานช่วยเหลือคุ้มครองและสวัสดิการ ได้แก่ การปรับปรุงระบบการบริการ และบุคลากรของหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ คุ้มครองผู้ถูกกระทำรุนแรงทั้งในด้านการแพทย์ การบำบัดฟื้นฟู การให้คำปรึกษาแนะนำและให้จัดหาที่พักฉุกเฉิน
2.4 แผนงานด้านการศึกษาและวิจัย ได้แก่ การส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องสิทธิเด็ก สตรี และมนุษยชน รวมทั้งการปลูกฝังการไม่ใช้ความรุนแรง ตลอดจนส่งเสริมการทำวิจัยและเผยแพร่งานวิจัย
2.5 แผนงานพัฒนากลไก การประสานงานและบูรณาการ ได้แก่ การส่งเสริมให้มีกลไกระดับชาติจนถึงชุมชน เพื่อรับผิดชอบการป้องกันและแก้ไขปัญหา พัฒนากลไกและบุคลากรด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งการสร้างมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบ
2.6 แผนงานการติดตาม ประเมินผลและระบบฐานข้อมูล ได้แก่ การส่งเสริมการรวบรวมข้อมูล สถิติ และพัฒนาตัวบ่งชี้ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤษภาคม 2543--
-สส-