คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545-2546 ตามที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี รองประธานคณะกรรมการฯ ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเสนอ และให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับปีงบประมาณต่อ ๆ ไปโดยเคร่งครัด ดังนี้
1. มาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณ พ.ศ. 2545 ให้มีความรวดเร็วไม่ล่าช้า เหมือนงบประมาณปีที่ผ่านๆ มา จึงให้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อสนองมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้ส่วนราการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น (ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนตามแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1.1 การจัดทำแผน/ผล การปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 และ สงป. 3 ที่สำนักงบประมาณกำหนด และที่ได้แจ้งเวียนเป็นประจำก่อนเริ่มปีงบประมาณทุกปี โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 15 ตุลาคม2544
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 และ สงป. 3 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณภายใน 15 วัน หลังวันสิ้นไตรมาส แต่ละไตรมาส
1.2 การจัดทำแผน/ผล การจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 370 โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2544
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดกำหนดระยะเวลาในการจัดซื้อจัดจ้างให้สามารถทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้ภายในไตรมาสที่ 2 (ภายในเดือนมีนาคม 2545)
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง และผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 370 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณ ภายใน 15 วัน หลังวันสิ้นไตรมาสแต่ละไตรมาส
1.3 ให้สำนักงบประมาณจัดทำรายงานสรุปผลการติดตามผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 1.1 และผลการจัดซื้อจัดจ้างและผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 1.2 โดยวิเคราะห์สาเหตุของความล่าช้า จัดประเภทและเสนอแนวทางแก้ไข เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส
1.4 ให้รัฐมนตรีกำกับดูแลเพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมทั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถจ่ายเงินงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปตามแผนที่กำหนด
1.5 รายจ่ายลงทุนที่เป็นรายการตามเอกสารงบประมาณ หรือตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ หรือตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้าได้ตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้เมื่อได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว และหากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ (ภายในเดือนมีนาคม 2545) ให้ใช้มาตรการงบประมาณในการปรับลดงบประมาณ และ/หรือ โอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณไปตั้งจ่ายสำหรับรายการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ต่อไป
2. มาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2546
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเพื่อสนองมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 และเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มีปัญหาอุปสรรคซ้ำซากในการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า สำนักงบประมาณจะใช้มาตรการงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเฉพาะที่มีความพร้อมในการดำเนินงานเท่านั้น ทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำและงบประมาณรายจ่ายลงทุนทั้งในส่วนที่จะดำเนินการเอง (การก่อสร้าง) และในส่วนที่จะจัดซื้อจัดจ้าง (การจัดซื้อครุภัณฑ์และจ้างเหมาก่อสร้าง)
ทั้งนี้ ในการกำหนดระยะเวลาการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์แผนการเบิกจ่ายเงินและกำหนดเป้าหมายในแต่ละไตรมาส เพื่อให้แผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสอดคล้องกับลักษณะของงานและแต่ละประเภท จึงให้แนวทางปฏิบัติเพื่อสนองมาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ดังนี้
ขั้นการจัดทำงบประมาณ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. ค่าครุภัณฑ์ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต้องกำหนดคุณลักษณะเฉพาะพร้อมประมาณการราคาของครุภัณฑ์ เพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
2. ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ต้องสำรวจและออกแบบรายละเอียดพร้อมประมาณราคาค่าก่อสร้าง และกำหนดสถานที่ก่อสร้างจริง พร้อมทั้งหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้ที่ดิน หรือหนังสือรับรองอื่นใดที่สามารถใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างได้ เพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ โดยให้สำนักงบประมาณดำเนินการเพื่อเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ข้างต้น
ขั้นการบริหารจัดงบประมาณ และขั้นการติดตามประเมินผล มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. การจัดทำแผน/ผล การปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ สำหรับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งสิ้น ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 และ สงป. 3 ที่สำนักงบประมาณกำหนด และที่ได้แจ้งเวียนเป็นประจำก่อนเริ่มปีงบประมาณทุกปี โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2545
