ทำเนียบรัฐบาล--18 เม.ย--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับศาลยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2543 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับศาลยุติธรรม รวม 2 ประเด็น คือ
1. การที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งประกาศรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ต่อมามีผู้คัดค้านว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งดังกล่าวเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม คณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 145(3) และสั่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการเพิกถอนการรับสมัครของผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งเพิกถอนการรับสมัครแล้ว ผู้ถูกเพิกถอนนำคดีไปร้องต่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่ง และศาลวินิจฉัยว่าการเพิกถอนการสมัครของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งซึ่งปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะกระทำมิได้เพราะพ้นระยะเวลาที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจะตรวจสอบและสอบสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 32 แล้ว คำสั่งของศาลดังกล่าวเป็นการก้าวล่วงการใช้อำนาจในการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 145(3) หรือไม่
2. ประธานรัฐสภาเสนอปัญหาหรือข้อโต้แย้งต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีอำนาจตีความคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ปรากฏตามสำเนาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2543 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 โดยสรุปได้ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ตามข้อ 1 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ในกรณีที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 34 พิจารณาการดำเนินการของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งในชั้นการสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 32 และมีคำสั่งให้รับหรือไม่รับสมัคร เป็นเพียงการวินิจฉัยอำนาจของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ไม่ได้วินิจฉัยอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และในกรณีที่ได้ขอให้วินิจฉัยโดยเฉพาะกรณีที่ศาลแพ่งมีคำสั่งตามคดีหมายเลขแดงที่ สว 2/2543 นั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจในการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 145(3) กรณีจึงไม่เป็นการก้าวล่วงการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประเด็นที่ 2 ตามข้อ 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ในเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งวินิจฉัยแล้ว ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ได้แต่เมื่อการวินิจฉัยนั้นเกิดปัญหาโต้แย้ง และประธานรัฐสภาได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ และคำวินิจฉัยดังกล่าวจะเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--
คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับศาลยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเสนอ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2543 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีอำนาจหน้าที่ระหว่างคณะกรรมการการเลือกตั้งกับศาลยุติธรรม รวม 2 ประเด็น คือ
1. การที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งประกาศรับสมัครผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแล้ว ต่อมามีผู้คัดค้านว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งดังกล่าวเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม คณะกรรมการการเลือกตั้งสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 145(3) และสั่งให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดำเนินการเพิกถอนการรับสมัครของผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้น เมื่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งเพิกถอนการรับสมัครแล้ว ผู้ถูกเพิกถอนนำคดีไปร้องต่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่ง และศาลวินิจฉัยว่าการเพิกถอนการสมัครของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งซึ่งปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะกระทำมิได้เพราะพ้นระยะเวลาที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจะตรวจสอบและสอบสวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 32 แล้ว คำสั่งของศาลดังกล่าวเป็นการก้าวล่วงการใช้อำนาจในการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 145(3) หรือไม่
2. ประธานรัฐสภาเสนอปัญหาหรือข้อโต้แย้งต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งจะมีอำนาจตีความคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว ปรากฏตามสำเนาคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 13/2543 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 โดยสรุปได้ ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ตามข้อ 1 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ในกรณีที่ศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 34 พิจารณาการดำเนินการของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งในชั้นการสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 32 และมีคำสั่งให้รับหรือไม่รับสมัคร เป็นเพียงการวินิจฉัยอำนาจของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ไม่ได้วินิจฉัยอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และในกรณีที่ได้ขอให้วินิจฉัยโดยเฉพาะกรณีที่ศาลแพ่งมีคำสั่งตามคดีหมายเลขแดงที่ สว 2/2543 นั้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้อำนาจในการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 145(3) กรณีจึงไม่เป็นการก้าวล่วงการใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
ประเด็นที่ 2 ตามข้อ 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ในเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งวินิจฉัยแล้ว ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 5/2543 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543 เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจวินิจฉัยคำว่า "เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ" ได้แต่เมื่อการวินิจฉัยนั้นเกิดปัญหาโต้แย้ง และประธานรัฐสภาได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ และคำวินิจฉัยดังกล่าวจะเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--