คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง รายงานชี้แจงกรณีเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วมฉับพลันที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ของกรมอุตุนิยมวิทยา ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ทราบรายงานการดำเนินงานของกรมอุตุนิยมวิทยา และแนวทางแก้ไขปัญหา2. ส่วนที่ขออนุมัติงบประมาณกลางปี 2544 จำนวน 6.09 ล้านบาท เพื่อการจัดตั้งสถานีตรวจอากาศที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง นั้น ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาใช้งบประมาณที่มีอยู่ก่อน หากไม่เพียงพอให้ใช้งบกลางต่อไป
อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาได้วิเคราะห์เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาไม่มีสถานีตรวจอากาศที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ (ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีตรวจอากาศในบริเวณดังกล่าวที่อำเภอเมือง และเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน) ข้อมูลฝนที่ได้รับแจ้งจากอำเภอวังชิ้น และอำเภอเถินเป็นข้อมูลน้ำฝนที่กรมอุตุนิยมวิทยาฝากให้อำเภอเป็นผู้ดำเนินการแล้วจัดข้อมูล ส่งให้จังหวัดและกรมอุตุนิยมวิทยา โดยกรมอุตุนิยมวิทยาจะได้รับข้อมูลฝนของอำเภอในวันถัดจากวันฝนตกแล้ว 1 วัน
2. การเกิดน้ำท่วมในเหตุการณ์อุทกภัยอำเภอวังชิ้นนั้น วิเคราะห์แล้วเป็นการเกิดในลักษณะของน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood) ของน้ำป่าไหลหลากที่พัดพาดินโคลนลงมาด้วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากภูเขาที่ค่อนข้างชัน และมีดินที่ไม่มีสิ่งปกคลุมที่มีคุณสมบัติที่สามารถจะชะลอการไหลของน้ำได้มีประสิทธิภาพเพียงพอ การเกิดน้ำท่วมฉับพลันนี้เกิดค่อนข้างเร็ว โดยในเหตุการณ์อำเภอวังชิ้น เกิดขึ้นประมาณ 4-5 ชั่วโมงจากเวลาที่ฝนเริ่มตกหนัก ประกอบกับหมู่บ้านที่เกิดเหตุตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่ม ในหุบเขาที่เรียวยาวขนานไปกับแนวเขา ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงมากขึ้น
3. เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดนั้นเป็นลักษณะของน้ำท่วมฉับพลัน อันเนื่องมาจากฝนตกหนักในพื้นที่ภูเขาชัน โดยเฉพาะในบริเวณที่ดินไม่มีลักษณะในการชะลอน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำท่วมตามลักษณะนี้จะเกิดค่อนข้างรุนแรงและเกิดได้ในระยะเวลาสั้นไม่กี่ชั่วโมงนับจากฝนตกหนัก ดังที่เคยเกิดขึ้นที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2531 และเขาคิชิฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2542
4. การเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีนี้จะกระทำได้ค่อนข้างลำบาก เพราะเป็นลักษณะที่ขึ้นกับภูมิประเทศและการใช้ดิน (Land Use) และเป็นการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตามลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่ในลักษณะเดียวกันกับอำเภอวังชิ้นยังมีอยู่หลายพื้นที่ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจศึกษาความเสี่ยงภัยจากอุทกภัยจากน้ำป่าในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาจะได้ประสานงานขอข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวจากกระทรวงมหาดไทย ต่อไป
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พิจารณาวางแผนเพื่อแก้ไขการเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่ดังกล่าวเป็นสองแนวทาง คือ แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วน และแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว ดังนี้
แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
กรมอุตุนิยมวิทยาได้ตั้งคณะสำรวจพื้นที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยได้ประสานงานกับอำเภอวังชิ้น และเภอเถิน นำถังวัดน้ำฝนไปติดตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พร้อมกับสอนวิธีวัดระดับน้ำฝนเพื่อทราบข้อมูลน้ำฝนว่าตกหนักมากน้อยเพียงใด จะได้เตรียมการป้องกันในขั้นต้นได้ทันท่วงที
แนวทางแก้ปัญหาระยะยาว
1. กรมอุตุนิยมวิทยา ได้วางแผนจะจัดตั้งสถานีตรวจอากาศในเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงที่สามารถตรวจสภาพอากาศในเขตอำเภอเถินและอำเภอวังชิ้น ซึ่งจะช่วยขยายจุดตรวจอากาศให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างได้ดียิ่งขึ้น โดยขอใช้งบประมาณกลางประจำปี 2544 เป็นเงิน 6.09 ล้านบาท 2. กรมอุตุนิยมวิทยาวางแผนติดตั้งเครือข่ายตรวจวัดอากาศอัตโนมัติโดยวิธีโทรมาตร ในพื้นที่เป็นระบบเตือนอุทกภัยที่มีประสิทธิภาพขึ้น โดยใช้เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2545 ต่อไป
3. ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยรวมทั้งประสานงานร่วมใช้ข่ายสื่อสาร และประสานข้อมูลในข่ายสื่อสารของกระทรวงมหาดไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
1. ทราบรายงานการดำเนินงานของกรมอุตุนิยมวิทยา และแนวทางแก้ไขปัญหา2. ส่วนที่ขออนุมัติงบประมาณกลางปี 2544 จำนวน 6.09 ล้านบาท เพื่อการจัดตั้งสถานีตรวจอากาศที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง นั้น ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาใช้งบประมาณที่มีอยู่ก่อน หากไม่เพียงพอให้ใช้งบกลางต่อไป
อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาได้วิเคราะห์เหตุการณ์อุทกภัยครั้งนี้ สรุปได้ดังนี้
1. เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาไม่มีสถานีตรวจอากาศที่อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ (ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยามีสถานีตรวจอากาศในบริเวณดังกล่าวที่อำเภอเมือง และเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน) ข้อมูลฝนที่ได้รับแจ้งจากอำเภอวังชิ้น และอำเภอเถินเป็นข้อมูลน้ำฝนที่กรมอุตุนิยมวิทยาฝากให้อำเภอเป็นผู้ดำเนินการแล้วจัดข้อมูล ส่งให้จังหวัดและกรมอุตุนิยมวิทยา โดยกรมอุตุนิยมวิทยาจะได้รับข้อมูลฝนของอำเภอในวันถัดจากวันฝนตกแล้ว 1 วัน
2. การเกิดน้ำท่วมในเหตุการณ์อุทกภัยอำเภอวังชิ้นนั้น วิเคราะห์แล้วเป็นการเกิดในลักษณะของน้ำท่วมฉับพลัน (Flash Flood) ของน้ำป่าไหลหลากที่พัดพาดินโคลนลงมาด้วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากภูเขาที่ค่อนข้างชัน และมีดินที่ไม่มีสิ่งปกคลุมที่มีคุณสมบัติที่สามารถจะชะลอการไหลของน้ำได้มีประสิทธิภาพเพียงพอ การเกิดน้ำท่วมฉับพลันนี้เกิดค่อนข้างเร็ว โดยในเหตุการณ์อำเภอวังชิ้น เกิดขึ้นประมาณ 4-5 ชั่วโมงจากเวลาที่ฝนเริ่มตกหนัก ประกอบกับหมู่บ้านที่เกิดเหตุตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่ม ในหุบเขาที่เรียวยาวขนานไปกับแนวเขา ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงมากขึ้น
3. เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดนั้นเป็นลักษณะของน้ำท่วมฉับพลัน อันเนื่องมาจากฝนตกหนักในพื้นที่ภูเขาชัน โดยเฉพาะในบริเวณที่ดินไม่มีลักษณะในการชะลอน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำท่วมตามลักษณะนี้จะเกิดค่อนข้างรุนแรงและเกิดได้ในระยะเวลาสั้นไม่กี่ชั่วโมงนับจากฝนตกหนัก ดังที่เคยเกิดขึ้นที่อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2531 และเขาคิชิฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2542
4. การเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีนี้จะกระทำได้ค่อนข้างลำบาก เพราะเป็นลักษณะที่ขึ้นกับภูมิประเทศและการใช้ดิน (Land Use) และเป็นการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตามลักษณะภูมิประเทศและพื้นที่ในลักษณะเดียวกันกับอำเภอวังชิ้นยังมีอยู่หลายพื้นที่ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจศึกษาความเสี่ยงภัยจากอุทกภัยจากน้ำป่าในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาจะได้ประสานงานขอข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวจากกระทรวงมหาดไทย ต่อไป
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พิจารณาวางแผนเพื่อแก้ไขการเตือนภัยล่วงหน้าในพื้นที่ดังกล่าวเป็นสองแนวทาง คือ แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วน และแนวทางแก้ไขปัญหาระยะยาว ดังนี้
แนวทางแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
กรมอุตุนิยมวิทยาได้ตั้งคณะสำรวจพื้นที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยได้ประสานงานกับอำเภอวังชิ้น และเภอเถิน นำถังวัดน้ำฝนไปติดตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พร้อมกับสอนวิธีวัดระดับน้ำฝนเพื่อทราบข้อมูลน้ำฝนว่าตกหนักมากน้อยเพียงใด จะได้เตรียมการป้องกันในขั้นต้นได้ทันท่วงที
แนวทางแก้ปัญหาระยะยาว
1. กรมอุตุนิยมวิทยา ได้วางแผนจะจัดตั้งสถานีตรวจอากาศในเขตอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นพื้นที่สูงที่สามารถตรวจสภาพอากาศในเขตอำเภอเถินและอำเภอวังชิ้น ซึ่งจะช่วยขยายจุดตรวจอากาศให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างได้ดียิ่งขึ้น โดยขอใช้งบประมาณกลางประจำปี 2544 เป็นเงิน 6.09 ล้านบาท 2. กรมอุตุนิยมวิทยาวางแผนติดตั้งเครือข่ายตรวจวัดอากาศอัตโนมัติโดยวิธีโทรมาตร ในพื้นที่เป็นระบบเตือนอุทกภัยที่มีประสิทธิภาพขึ้น โดยใช้เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2545 ต่อไป
3. ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยรวมทั้งประสานงานร่วมใช้ข่ายสื่อสาร และประสานข้อมูลในข่ายสื่อสารของกระทรวงมหาดไทย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-