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ (รายจ่ายจริง) ตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 สงป. 3 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณภายใน 15 วันหลังวันสิ้นไตรมาสแต่ละไตรมาส
2. การจัดทำแผน/ผล การจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 370 โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2545
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดกำหนดระยะเวลาในการจัดซื้อจัดจ้างให้สามารถทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้ภายในไตรมาสที่ 2 (ภายในเดือนมีนาคม 2546)
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างและผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามแบบ สงป. 370 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณ ภายใน 15 วัน หลังวันสิ้นไตรมาสแต่ละไตรมาส
3. ให้สำนักงบประมาณ จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ (รายจ่ายจริง) ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 1 และผลการจัดซื้อจัดจ้าง และผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 2 โดยวิเคราะห์สาเหตุของความล่าช้า จัดประเภทและเสนอแนวทางแก้ไข เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส
4. ให้รัฐมนตรีกำกับดูแลเพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดตาม 1 และ 2 และหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจะต้องให้ความสำคัญในการเร่งรัดและติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว ในกรณีที่มีปัญหาให้รายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป รวมทั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปตามแผนที่กำหนด
5. รายจ่ายลงทุนที่เป็นรายการตามเอกสารงบประมาณ หรือตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณหรือตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้า ได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นหรือตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้เมื่อได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว และหากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ (ภายในเดือนมีนาคม 2546) ให้ใช้มาตรการงบประมาณในการปรับลดงบประมาณ และ/หรือ โอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณไปใช้จ่ายสำหรับรายการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ต่อไป
6. ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยึดถือมาตรการและแนวทางปฏิบัติของปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 เป็นแนวทางปฏิบัติในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป จนกว่าจะมีการกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
1. มาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณ พ.ศ. 2545 ให้มีความรวดเร็วไม่ล่าช้า เหมือนงบประมาณปีที่ผ่านๆ มา จึงให้กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อสนองมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้ส่วนราการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น (ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนตามแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1.1 การจัดทำแผน/ผล การปฏิบัติงาน และการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 และ สงป. 3 ที่สำนักงบประมาณกำหนด และที่ได้แจ้งเวียนเป็นประจำก่อนเริ่มปีงบประมาณทุกปี โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณภายในวันที่ 15 ตุลาคม2544
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 และ สงป. 3 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณภายใน 15 วัน หลังวันสิ้นไตรมาส แต่ละไตรมาส
1.2 การจัดทำแผน/ผล การจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 370 โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2544
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดกำหนดระยะเวลาในการจัดซื้อจัดจ้างให้สามารถทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้ภายในไตรมาสที่ 2 (ภายในเดือนมีนาคม 2545)
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง และผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 370 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณ ภายใน 15 วัน หลังวันสิ้นไตรมาสแต่ละไตรมาส
1.3 ให้สำนักงบประมาณจัดทำรายงานสรุปผลการติดตามผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 1.1 และผลการจัดซื้อจัดจ้างและผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 1.2 โดยวิเคราะห์สาเหตุของความล่าช้า จัดประเภทและเสนอแนวทางแก้ไข เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส
1.4 ให้รัฐมนตรีกำกับดูแลเพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด รวมทั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถจ่ายเงินงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปตามแผนที่กำหนด
1.5 รายจ่ายลงทุนที่เป็นรายการตามเอกสารงบประมาณ หรือตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ หรือตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการเร่งรัดการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้าได้ตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้เมื่อได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว และหากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ (ภายในเดือนมีนาคม 2545) ให้ใช้มาตรการงบประมาณในการปรับลดงบประมาณ และ/หรือ โอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณไปตั้งจ่ายสำหรับรายการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ต่อไป
2. มาตรการและแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2546
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเพื่อสนองมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 และเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มีปัญหาอุปสรรคซ้ำซากในการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า สำนักงบประมาณจะใช้มาตรการงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเฉพาะที่มีความพร้อมในการดำเนินงานเท่านั้น ทั้งงบประมาณรายจ่ายประจำและงบประมาณรายจ่ายลงทุนทั้งในส่วนที่จะดำเนินการเอง (การก่อสร้าง) และในส่วนที่จะจัดซื้อจัดจ้าง (การจัดซื้อครุภัณฑ์และจ้างเหมาก่อสร้าง)
ทั้งนี้ ในการกำหนดระยะเวลาการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาวิเคราะห์แผนการเบิกจ่ายเงินและกำหนดเป้าหมายในแต่ละไตรมาส เพื่อให้แผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสอดคล้องกับลักษณะของงานและแต่ละประเภท จึงให้แนวทางปฏิบัติเพื่อสนองมาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 ดังนี้
ขั้นการจัดทำงบประมาณ มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. ค่าครุภัณฑ์ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต้องกำหนดคุณลักษณะเฉพาะพร้อมประมาณการราคาของครุภัณฑ์ เพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
2. ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ต้องสำรวจและออกแบบรายละเอียดพร้อมประมาณราคาค่าก่อสร้าง และกำหนดสถานที่ก่อสร้างจริง พร้อมทั้งหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือหนังสือแสดงความยินยอมให้ใช้ที่ดิน หรือหนังสือรับรองอื่นใดที่สามารถใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างได้ เพื่อใช้ประกอบการเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ โดยให้สำนักงบประมาณดำเนินการเพื่อเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ข้างต้น
ขั้นการบริหารจัดงบประมาณ และขั้นการติดตามประเมินผล มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1. การจัดทำแผน/ผล การปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ สำหรับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรทั้งสิ้น ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 และ สงป. 3 ที่สำนักงบประมาณกำหนด และที่ได้แจ้งเวียนเป็นประจำก่อนเริ่มปีงบประมาณทุกปี โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2545
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ (รายจ่ายจริง) ตามแบบ สงป. 1 สงป. 2 สงป. 3 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณภายใน 15 วันหลังวันสิ้นไตรมาสแต่ละไตรมาส
2. การจัดทำแผน/ผล การจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ตามแบบ สงป. 370 โดยจัดส่งให้สำนักงบประมาณ ภายในวันที่ 15 กันยายน 2545
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเร่งรัดกำหนดระยะเวลาในการจัดซื้อจัดจ้างให้สามารถทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้ภายในไตรมาสที่ 2 (ภายในเดือนมีนาคม 2546)
2) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างและผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามแบบ สงป. 370 เป็นรายไตรมาสต่อสำนักงบประมาณ ภายใน 15 วัน หลังวันสิ้นไตรมาสแต่ละไตรมาส
3. ให้สำนักงบประมาณ จัดทำรายงานสรุปผลการติดตามผลการปฏิบัติงาน และผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ (รายจ่ายจริง) ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 1 และผลการจัดซื้อจัดจ้าง และผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 2 โดยวิเคราะห์สาเหตุของความล่าช้า จัดประเภทและเสนอแนวทางแก้ไข เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส
4. ให้รัฐมนตรีกำกับดูแลเพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดตาม 1 และ 2 และหัวหน้าส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจะต้องให้ความสำคัญในการเร่งรัดและติดตามผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว ในกรณีที่มีปัญหาให้รายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป รวมทั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดติดตามผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปตามแผนที่กำหนด
5. รายจ่ายลงทุนที่เป็นรายการตามเอกสารงบประมาณ หรือตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณหรือตามแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้า ได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นหรือตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ โดยมีเงื่อนไขว่าจะทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันได้เมื่อได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว และหากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่สามารถก่อหนี้ผูกพันให้เสร็จสิ้นได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ (ภายในเดือนมีนาคม 2546) ให้ใช้มาตรการงบประมาณในการปรับลดงบประมาณ และ/หรือ โอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณไปใช้จ่ายสำหรับรายการที่มีความพร้อมและมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่น ๆ ต่อไป
6. ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจยึดถือมาตรการและแนวทางปฏิบัติของปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 เป็นแนวทางปฏิบัติในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป จนกว่าจะมีการกำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-