คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์แรงงานและการคุ้มครองป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานหญิงและเด็ก ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
ปัจจุบันแรงงานเด็กได้ลดลงเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและนับแต่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศใช้อนุสัญญาสิทธิเด็ก เมื่อปี พ.ศ. 2533 ทำให้เกิดการตื่นตัวในการต่อต้านการใช้แรงงานเด็กขึ้นทั่วโลก และต่อมาปัญหาแรงงานเด็กได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ โดยหยิบยกประเด็นการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรมขึ้นมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศส่งออก นอกจากนี้ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาแรงงานเด็กต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่ดีกว่า จึงทำให้มีการลักลอบเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม(นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์) ได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการ ดังนี้
1. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก โทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 1546 และตู้ ปณ. 47ดินแดง กท 10407 เพื่อเป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านแรงงานหญิงและเด็ก รวมทั้งแรงงานทั่วไปซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้งแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544
2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
3. แต่งตั้งชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการจัดหางาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
4. ประสานขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่
- กระทรวงมหาดไทย ให้กำชับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ อบจ. อบต.ตลอดจนผู้นำท้องถิ่นช่วยสอดส่องดูแลเพื่อแจ้งเบาะแส
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ความสำคัญต่อการพิจารณาดำเนินคดีแรงงาน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายบังเกิดผลในทางปฏิบัติ และขอให้แต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานหญิงและเด็กที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำงาน
- กรมการจัดหางาน ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านแรงงานต่างด้าวเป็นผู้แทนเข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อร่วมดำเนินการในการกรณีพบการใช้แรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย
อนึ่ง ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านแรงงานทางโทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 1546 ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์และให้คำปรึกษาด้านแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 - 10 กรกฎาคม 2544 มีผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 1,649 รายโดยเป็นเรื่องราวร้องทุกข์และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านแรงงานหญิงและเด็ก รวม 60 ราย โดยให้คำปรึกษาแนะนำจำนวน 38 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-
ปัจจุบันแรงงานเด็กได้ลดลงเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและนับแต่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศใช้อนุสัญญาสิทธิเด็ก เมื่อปี พ.ศ. 2533 ทำให้เกิดการตื่นตัวในการต่อต้านการใช้แรงงานเด็กขึ้นทั่วโลก และต่อมาปัญหาแรงงานเด็กได้ถูกนำมาเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ โดยหยิบยกประเด็นการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรมขึ้นมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์และเศรษฐกิจของประเทศไทยในฐานะที่เป็นประเทศส่งออก นอกจากนี้ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาแรงงานเด็กต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยมีสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่ดีกว่า จึงทำให้มีการลักลอบเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม(นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์) ได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานดำเนินการ ดังนี้
1. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก โทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 1546 และตู้ ปณ. 47ดินแดง กท 10407 เพื่อเป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านแรงงานหญิงและเด็ก รวมทั้งแรงงานทั่วไปซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้งแล้ว ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544
2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็กในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
3. แต่งตั้งชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการจัดหางาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
4. ประสานขอความร่วมมือหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่
- กระทรวงมหาดไทย ให้กำชับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ อบจ. อบต.ตลอดจนผู้นำท้องถิ่นช่วยสอดส่องดูแลเพื่อแจ้งเบาะแส
- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ความสำคัญต่อการพิจารณาดำเนินคดีแรงงาน เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายบังเกิดผลในทางปฏิบัติ และขอให้แต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่แรงงานหญิงและเด็กที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการทำงาน
- กรมการจัดหางาน ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้านแรงงานต่างด้าวเป็นผู้แทนเข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อร่วมดำเนินการในการกรณีพบการใช้แรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย
อนึ่ง ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านแรงงานทางโทรศัพท์สายด่วนหมายเลข 1546 ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์และให้คำปรึกษาด้านแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2544 - 10 กรกฎาคม 2544 มีผู้ใช้บริการรวมทั้งสิ้น 1,649 รายโดยเป็นเรื่องราวร้องทุกข์และการให้คำปรึกษาแนะนำด้านแรงงานหญิงและเด็ก รวม 60 ราย โดยให้คำปรึกษาแนะนำจำนวน 38 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 ส.ค.44--
-สส-